บุคลากรรำลึก

ความรู้สึกถึงอาจารย์ประดิษฐ์ จากบุคลากรปัจจุบันและบุคลากรที่เกษียณอายุราชการ
   

โดย นางดาวพิมล เรืองแสงดี หัวหน้าหน่วยอาคารสถานที่และยานพาหนะ

1110  Views  

เล่าเรื่อง อาจารย์ประดิษฐ์ หุตางกูร

 

อาจารย์ประดิษฐ์ หุตางกูร เป็นผู้ก่อตั้งคณะเภสัชศาสตร์ พญาไท และเป็นคณบดีคนแรกของคณะฯ ต่อมาเป็นคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ได้รู้จักอาจารย์ประดิษฐ์ หุตางกูร ครั้งแรก ประมาณเดือน ตุลาคม 2512 โดยไปพบอาจารย์ที่คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาจารย์ได้พาไปพบคุณถนอมขวัญ ซึ่งเป็นเลขานุการคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และฝากให้คุณถนอมขวัญสอนการทำงานทุกอย่างที่ทำกันในสำนักงานเลขานุการคณะฯ ให้ดิฉันซึ่งเป็นบุคลากรชุดแรกที่จะมาทำงานที่คณะเภสัชศาสตร์ พญาไท ดิฉันเรียนงานอยู่ 5 - 6 เดือน อาจารย์ประดิษฐ์ ท่านก็ให้มาทำงานที่คณะเภสัชศาสตร์ พญาไท ที่ตั้ง ณ ปัจจุบันนี้ โดยครั้งแรกที่ดิฉันมาถึง ก็เห็นมีอาคารอยู่ 4 หลัง

อาคารที่ 1 และ 4 เป็นสถานที่สหประชาชาติทำงานอยู่

อาคารที่ 2 มี 2 หน่วยงานคือ 1. สภาการศึกษา และ 2. สำนักงานมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 

อาคารที่ 3 เป็นที่ตั้งของคณะเภสัชศาสตร์ พญาไท ดิฉันได้รับมอบหมายให้ทำงานในส่วนของสำนักงานเลขานุการ โดยมีคุณเกษมเป็นเลขานุการคณะฯ นอกจากดิฉันแล้วก็มีคุณเนียน คุณจำเนียร คุณพรรณี และคุณเพ็ญศรี เราทำงานช่วยกันทุกหน้าที่ ทั้งพิมพ์งาน โรเนียวเอกสาร การเจ้าหน้าที่ ดูแลอาคารสถานที่ ฯลฯ 

 หลังจากสภาการศึกษา และ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ย้ายไป สำนักงานเลขานุการคณะฯ ก็ย้ายมาอยู่ที่ชั้น 1 อาคาร 2 สำนักงานเลขานุการคณะฯ และ ห้องคณบดีอยู่ติดกัน ส่วนห้องสมุด ห้องเรียน ห้องแลป ฯลฯ สำหรับนักศึกษา อาจารย์ประดิษฐ์ก็ปรับห้องต่างๆ ในอาคาร 2 ให้ใช้งานได้ เตรียมพร้อมรับนักศึกษา 

ขณะเดียวกัน ก็เริ่มรับเจ้าหน้าที่เพิ่มขึ้น มีการจัดแบ่งงานให้แต่ละคนทำ ดิฉันได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่เกี่ยวกับอาคารและสถานที่ คุณพรรณีดูแลงานสารบรรณ เป็นต้น

และอาจารย์ผู้ใหญ่หลายท่านได้ย้ายมาจากคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เช่น อาจารย์ฉวี อาจารย์เฉลา อาจารย์สุคนธ์ อาจารย์อำไพ อาจารย์พเยาว์ นับได้ว่าเป็นอาจารย์รุ่นบุกเบิกของคณะเภสัชศาสตร์ พญาไท

ในด้านการบริหาร อาจารย์ประดิษฐ์ท่านมีวิธีการปรามพวกเราที่เกเรหรือมาทำงานสาย อย่างเช่น ถ้ามีคนมาทำงานสายบ่อย ๆ ท่านก็จะมายืนอ่านหนังสือพิมพ์ที่ตั้งอยู่ตรงโถงหน้าอาคาร 2 จุดนี้เป็นจุดที่ทุกคนที่ทำงานในคณะฯ จะต้องเดินผ่าน 

ท่านปกครองคนโดยไม่ต้องดุ แค่ท่านยืนมองหรือเดินผ่านเราก็กลัวกันแล้ว

แต่เป็นที่น่าเสียดาย ที่ท่านจากพวกเราเร็วกว่าที่ควร ท่านเป็นผู้ใหญ่ที่น่าเคารพนับถือ ท่านปกครองผู้ใต้บังคับบัญชาเป็นเสมือนคนในครอบครัวเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นบุคลากรหรือนักศึกษา

รักและเคารพท่านอย่างยิ่ง

บทความอื่นๆ จากบุคลากรและผู้เกษียณฯ

ดิฉันทำงานที่ภาควิชาจุลชีววิทยาตั้งแต่ยุคเริ่มต้นของคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีอาจารย์ประดิษฐ์ หุตางกูร เป็นคณบดี ท่านเป็นผู้ใหญ่ที่ตั้งใจทำงานมาก และรักคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นที่สุ...

รองศาสตราจารย์ อารมณ์ พงษ์พันธุ์ ภาควิชาจุลชีววิทยา

ด้วยความเคารพรักจาก ศิษย์นักศึกษาเภสัชศาสตร์รุ่นแรก ๆ ที่ได้เรียนกับท่านอาจารย์ ประดิษฐ์ หุตางกูร หลังท่านกลับจากศึกษาที่ประเทศสหรัฐอเมริกานั้นมีดิฉันร่วมอยู่ด้วยคนหนึ่ง ซึ่งเป็นประมาณปี พ.ศ. 250...

รองศาสตราจารย์ ดร. ภญ. จันทรา ชัยพานิช คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (พ.ศ. 2536-2540) คณบดีคณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ (พ.ศ. 2540-2559)

ความประทับใจที่มีต่อท่านอาจารย์ประดิษฐ์ หุตางกูร ผู้เป็นอาจารย์และผู้บังคับบัญชาของข้าพเจ้าเป็นสิ่งที่ตราตรึงไม่ลืมเลือน ท่านเป็นผู้ใหญ่ใจดี มีเมตตา สอนความรู้ด้านวิชาชีพและยังบอกหนทางสู่ความสำเร็จ ซึ...

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. เภสัชกรหญิง วีณา จิรัจฉริยากูล อาจารย์ประจำภาควิชาเภสัชวินิจฉัย

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
การใช้และการจัดการคุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา