โดย ภก. ชัยชนะ หะริณธนาวุฒิ และเพื่อน ๆ - ศิษย์เก่าเภสัชมหิดลรุ่นที่ 10
1369 Views |
การพิจารณา วิเคราะห์ความคิดของบุคคลที่ได้สร้างผลงาน สร้างประโยชน์ให้กับสังคม ให้กับวงการวิชาชีพ นอกจากเป็นแนวทางหนึ่งในการเรียนรู้ ทำความเข้าใจแนวทางในการประสบความสำเร็จ ยังได้รับรู้ถึงกรอบความคิดสำคัญในการพัฒนางาน พัฒนาคน พัฒนาวิชาชีพ ที่นำไปสู่การสร้างคุณูปการแก่ประชาชนและสังคม และยังขอเป็นการแสดงความกตัญญูแก่อาจารย์ แก่ครูผู้มีพระคุณ โดยหวังให้การถอดความคิดนี้ เป็นพื้นฐานความคิดให้กับเภสัชกรรุ่นใหม่ ๆ ที่จะกำหนดบทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบอย่างที่ควรจะเป็น ร่วมกันสร้างสรรค์ พัฒนาวิชาชีพเภสัชกรรมอย่างยั่งยืนต่อไป
ด้วยข้อความต่อไปนี้ บางส่วนเป็นคำกล่าว บางส่วนบอกเล่าถึงการทำงาน ความคิด ของท่านอาจารย์ประดิษฐ์ หุตางกูร ที่จะขออนุญาตท่าน นำมาเป็นบทเรียนรู้ร่วมกันของเพื่อน ๆ ร่วมวิชาชีพในโอกาส 100 ปีชาตกาล
|
ประโยคที่สั้น กระชับ ถือเป็นข้อความที่อาจารย์ได้สรุปผลลัพธ์สำคัญของวิชาชีพเภสัชกรรม ที่ไม่ใช่เพียงแค่ในสาขาเภสัชกรรมชุมชนเท่านั้น แต่น่าจะรวมถึงทุกสาขาวิชาชีพทางเภสัชกรรม ที่มีบทบาท หน้าที่ใดใดก็ตาม ไม่ว่างานผลิต งานโรงพยาบาล งานขึ้นทะเบียนยา เป็นต้น ต้องปฏิบัติหน้าที่ ด้วยความรู้ความสามารถ เพื่อให้เกิดผล ๐ ให้ผู้บริโภคได้รับความเสี่ยง อันตรายจากยาที่บริโภคให้น้อยที่สุด และ ๐ ได้รับประสิทธิผลในการป้องกัน รักษาสูงสุด ประโยคสั้น ๆ แต่ความหมายชัดเจนเหล่านี้ ชี้ให้เห็นการทำงานที่ต้องมีตัวชี้วัดผลงาน และคุณค่าทางวิชาชีพต่อสังคม ที่เภสัชกรทุกสาขาควรตระหนักในการสร้างบทบาท และใช้วัดประเมินผลการทำงานของตนเองและหน่วยงาน |
|
การที่เภสัชกรจะสามารถปฏิบัติงาน พัฒนางานวิชาชีพในทุกสาขาได้อย่างมีประสิทธิภาพ อาจารย์ให้แนวทางไว้อย่างชัดเจน ที่ไม่เพียงต้องมีความรู้ความสามาถในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางเภสัชกรรมเท่านั้น แต่ต้องสนใจเพิ่มพูนความรู้ความสามารถด้านธุรกิจ ด้านการบริหารจัดการ แต่ปัจจัยสำคัญอีกหนึ่งประเด็นที่อาจารย์ระบุไว้ คือ ทัศนคติที่เภสัชกรต้องมี คือ การทำหน้าที่คุ้มครองสวัสดิภาพของประชาชน ที่จะเป็นโอกาสในการแสดงบทบาทช่วยแก้ปัญหาสาธารณสุขของประเทศและประชาชน โดยไม่ปล่อยให้ยาเป็นปัญหาด้านสาธารณสุข แม้ประเด็นนี้ อาจารย์นำเสนอไว้ภายใต้บทบาทหน้าที่ของเภสัชกรชุมชน แต่เมื่อพิจารณาแล้ว น่าจะเป็นประเด็นที่นำไปใช้ได้กับทุกสาขาอาชีพทางเภสัชกรรม ที่ควรหาโอกาสพัฒนางานคุ้มครองสวัสดิภาพของประชาชน ช่วยแก้ปัญหาสาธารณสุข ลดปัญหาจากการใช้ยา |
|
