หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Levetiracetam Not Effective for Generalized Social Anxiety Disorder

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 3 เดือน มกราคม ปี 2553 -- อ่านแล้ว 2,335 ครั้ง
 
การศึกษาของ Dr. Stein และคณะ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน Journal of Clinical Psychiatry ประจำเดือนธันวาคม 2009 ที่ศึกษาผลด้านความปลอดภัยและประสิทธิภาพของ levetiracetam ในผู้ป่วย moderate to severe generalized social anxiety disorder (GSAD) จำนวน 217 ราย เป็นเวลา 12 สัปดาห์ ชี้ให้เห็นว่า levetiracetam ไม่มีประสิทธิภาพในการรักษาผู้ป่วย moderate to severe GSAD

ในการศึกษาดังกล่าวผู้เข้าร่วมการศึกษาแต่ละรายมีคะแนนตาม Liebowitz Social Anxiety Scale (LSAS) อย่างน้อยที่สุด คือ 60 คะแนน และคะแนนตาม 17-item Hamilton Depression Rating Scale ไม่เกิน 17 คะแนน โดยใช้ค่าเฉลี่ยการเปลี่ยนแปลงของ total LSAS score from baseline เป็น outcome หลัก และนิยามของการตอบสนองทางคลินิก (clinical response) คือ การลดลดของ LSAS score มากกว่า 30%

หลังจาก 1-week run-in period ผู้ป่วยจะถูกสุ่มให้ได้รับการรักษาด้วย levetiracetam หรือ placebo โดยขนาดยา levetiracetam ที่เริ่มต้นใช้ในการศึกษา คือ 250 mg/day จากนั้นจึงค่อยๆ ปรับขนาดยาไปจนถึง 3,000 mg ต่อวัน (1500 mg วันละสองครั้ง) จนถึงสัปดาห์ที่ 6 และคงขนาดยาดังกล่าวไปจนจบการศึกษาในสัปดาห์ที่ 12

เมื่อสิ้นสุดการศึกษาพบว่ามีผู้ป่วย 148 ราย (70% ของกลุ่มที่ได้รับ levetiracetam และ 67% ของกลุ่มควบคุม) เท่านั้นที่ได้รับการรักษาจนครบ และผลที่ได้หลังจากการใช้ intent-to-treat, last observation carried forward analysis ชี้ให้เห็นว่า

- ไม่พบความแตกต่างที่มีนัยสำคัญระหว่างค่าเฉลี่ยที่ปรับแล้วของการเปลี่ยนแปลง LSAS scores ของผู้ป่วยในกลุ่มที่ได้รับ levetiracetam กับ ผู้ป่วยในกลุ่มที่ได้รับ placebo (-24.4 vs -28.7 ตามลำดับ)

- อัตราการตอบสนองของทั้งสองกลุ่มมีความคล้ายคลึงกัน (41.3% สำหรับผู้ป่วยในกลุ่มที่ได้รับ levetiracetam และ 46.6% สำหรับผู้ป่วยในกลุ่มที่ได้รับ placebo)

- อัตราการสงบของโรค (remission rate) ของทั้งสองกลุ่มมีความคล้ายคลึงกัน (13.8% สำหรับผู้ป่วยในกลุ่มที่ได้รับ levetiracetam และ 18.4%, สำหรับผู้ป่วยในกลุ่มที่ได้รับ placebo)

ผลข้างเคียงที่พบมีความรุนแรงเล็กน้อยถึงปานกลาง และ rate of treatment-emergent adverse effects ของทั้งสองกลุ่มมีความคล้ายคลึงกัน โดยผลข้างเคียงที่ได้รับการรายงานบ่อย ได้แก่ ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย และง่วงนอน

 
ข่าวยาล่าสุด
    ดูข่าวยาทั้งหมด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้