คำไว้อาลัย

จากหนังสือพระราชทานเพลิงศพ "ครูประดิษฐ์"
   

โดย นางจำเนียร ภวังคนันต์ เจ้าหน้าที่ธุรการ

859  Views  

“จำเนียร รำลึกถึง อาจารย์ประดิษฐ์”

ขอเรียกตัวเองว่าจำเนียร ในเนื้อหาที่เขียนนี้ จำเนียร เริ่มทำงานที่คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประมาณปี พ.ศ. 2509 ขณะนั้น อาจารย์ประดิษฐ์ หุตางกูร เป็นเลขานุการคณะฯ 

จนกระทั่ง อาจารย์ประดิษฐ์ ไปตั้งคณะใหม่ที่ ทุ่งพญาไท ประมาณปี พ.ศ. 2512 และเจ้าหน้าที่ มี

  1. พี่แหม่ม (นางดาวพิมล เรืองแสงดี) 
  2. นางจำเนียร ภวังคนันต์
  3. นายทองอินทร์ พฤศชาติ

มี 3 คนเอง

ประมาณ ปี พ.ศ. 2514 พวกเรา 3 คน ก็ย้ายมาอยู่คณะเภสัชฯ แห่งใหม่ที่ ถนนศรีอยุธยา ต่อมาคณะเภสัชฯ ก็ได้รับเจ้าหน้าที่ – คนงานเพิ่มเติมอีกมากมาย อาจารย์ประดิษฐ์ หุตางกูร เป็นคนมีเมตตา ไม่พูดเยอะ ใคร ๆ ที่ทำผิด อาจารย์ก็เรียกมาสอบสวนด้วยตัวเองก่อน เหมือนพ่อดุลูก ๆ เลย เท่าที่จำเนียรทำงานมากับอาจารย์นะ อาจารย์มาทำงานเช้ามาก ๆ เลยค่ะ สังเกตดูพวกเรา (อาจารย์และเจ้าหน้าที่) แทบทุกคน จำเนียรด้วยไม่รู้ว่ากลัวอะไรอาจารย์ประดิษฐ์ เวลาจะเข้าหาอาจารย์นะ ต้องแอบดูก่อนทั้ง ๆ ที่อาจารย์ไม่ดุเลย พูดก็น้อย จำเนียรรู้สึกว่าอาจารย์มีบารมีมาก ๆ เป็นอาจารย์ที่น่ารักมากค่ะ มีเมตตากับลูกน้องทุก ๆ คนทั้งอาจารย์และเจ้าหน้าที่ค่ะ

บทความอื่นๆ จากศิษย์เก่า

ข้อมูลเฉพาะรุ่น 1ปี 1 (พ.ศ.2512) เข้ามาจำนวน 150 คนอยู่คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ แผนกเตรียมเภสัชศาสตร์ พอขึ้นปี 2 มีลาออกไปสอบเอนทรานซ์ใหม่ประมาณ 5 คน พอขึ้นปี 3 (พ.ศ. 2514) สมัครมาคณะเภสัชศาสตร์ พญ...

ปราโมทย์ ชลยุทธ์ รุ่นที่ 1

ในปี 2525 ดิฉันเป็นนักศึกษาเภสัชศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 ได้มีโอกาสพบท่านอาจารย์ประดิษฐ์ หุตางกูร อาจารย์ได้เล่าถึงเรื่องราวการทำงานโรงพยาบาลอำเภอของรุ่นพี่มหิดลรุ่น 6-7 และอาจารย์ได้ให้คำแนะ...

รศ.ดร.จุฬาภรณ์ ลิมวัฒนานนท์ รุ่นที่ 11

อาจารย์ประดิษฐ์ หุตางกูร..รุ่นพี่..อาจารย์..ผู้บังคับบัญชานักศึกษารุ่น 1 (ปี 2511) เรียนปีหนึ่ง ปีสอง ที่ตึกจานบินคณะวิทยาศาสตร์ เรามีรุ่นพี่ ดูแล พูดคุย ทำกิจกรรมต่าง ๆ เมื่อขึ้นปีสามพวกเราต้องข้ามมา...

รศ. ดร. ภญ.พิสมัย กุลกาญจนาธร ศิษย์รุ่น 1 รุ่นที่ 1

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
การใช้และการจัดการคุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา