โดย รองศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรหญิง เฉลิมศรี ภุมมางกูร ภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ปัจจุบันเป็นคณบดีคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
2608 Views |
ความทรงจำอันเป็นทรัพย์มหาศาล
จดหมาย อาจารย์ประดิษฐ์ หุตางกูร ถึง อาจารย์เฉลิมศรี ภูมมางกูร
ขอขึ้นต้นบูชาด้วยจดหมายของอาจารย์ประดิษฐ์ หุตางกูร สิ่งนี้เป็นกำลังใจให้เฉลิมศรี ซึ่งกำลังตกอยู่ในภาวะลำบาก ขณะไปเรียนวิชา Clinical Pharmacy ด้วยทุน ก.พ. (ท่านอาจารย์ประดิษฐ์ เป็นผู้เสนอขอ ก.พ. พ.ศ. 2517) ไหนจะภาษา ไหนจะความยาก ในการเรียนวิชาใหม่ๆ ความเหงา สิ่งนี้คือกำลังใจที่มีค่ามหาศาล จึงทำให้มีชีวิตอยู่รอด และสำเร็จการศึกษา Clinical Pharmacy และดำเนินการตอบแทนท่านด้วยการจัดทำหลักสูตรดังกล่าวให้คณะเภสัชศาสตร์ มหิดลเป็นแห่งแรกของประเทศไทย
ท่านอาจารย์ประดิษฐ์ยังแนะนำให้เฉลิมศรีเรียนต่อปริญญาเอก ด้าน Clinical Pharmacy ซึ่งในเวลาต่อมาโดยความช่วยเหลือของ ศ.ดร.สุมนต์ สกลไชย ให้การสนับสนุนจนเฉลิมศรีสำเร็จได้ Ph.D. ด้าน Clinical Pharmacy จาก Cardiff University, Wales ประเทศสหราชอาณาจักร หลังจากนั้นเฉลิมศรีได้เพิ่มความสามารถทางวิชาชีพ (Board of Pharmacy) จากสภาเภสัชกรรม ขึ้นอีก
อาจารย์เฉลิมศรี ภูมมางกูร ในชุดครุยปริญญาเอก ถ่ายรูปต่อหน้ารูปหล่อของอาจารย์ประดิษฐ์ หุตางกูร
ผลงานของท่านอาจารย์ประดิษฐ์มีมากมาย
1. เป็นผู้ริเริ่มเภสัชกรรมคลินิก
2. เป็นผู้ริเริ่มคลังข้อมูลยา (Drug Information Center : DIC)
3. เป็นผู้ริเริ่มร้านยาในคณะเภสัชศาสตร์ มหิดล แต่ให้เรียก “สถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชน”
4. เป็นผู้ริเริ่มโรงงานยา ผลิตยาในคณะฯ
สำหรับตัวเฉลิมศรีเองไม่ได้อยู่เฉย พยายามทำสิ่งต่างๆ ที่มีประโยชน์ เช่น เภสัชกรรมคลินิก จะมีปัญหาจากการใช้ยา (Drug Related Problems : DRP) มี 9 หัวข้อ โดย Linda Strand
1. อาการไม่พึงประสงค์จากยา (Adverse Drug Reactions : ADR)
2. ปฏิกิริยาระหว่างยา-ยา, ยา-อาหาร เป็นต้น
3. การเลือกใช้ยาไม่เหมาะสม (Improper Drug Selection)
4. การประเมินการใช้ยา (Drug Use Evaluation : DUE)
5. การไม่ใช้ยาตามแพทย์สั่ง (Drug Compliance)
6. การให้ยาทางหลอดเลือดดำ (Intravenous Infusion)
7. Dosage too low
8. Dosage too high
9. Need for additional drug therapy
นอกจากนี้ เฉลิมศรี ยังกระตุ้นให้เภสัชกรทำกิจกรรมการตรวจตราอาการไม่พึงประสงค์จากยา จนปัจจุบันเป็นกิจกรรมที่เภสัชกรทุกโรงพยาบาลต้องมี
คำว่า “การบริบาลทางเภสัชกรรม” ก็เป็นคำที่เฉลิมศรีบัญญัติขึ้น ให้เป็นคำแปลของ “Pharmaceutical Care”
ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ มาจากวิสัยทัศน์ท่านอาจารย์ประดิษฐ์ หุตางกูร ท่านเดียว ซึ่งยังมีอีกมากมาย
ขอกราบบูชาและรำลึกถึง อาจารย์ ดร.(กิตติมศักดิ์) ประดิษฐ์ หุตางกูร ปูชนียบุคคลของเภสัชศาสตร์ตลอดกาล
ปาจรีย์ประดิษฐ์ไท้ เทียบบิดรแห่งศิษย์เภสัชกร ท่านสร้างรังสฤษฏ์สถาพร เภสัช มหิดลนาคุณก่ออนันต์กว้าง เกริกฟ้าเกรียงไกร &nbs...
ดร.ภก.สุวิทย์ เมษินทรีย์ เพราะวรรคทองของท่านอาจารย์ประดิษฐ์ ที่ว่า from here you can go anywhere และในวิชา Pharm Orientation ท่านอาจารย์ได้มีวิสัยทัศน์กว้างไกล โดยกล่าวเน้นว่า R&D แ...
คนละประโยคจากรุ่น 3 “ภาพจำ...อาจารย์ประดิษฐ์” อาจารย์ยิ้มง่ายใจดีอาจารย์เป็นนักสู้นักพัฒนาไม่ย่อท้ออาจารย์มีคำกล่าว from here we can go everywhere นั้น เพราะอาจารย์มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลอาจ...
![]() ![]() |
|
HTML5 Bootstrap Font Awesome