หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Inhaled Steroids Linked to Risk of Diabetes

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 2 เดือน ตุลาคม ปี 2553 -- อ่านแล้ว 1,560 ครั้ง
 
เมื่อวันที่ 12 ตุลาคมที่ผ่านมา มีรายงานการศึกษาจาก American Journal of Medicine ถึงกลุ่มผู้ป่วยที่มีการใช้ยาเสตียรอยด์ชนิดสูดพ่นสำหรับควบคุมภาวะหอบหืดหรือโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง มีแนวโน้มในการเกิดเบาหวาน หรือทำให้โรคเบาหวานมี progression เร็วขึ้น โดย Dr. Suissa แพทย์ประจำโรงพยาบาล Jewish General Hospital ได้รวบรวมข้อมูลจากผู้ป่วยจำนวน 388,584 ราย ที่เพิ่งได้รับยาในการรักษาอาการหรือโรคทางระบบทางเดินหายใจเป็นครั้งแรก โดยรวบรวมผู้ป่วยกลุ่มนี้ตั้งแต่ ปี 1990 จนถึง 2005 และติดตามต่อเนื่องจนถึงปี 2007 โดยระยะเวลาที่ติดตามผู้ป่วยโดยเฉลี่ยคือ 5.5 ปี ผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วยจำนวน 30,167 ราย ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ หรือผู้ป่วยเบาหวานเดิมที่ต้องได้รับยารักษาเบาหวานเพิ่มเติม เมื่อวิเคราะห์ผลการศึกษาเพิ่มเติมพบว่า การใช้ยาเสตียรอยด์ชนิดสูดพ่นมีความสัมพันธ์กับอัตราการเกิดโรคเบาหวาน โดยเพิ่มโอกาสการเกิดโรคเบาหวานร้อยละ 34 และเมื่อพิจารณากลุ่มผู้ป่วยที่ใช้ยาเสตียรอยด์ชนิดสูดพ่นในขนาดสูงพบว่า โอกาสการเกิดโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 64 หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ จะพบผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ 5 คนจากผู้ป่วยที่ใช้ยาเสตียรอยด์ชนิดสูดพ่น 1000 คนต่อปี นอกจากนี้ผู้วิจัยยังให้ความเห็นด้วยว่าการใช้ยาเสตียรอยด์ชนิดสูดพ่นนั้นยังเพิ่มโอกาสการ progression ของผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานอยู่แล้วอีกด้วย โดยเพิ่มโอกาสดังกล่าวร้อยละ 34 อย่างไรก็ตามข้อสรุปจากการศึกษาเชิงระบาดวิทยาในครั้งนี้ ผู้วิจัยให้ความคิดเห็นเพิ่มเติมว่า กลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับประโยชน์ชัดเจนจากการใช้ยาเสตียรอยด์ชนิดสูดพ่นคือกลุ่มผู้ป่วยโรคหอบหืด การป้องกันที่ดีคือการติดตามผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น ในขณะที่บทบาทของยาเสตียรอยด์ชนิดสูดพ่นในกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังนั้นยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน ดังนั้นการใช้ยาในผู้ป่วยกลุ่มนี้จึงควรพิจารณาถึงความเสี่ยงอย่างรอบคอบก่อนเสมอ
 
คลิปความรู้เรื่องยา

EP.5 น้ำตาลตกจากยาเบาหวาน (Hypoglycemia from anti-diabetics)

ดูคลิปทั้งหมด

ข่าวยาล่าสุด
    ดูข่าวยาทั้งหมด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้