เมื่อเวลาผ่านมาจนถึงปัจจุบัน สิ่งที่อาจารย์กล่าวไว้ล้วนเป็นจริง ทั้งประเด็นความต้องการใช้สมุนไพร ที่ประเทศไทยเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ มีการใช้สมุนไพรมาแต่อดีต สมุนไพรยังเป็นรากฐานของระบบสุขภาพในชุมชนไทยมานาน ปัจจุบันเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคต้องการไม่ใช่เพียงเพื่อรักษาโรค หรือส่งเสริมสุขภาพเท่านั้น แต่เพื่อการพึ่งพาตัวเอง ประเด็นปัญหาจากการใช้ยามีเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน เป็นประเด็นปัญหาที่เภสัชกรทุกสาขาวิชาชีพ ต้องพัฒนาระบบบริหารจัดการ ตั้งแต่การจัดหา กระจายยา การส่งมอบ พัฒนาระบบติดตาม การให้การศึกษา การรณรงค์โดยคำนึงถึงปัจจัยทางสังคมที่ส่งผลต่อสุขภาพ เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ ที่จะพึ่งพาตนเองได้ถูกต้องในการจัดการปัญหาสุขภาพ และการใช้ยาอย่างถูกวิธี ยิ่งในบริบทปัจจุบันที่สภาพแวดล้อมเปลี่ยนไป เช่น ระบบออนไลน์ที่ส่งผลให้เกิดการสื่อสาร ประชาสัมพันธ์ถึงตัวผู้บริโภคโดยตรง ยากลายเป็นเหมือนสินค้าทั่วไป ปัญหาจากการใช้ยาจึงเกิดมากขึ้นอีกทวีคูณ เหล่านี้เป็นหน้าที่ของเภสัชกร ที่ต้องมีความรู้ด้านเภสัชกรรมคลินิก มีความรู้และข้อมูลที่เชื่อถือได้ด้านสมุนไพรเป็นพื้นฐานสำคัญ นอกเหนือจากความเข้าใจชีวิตความเป็นอยู่ สังคม วัฒนธรรม |
ข้อมูลทั้งหมดมาจากหนังสือ รำลึกอาจารย์ ประดิษฐ์ หุตางกูร ชีวิตและผลงานของหมอยาใหญ่แห่งวงการเภสัชกรรมไทย แสดงให้เห็นว่า อาจารย์เป็นทั้งเภสัชกร เป็นนักปฏิบัติที่มีความมุ่งมั่นพัฒนาวิชาชีพ และเป็นครู เป็นนักวิชาการที่มุ่งวางรากฐานความรู้ให้กับศิษย์ ให้มีทิศทางที่ชัดเจนของการพัฒนาวิชาชีพ และที่สำคัญคือการทำงานบนพื้นฐานความรู้วิชาการ ด้วยทัศนคติที่จะช่วยแก้ไขปัญหาสาธารณสุข โดยที่เภสัชกรทุกสาขาวิชาชีพต้องมีโอกาสคุ้มครองสวัสดิภาพของประชาชนคู่ไปกับการทำหน้าที่ทางเภสัชกรรมตลอดเวลา
ในนามของศิษย์ที่จบจากคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รุ่นที่ 10 ขอน้อมนำแนวคิด วิธีการทำงาน มุมมองเพื่อการพัฒนาวิชาชีพ และมุ่งเปิดบทบาทช่วยแก้ไขปัญหาสาธารณสุข เป็นแนวทางในการพัฒนาชีวิตการทำงาน และถ่ายทอดสู่น้องเภสัชกรรุ่นต่อ ๆ ไป ตามแนวทางการทำงานและการปฏิบัติของท่านอาจารย์ประดิษฐ์ หุตางกูร
From here we can go everywhereวรรคทอง ของ อ.ประดิษฐ์ หุตางกูร ท่านกล่าวประโยคนี้เมื่อปี พ.ศ. 2517 ในการต้อนรับเภสัชมหิดลรุ่น 4 ที่ข้ามฟากมาจากตึกกลม คณะวิทยาศาสตร์ ที่อยู่บนถนนพระรามหก มาเรี...
อาจารย์ประดิษฐ์ หุตางกูร..รุ่นพี่..อาจารย์..ผู้บังคับบัญชานักศึกษารุ่น 1 (ปี 2511) เรียนปีหนึ่ง ปีสอง ที่ตึกจานบินคณะวิทยาศาสตร์ เรามีรุ่นพี่ ดูแล พูดคุย ทำกิจกรรมต่าง ๆ เมื่อขึ้นปีสามพวกเราต้องข้ามมา...
ข้อมูลเฉพาะรุ่น 1ปี 1 (พ.ศ.2512) เข้ามาจำนวน 150 คนอยู่คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ แผนกเตรียมเภสัชศาสตร์ พอขึ้นปี 2 มีลาออกไปสอบเอนทรานซ์ใหม่ประมาณ 5 คน พอขึ้นปี 3 (พ.ศ. 2514) สมัครมาคณะเภสัชศาสตร์ พญ...
|
HTML5 Bootstrap Font Awesome