ศิษย์เก่ารำลึก

บอกเล่าประสบการณ์ผ่านประสบการณ์ตรงของศิษย์เก่าเภสัชมหิดล
   

โดย ภญ.บุษบา จินดาวิจักษณ์ - ศิษย์เก่าเภสัชมหิดลรุ่นที่ 4

947  Views  

From here we can go everywhere

วรรคทอง ของ อ.ประดิษฐ์ หุตางกูร ท่านกล่าวประโยคนี้เมื่อปี พ.ศ. 2517 ในการต้อนรับเภสัชมหิดลรุ่น 4 ที่ข้ามฟากมาจากตึกกลม คณะวิทยาศาสตร์ ที่อยู่บนถนนพระรามหก มาเรียนชั้นปีที่ 3 ที่คณะเภสัชศาสตร์ ที่อยู่บนถนนศรีอยุธยา ด้วยต้องการให้ลูกศิษย์รุ่นนี้รับรู้ว่าลูกศิษย์และอาจารย์เป็นพวกเดียวกันคือพวกเรา

 

ในเวลานั้นพวกเราเหล่าลูกศิษย์รุ่น 4 ไม่ใคร่จะอยากเรียนเภสัชเท่าใดนัก อยากแต่จะเรียนแพทย์ ท่านจึงรังสรรค์วรรคทองนี้ขึ้นมา เพื่อบอกว่าเรียนเภสัชแล้วสามารถทำงานได้หลายอย่าง ลูกศิษย์จะได้มีใจเข้าห้องเรียน แต่จะบอกให้ว่าเวลานั้น ฟังก็เหมือนไม่ได้ยิน ด้วยความที่อายุยังน้อย ก็ก้มหน้าก้มตาเรียนกันไป พุธบ่ายว่างก็ไปเดินห้างไทยไดมารู (ศูนย์การค้าดังในสมัยนั้น ปัจจุบันกลายเป็นห้างโรบินสันราชดำริ) บางทีก็ไปสวนสามพราน ไปเล่นสเก็ตช์น้ำแข็งก็เคย 

 

จนกระทั่งเรียนจบเภสัช รับพระราชทานปริญญาบัตร ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2520 (แต่เรียกว่าจบปีการศึกษา 2519) เริ่มทำงาน ก็เพิ่งเห็นจริงตามวรรคทองของ อ.ประดิษฐ์ และเห็นการขยายจำนวนสาขาอาชีพที่เพื่อนๆทำต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน กล่าวคือเพื่อนๆ ทำงานกันหลากหลาย เป็นงานวิชาชีพ และงานอื่นๆ ซึ่งมีทั้งที่เป็นกิจการของพ่อแม่ และที่เริ่มต้นเอง ได้แก่ เป็นเจ้าของโรงงานอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง เจ้าของธุรกิจทำดอกไม้ผ้าส่งนอก เจ้าของธุรกิจเครื่องมือแพทย์ เจ้าของบริษัททำ built-in furniture สืบทอดกิจการบริษัทรับเหมาก่อสร้าง สืบทอดกิจการขายและให้เช่ารถแทรกเตอร์รถเครน เป็นต้น 

 

วรรคทองนี้จะเริ่มมาตั้งแต่รุ่น 1 หรือไม่ ก็ไม่ทราบได้ แต่สำหรับรุ่น 4 แล้ว เราเห็นจริงตาม อ.ประดิษฐ์ และเราเดินตามรอย จนสามารถสร้างงานและรายได้เลี้ยงตนและครอบครัว และเป็นคนดีของสังคม ตลอดจนให้ความช่วยเหลือคณะตามแต่โอกาส 

 

ขอเป็นตัวแทนศิษย์เก่ารุ่น 4 กราบขอบพระคุณ อ.ประดิษฐ์ หุตางกูร หากไม่มีท่าน ก็ไม่มีพวกเราในวันนี้

บทความอื่นๆ จากศิษย์เก่า

ผมเข้าเรียนเภสัชฯ ม.มหิดล ปี 2521 นับเป็นรุ่นที่ 10 เมื่อยู่ชั้นปี 1-2 เรียนที่คณะวิทยาศาสตร์ ถนนพระราม 6 รวมกับนักศึกษาปี 1-2 คณะอื่นๆ ชั้นปี 3-5 เรียนที่ตึกคณะเภสัชฯ สม...

สุเทพ ไวยครุฑธา รุ่นที่ 10

จำได้ว่าปอง (รศ.ดร.ภญ.จุฬาภรณ์ ลิมวัฒนานนท์) ชวนไปพบท่านที่ห้อง ท่านต้อนรับลูกศิษย์อย่างเป็นกันเองเหมือนคนในครอบครัว และบอกว่าประตูห้องเปิดเสมอ ฟังวิสัยทัศน์ท่านแล้ว เป็นหลักการที่เกินกว่าเภสัชฯ หากเป...

ภญ.ธนูทิพย์ กรรณสูต รุ่นที่ 11

ข้อมูลเฉพาะรุ่น 1ปี 1 (พ.ศ.2512) เข้ามาจำนวน 150 คนอยู่คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ แผนกเตรียมเภสัชศาสตร์ พอขึ้นปี 2 มีลาออกไปสอบเอนทรานซ์ใหม่ประมาณ 5 คน พอขึ้นปี 3 (พ.ศ. 2514) สมัครมาคณะเภสัชศาสตร์ พญ...

ปราโมทย์ ชลยุทธ์ รุ่นที่ 1

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
การใช้และการจัดการคุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา