บุคลากรรำลึก

ความรู้สึกถึงอาจารย์ประดิษฐ์ จากบุคลากรปัจจุบันและบุคลากรที่เกษียณอายุราชการ
   

โดย รองศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง อรุณี สาระยา ภาควิชาจุลชีววิทยา

1267  Views  

อาจารย์ประดิษฐ์… ผู้เป็นเสมือนพ่อคอบดูแลลูก (ลูกน้อง)

เริ่มเข้าทำงานที่คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อ พ.ศ. 2512 ดิฉันประทับใจ อ.ประดิษฐ์ มาก ท่านเป็นเสมือนพ่อคอยดูแลลูก (ลูกในที่นี้ ที่จริงก็คือลูกน้องของ อ.ประดิษฐ์ นั่นเอง ได้แก่ กลุ่มอาจารย์ และกลุ่มเจ้าหน้าที่) ที่บอกว่าท่านเหมือนพ่อ ก็คือท่านคิดล่วงหน้า และคอยมองหาโอกาสให้ลูกทุกคน และคอยดูแลเยี่ยมเยียน ยังจำได้ว่า เมื่อดิฉันได้ทุนรัฐบาลไปศึกษาต่อทาง Pharmacology ที่ University of Strathclyde เมือง Glasgow, Scotland  ท่านไปดูงานที่นั้น ท่านก็แวะไปเยี่ยม ดิฉันดีใจมากและตั้งใจว่าเมื่อกลับเมืองไทย หาก อ.ประดิษฐ์เรียกให้ทำงานอะไร ก็จะไม่ปฏิเสธ และนั่นก็เป็นที่มาที่ดิฉันเข้าไปทำหน้าที่เป็นผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อในร้านยาของคณะ ซึ่งมีชื่อเรียกว่า สถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชน ตามที่ อ.ประดิษฐ์ เรียกให้ไปทำ ในเวลานั้นเป็นช่วงเริ่มต้น มี อ.มัณฑนา (พี่เล็ก) เป็นผู้จัดการร้าน พี่เล็กต้องดูแลทุกอย่าง ดิฉันและพี่เล็กช่วยกันสั่งยาเข้าร้าน แต่ขณะนั้นที่คณะมีเงินทุนน้อย จะซื้อเยอะ เงินก็อาจจมไปในค่ายา ดีที่ อ.ประดิษฐ์ รู้จักคนมาก มีเพื่อนและลูกศิษย์จำนวนมาก จึงได้อาศัยเครดิตของท่านในการสั่งซื้อยาเข้าร้าน ก็ทำให้ร้านยาเอาตัวรอดมาได้ และร้านยานี้ อ.ประดิษฐ์ต้องการให้เป็น model ร้านยาสำหรับนักศึกษาได้ฝึกหัดเรียนรู้การให้บริการแก่ประชาชนเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนสำเร็จเป็นเภสัชกร นับได้ว่า สถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นร้านยาสังกัดคณะเภสัชศาสตร์ร้านแรกในประเทศไทย

 

