หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Does Continuous Dopaminergic Stimulation Reduce Dyskinesia Risk?

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 4 เดือน ตุลาคม ปี 2553 -- อ่านแล้ว 2,246 ครั้ง
 
ผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน (PD) ที่อยู่ในระยะ advance PD หรือผู้ที่ได้รับยา levodopa ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน อาจทำให้เกิดภาวะการตอบสนองต่อยาไม่สม่ำเสมอ (motor complications) เช่น dyskinesia และ off period ได้ ซึ่งผลดังกล่าวเกิดจากการกระตุ้น dopamineogic receptors ที่ไม่สม่ำเสมอ ในปัจจุบันมีการหาวิธีการเพื่อลดหรือป้องกันภาวะดังกล่าว

จากการศึกษา STRIDE-PD trial ผู้ป่วยที่เป็นโรคพาร์กินสันจำนวน 747 รายสุ่มให้ได้รับยา levodopa/carbidopa (LC) หรือ levodopa/carbidopa/entacapone (LCE) โดยมีการให้ยาวันละ 4 ครั้ง ทุก 3.5 ชั่วโมง เป็นเวลา 134 สัปดาห์ โดยที่ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มที่ได้รับ LCE จะมีระยะเวลาของการเริ่มเกิดอาการ dyskinesia สั้นกว่ากลุ่มที่รับ LC แต่ความถี่ของการเกิด dyskinesia โดยพิจารณาจนถึงสัปดาห์ที่ 134 พบในกลุ่มที่ได้รับ LCE มากกว่ากลุ่มที่ได้รับ LC โดยคิดเป็นร้อยละ 42 และ 32 ตามลำดับ ระยะเวลาในการเริ่มเกิด wearing off และ motor scores ทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน ขนาดยา levodopa เฉลี่ยเท่ากันทั้งสองกลุ่ม แต่ในกลุ่มที่ได้รับ LCE จะมีปริมาณ levodopa มากกว่ากลุ่มที่ได้รับ LC ประมาณร้อยละ 30 จากผลทางเภสัชจลนศาสตร์ของ entacapone ที่ช่วยเพิ่มระดับของ levodopa สำหรับผลของผู้ป่วยที่ได้รับ LCE เพิ่มการเกิด dyskinesias อย่างมีนัยสำคัญพบเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับ dopamine agonist ร่วมด้วย นอกจากนี้ยังพบการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก และการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตาย (myocardial infarction) ในกลุ่มที่ได้รับ LCE มากกว่า LE อีกด้วย

การที่กลุ่มผู้ป่วยได้รับยา LCE ทุก 3.5 ชั่วโมง ไม่เห็นประสิทธิภาพในการลดการเกิด dyskinesias เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับ LE อาจสอดคล้องกับการศึกษาก่อนหน้านี้ที่ได้มีการอธิบายถึงขนาดยาของ pulsatile levodopa ที่สูงจะเพิ่มความถี่ของการเกิด dyskinesias ได้ ดังนั้นจากการศึกษานี้อาจนำมาสู่ข้อสรุปที่ว่า การใช้ยา LCE ไม่แนะนำในผู้ป่วยที่อยู่ในระยะ early PD แต่อาจเป็นยาที่พิจารณาในผู้ป่วยที่เคยมีภาวะ wearing off จาก levodopa มาแล้ว



 
คลิปความรู้เรื่องยา

EP.4 ยาอันตรายควบคุม (Controlled dangerous drugs)

ดูคลิปทั้งหมด

ข่าวยาล่าสุด
    ดูข่าวยาทั้งหมด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้