หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Which Antibiotic for Acute Exacerbations of Chronic Obstructive Pulmonary Disease? Ciprofloxacin offered no benefit over an old standby, trimethoprim-sulfamethoxazole

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 2 เดือน สิงหาคม ปี 2553 -- อ่านแล้ว 2,469 ครั้ง
 
ในการรักษาภาวะหลอดลมอุดกั้นเรื้อรังกำเริบอย่างเฉียบพลัน (acute exacerbations of chronic obstructive pulmonary disease; COPD) ผู้ป่วยอาจไม่จำเป็นต้องได้รับยาต้านจุลชีพเสมอไป โดยยาต้านจุลชีพนั้นจะมีข้อบ่งใช้เฉพาะผู้ป่วยที่มีความรุนแรงของโรคมาก หรือผู้ป่วยที่ต้องได้รับการรักษาในหอผู้ป่วยวิกฤติ จึงนำมาซึ่งข้อสงสัยที่ว่ายาต้านจุลชีพตัวใดที่ควรนำมาใช้ในกรณีดังกล่าว

การศึกษาแบบ double-dummy ในผู้ป่วยจำนวน 170 รายที่มีภาวะหลอดลมอุดกั้นเรื้อรังกำเริบอย่างเฉียบพลัน และระบบทางเดินหายใจล้มเหลว โดยสุ่มให้ได้รับยา ciprofloxacin ในรูปแบบรับประทาน หรือ trimethoprim-sulfamethoxazole (TMP-SMX) ในรูปแบบรับประทานเป็นเวลา 10 วัน ผู้ป่วยที่ทำการศึกษาส่วนใหญ่เป็นเพศชาย และผู้ป่วยทุกรายเป็น heavy smokers ไม่มีผู้ป่วยรายใดที่เป็นไข้ หรือมีหลักฐานบ่งชัดว่ามีการเกิดโรคปอดบวม (pneumonia) ซึ่งจากผลการศึกษาพบว่าอัตราการเสียชีวิตระหว่างการรักษาที่โรงพยาบาลเท่ากันทั้ง 2 กลุ่ม (ร้อยละ 10) ในขณะที่พบผู้ป่วยล้มเหลวต่อการรักษาด้วยยาต้านจุลชีพ และต้องเปลี่ยนเป็นยาอื่นร้อยละ 10 ผลเพาะเชื้อพบ respiratory pathogens ในผู้ป่วย 73 ราย โดย 20 รายพบว่าดื้อต่อยาต้านจุลชีพที่ได้รับ (13 รายในกลุ่ม TMP-SMX และ 7 รายในกลุ่ม ciprofloxacin) แต่จากผลการศึกษาไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างการดื้อต่อยาต้านจุลชีพกับความล้มเหลวในการรักษา.

การศึกษาการใช้ยาต้านจุลชีพในผู้ป่วยที่มีภาวะหลอดลมอุดกั้นเรื้อรังกำเริบอย่างเฉียบพลันส่วนมากจะทำการเปรียบเทียบยาต้านจุลชีพกลุ่มดั้งเดิม เช่น TMP-SMX หรือ doxycycline กับยาต้านจุลชีพในกลุ่มใหม่ เช่น amoxicillin-clavulanate, cephalosporins, quinolones ซึ่งจากผลการศึกษาก็มักไม่พบว่ายากลุ่มใหม่จะมีข้อดีมากกว่ายาในกลุ่มเก่า อย่างไรก็ตามในยา quinolones กลุ่มใหม่จะมีฤทธิ์ครอบคลุมต่อแบคทีเรียแกรมบวกมากขึ้น รวมถึงการมีฤทธิ์ต่อ pseudomonas spp. ด้วย

 
คลิปความรู้เรื่องยา

EP.5 น้ำตาลตกจากยาเบาหวาน (Hypoglycemia from anti-diabetics)

ดูคลิปทั้งหมด

ข่าวยาล่าสุด
    ดูข่าวยาทั้งหมด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้