หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Buprenorphine แบบฝัง อีกทางเลือกหนึ่งที่สะดวกกว่าสำหรับการรักษาการติดยากลุ่ม opioids

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 1 เดือน พฤษภาคม ปี 2555 -- อ่านแล้ว 4,945 ครั้ง
 
จากการประชุมของ American Society of Addiction Medicine (ASAM) 43rd Annual Medical-Scientific ที่เมืองซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา Beebe และคณะ ได้นำเสนอผลการศึกษาประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ใหม่ Buprenorphine แบบฝังใต้ผิวหนังซึ่งออกฤทธิ์นาน 6 สำหรับการรักษาการติดยากลุ่ม opioids ในผู้ป่วย 287 ราย เทียบกับยาหลอก และ buprenorphine แบบอมใต้ลิ้น พบว่า ผู้ป่วยที่ได้รับ buprenorphine ทั้งสองแบบ สามารถลดการใช้สารเสพติดได้ดีกว่ายาหลอก โดยยืนยันจากจำนวนผู้ที่ใช้ยาและตรวจไม่พบสาร opioid ในปัสสาวะจะมีมากกว่ากลุ่มที่ได้ยาหลอกอย่างมีนัยสำคัญ (P < .0001) และยา buprenorphine แบบฝังมีประสิทธิภาพที่ไม่ด้อยกว่า (non-inferior) ยาแบบอมใต้ลิ้น อาการข้างเคียงที่พบบ่อยได้แก่ ปวดศีรษะ โดยพบมากสุดในกลุ่มที่ได้ยา Buprenorphine อมใต้ลิ้น รองมาคือแบบฝังและยาหลอก และการระคายเคืองบริเวณฝังยา ข้อดีของยา buprenorphine แบบฝังใต้ผิวหนัง คือ เพิ่มความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วย ผู้ป่วยได้รับขนาดยาที่คงที่อย่างต่อเนื่องตลอด 6 เดือน แต่มีข้อเสีย คือ ราคาแพง และต้องใช้การผ่าตัดเพื่อฝังตัวยา อย่างไรก็ตามขณะนี้ยังไม่มีการศึกษาถึงวิธีการหยุดยาที่เหมาะสมเพื่อป้องกันอาการถอนยา ซึ่งต้องทำการศึกษาต่อไป
 
คลิปความรู้เรื่องยา

EP.2 เกลือแร่สำหรับท้องเสีย ORS (Oral Rehydration Salts)

ดูคลิปทั้งหมด

ข่าวยาล่าสุด
    ดูข่าวยาทั้งหมด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้