อีกงานหนึ่งที่ อ.ประดิษฐ์ คิดให้ลูกๆ (ลูกน้อง) ของท่าน ก็คือ การจัดหาเครื่องมือวิทยาศาสตร์มาให้อาจารย์ใช้ในการทำวิจัย เพื่อจะได้มีความก้าวหน้า แต่เนื่องจากคณะเภสัชศาสตร์ได้รับงบประมาณไม่มากในแต่ละปี จึงไม่สามารถมีเครื่องมือสำหรับแต่ละภาควิชาได้ อ.ประดิษฐ์จึงจัดหาเครื่องมือที่หลากหลายภายใต้งบประมาณอันจำกัด แล้วนำมารวมกันไว้ในห้องๆเดียว เพื่อที่จะใช้เครื่องมือร่วมกันได้ อ.ประดิษฐ์เรียกชื่อเป็นเครื่องมือกลางและนำไปรวมกันที่ห้องแลปชั้น 3 อาคาร 3 เรียกชื่อห้องนี้ว่า ห้องเครื่องมือกลาง ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น ห้องวิจัยกลาง อาจารย์ (ลูกๆ ลูกน้องของ อ.ประดิษฐ์) จึงมีเครื่องมือกลางที่สามารถใช้ทำวิจัยได้ เครื่องมือส่วนใหญ่เป็นเครื่องมือทางวิเคราะห์ เช่น GC, HPLC เมื่อมีเครื่องมือก็ต้องมีคนดูแล อ.ประดิษฐ์ก็เรียกให้ดิฉันไปดูแลโดยท่านตั้งคณะกรรมการวิจัยกลางและให้ดิฉันเป็นประธาน ดิฉันตอบรับในหน้าที่นี้แม้จะไม่มีความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือทางวิเคราะห์ และคงเป็นเพราะดิฉันทำงานที่ภาควิชาจุลชีววิทยาซึ่งอยู่ชั้นเดียวกัน จึงไม่ลำบากที่จะดูแลเครื่องมือในห้องวิจัยกลาง ในเวลานั้นดิฉันไม่เห็นที่ไหนมีห้องวิจัยกลาง จะมีก็แต่ที่คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลนี่แหละ จึงนับเป็นห้องวิจัยกลางแห่งแรกในประเทศไทย 

 

อ.ประดิษฐ์ ยังคิดเผื่อลูกๆ (ลูกน้อง) ในเรื่องภาษาอังกฤษที่ควรพูดได้เขียนได้ ดังนั้นเมื่อคณะได้รับ อ.วัชรี แนวบุญเนียร ซึ่งเก่งภาษาอังกฤษ พูดภาษาอังกฤษเพราะมาก เหมือนฝรั่งเจ้าของภาษาพูด เข้ามาเป็นอาจารย์สอนวิชา Scientific English และ Business English ให้แก่นักศึกษาแล้ว อ.ประดิษฐ์ก็ให้ อ.วัชรี สอนภาษาอังกฤษแก่อาจารย์ด้วย นับเป็นการเตรียมพร้อมเพื่อยกระดับสู่นานาชาติ และการไปศึกษาต่อ ณ ต่างประเทศ 

บทความอื่นๆ จากบุคลากรและผู้เกษียณฯ

บูชาคุณครู “ประดิษฐ์ หุตางกูร ก่อนเริ่มบทความนี้ขอบูชาคุณครูด้วยบทร้อยกรองของอาจารย์เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ครูคือครู“ใครคือครู ครูคือใคร ในวันนี้ ใช่อยู่ที่ปริญญามหาศาลใช่อยู่ที่เรียกว่า ครู อาจารย...

รองศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรหญิง เฉลิมศรี ภุมมางกูร ภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ปัจจุบันเป็นคณบดีคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

อาจารย์ประดิษฐ์ หุตางกูร ในความทรงจำเมื่อเอ่ยนามอาจารย์ประดิษฐ์ หุตางกูร ทุกคนคงจะนึกถึงอาจารย์ที่สูงสง่าน่าเกรงขาม มีความเป็นผู้นำ มีวิสัยทัศน์ที่ก้าวไกล อาจารย์สนับสนุนให้มีการก่อตั้งร้านยา เพื่อเป็...

ยุวดี วงษ์กระจ่าง อาจารย์ภาควิชาสรีรวิทยา รุ่งระวี เต็มศิริฤกษ์กุล อาจารย์ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ สมใจ นครชัย อาจารย์ภาควิชาเภสัชวิทยา

ขอรำลึกอาจารย์ประดิษฐ์ หุตางกูรดิฉัน น.ส.พรรณี บูรณศิลป์ อายุ 21 ปี เข้ารับราชการ ณ คณะเภสัชศาสตร์ พญาไท เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2514 โดยมี อ.ประดิษฐ์ หุตางกูร เป็นผู้สัมภาษณ์ และรับเข้ามา...

นางพรรณี ชูชีพ หัวหน้าหน่วยสารบรรณ

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
การใช้และการจัดการคุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา