หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Ranolazine เสริมการรักษาใน severe chronic angina ขณะออกกำลัง

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 1 เดือน กุมภาพันธ์ ปี 2547 -- อ่านแล้ว 15,832 ครั้ง
 
การใช้ ranolazine ร่วมกับ antianginals เดิมซึ่งได้แก่ calcium channel blockers หรือ beta-blockers ช่วยเพิ่มระยะเวลาการออกกำลังกายและลดอาการปวดเค้นหัวใจ (angina) ในผู้ป่วยที่มีอาการปวดเค้นเรื้อรังขั้นรุนแรง (severe chronic angina)





ranolazine เป็น antianginals ตัวใหม่ที่เชื่อว่าออกฤทธิ์โดยการยับยั้งการเกิด fatty acid oxidation ซึ่งจะไปเพิ่มการเกิด glucose oxidation แทนทำให้มีการสร้างพลังงานในรูป adenosine triphosphate (ATP) เพิ่มมากขึ้นในแต่ละครั้งที่มีการใช้ออกซิเจน และยังไม่ออกฤทธิ์รบกวนการทำงานของหลอดเลือดซึ่งต่างจาก antianginals ตัวอื่น ๆ ranolazine มีรายงานประสิทธิภาพในการเพิ่มความสามารถในการออกกำลังกายและยืดเวลาในการเกิด angina attack ได้นานขึ้นในการศึกษา the Monotherapy Assessment of Ranolazine In Stable Angina (MARISA) หากมีการใช้ ranolazine ร่วมกับ antianginals ตัวอื่น ๆ อาจเสริมประสิทธิภาพในการรักษาได้





Bernard R Chaitman และคณะได้ทำการศึกษา the Combination Assessment of Ranolazine In Stable Angina (CARISA) ในช่วงปี 1999 ถึงปี 2001 และติดตามผลจนถึงปี 2002 การศึกษานี้เป็น double-blinded randomized placebo-controlled trial ในผู้ป่วย chronic angina ที่แสดงอาการ 823 ราย แบ่งศึกษา 3 กลุ่มโดยได้รับ ranolazine ขนาด 750 mg, 1,000 mg หรือยาหลอกวันละ 2 ครั้ง และให้ผู้ป่วยออกกำลังกายในเครื่องออกกำลังกาย (treadmill exercise) ภายหลังจากที่ได้รับยา 4 และ 12 ชั่วโมง ซึ่งเป็นเวลาที่ระดับยาในเลือดสูงสุด (peak) และต่ำสุด (trough) ในช่วง therapeutic range ของ ranolazine ประเมินการรักษาที่ 2, 6 และ 12 สัปดาห์ของการรักษา





จากการศึกษาพบว่าในกลุ่มที่ได้รับ ranolazine ทั้ง 2 ขนาดมีช่วงเวลาการออกกำลังกายเพิ่มขึ้น 115.6 วินาที (pooled) เทียบกับ 91.7 วินาทีในกลุ่มยาหลอกที่ระดับยา trough level (P=0.01) เวลาที่เกิดอาการปวดเค้นยาวนานด้วยเช่นกัน และที่ระดับยา peak level ช่วงเวลาต่าง ๆ ยาวนานมากกว่าที่ระดับ trough level แต่สำหรับเวลาที่แสดงคลื่นไฟฟ้าหัวใจเกี่ยวกับภาวะขาดเลือดเฉพาะที่ peak level เท่านั้นที่เพิ่มยาวนานมากขึ้นเมื่อเทียบกับยาหลอก ในขณะที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับความดันโลหิต, อัตราการเต้นหัวใจ ตลอดจนยาเดิมที่ใช้ในช่วง 12 สัปดาห์ของการรักษา





ranolazine ยังลดการเกิด angina attack และลดปริมาณการใช้ nitroglycerin ต่อสัปดาห์เมื่อเทียบกับยาหลอก (P<0.02) นอกจากนี้ survival rate ของผู้ป่วย 750 รายที่ได้รับ ranolazine ในระหว่างการศึกษา CARISA และใน long-term open label study ภายหลังได้รับยาหลอกในการศึกษา CARISA เป็นร้อยละ 98.4 ในปีแรกและร้อยละ 95.9 ในปีที่ 2 ตามลำดับ ส่วนอาการไม่พึงประสงค์ที่พบบ่อยในกลุ่ม ranolazine ได้แก่ ท้องผูก, มึนงง, คลื่นไส้และอ่อนเปลี้ย

 
คลิปความรู้เรื่องยา

EP.4 ยาอันตรายควบคุม (Controlled dangerous drugs)

ดูคลิปทั้งหมด

ข่าวยาล่าสุด
    ดูข่าวยาทั้งหมด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้