Comparison of Three Insulin Regimens
ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 3 เดือน พฤศจิกายน ปี 2552 -- อ่านแล้ว 2,048 ครั้ง
จากการศึกษาชื่อ “4-T” ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากบริษัทผู้ผลิตอินซูลินได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับผลของการใช้อินซูลิน 3 regimen ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โดยนักวิจัยทำการสุ่มผู้ป่วยทั้งหมด 708 รายที่กำลังรับประทานยา metformin และ sulfonylurea ร่วมกัน โดยมีค่าระดับ glycosylated hemoglobin [HbA1c] อยู่ที่ 7%–10% ให้ได้รับอินซูลินหนึ่งในสาม regimen เพิ่มเติม ดังนี้
1. Once-daily basal insulin detemir (Levemir)
2. Twice-daily biphasic insulin aspart (NovoMix 30)
3. Thrice-daily prandial insulin aspart (NovoRapid)
ระหว่างการทำการศึกษา หากระดับ HbA1c ของผู้ป่วยรายใดในทั้ง 3 กลุ่มยังคงสูงกว่า 6.5% แม้จะทำการปรับเพิ่มปริมาณอินซูลินไปแล้ว ผู้ป่วยจะได้รับการเพิ่มอินซูลินตัวที่สองและหยุดรับประทาน sulfonylurea โดยผู้ป่วยในกลุ่ม regimen ที่ 1 จะเพิ่มการฉีดอินซูลินหลังมื้ออาหาร 3 มื้อ ในกลุ่ม regimen ที่ 2 จะเพิ่มการฉีดอินซูลินหลังอาหารมื้อเที่ยง และในกลุ่ม regimen ที่ 3 จะเพิ่มการฉีด basal insulin ซึ่งผลการศึกษาที่เวลา 1 ปีได้รับการรายงานไปแล้วในปี 2007 ส่วนในปี 2009 ผู้ทำการวิจัยได้รายงานผลการศึกษาในปีที่ 3 ดังนี้ คือ
- ระดับ HbA1c ในผู้ป่วยทั้ง 3 กลุ่มมีค่าพอๆกัน (ประมาณ 7%)
- น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ยในกลุ่ม regiment ที่ 1 (ประมาณ 3.6 กิโลกรัม) ต่ำกว่ากลุ่มอื่นๆ (ประมาณ 6 กิโลกรัม)
- การเกิด hypoglycemia จะพบได้น้อย ในกลุ่ม regimen ที่ 1 และพบได้มากในกลุ่ม regimen ที่ 3
นักวิจัยสรุปว่าการเพิ่ม basal insulin วันละครั้ง ในผู้ป่วยที่รับประทานยาลดระดับน้ำตาลในเลือด และการเพิ่มเติมการฉีด insulin หลังมื้ออาหารในกรณีที่จำเป็นนั้นมีประโยชน์ในการควบคุมระดับน้ำตาลในกระแสเลือดเพิ่มเติมในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 แม้ว่าข้อสรุปดังกล่าวจะดูสมเหตุสมผล แต่อาจจำเป็นต้องพิจารณาข้อมูลจากการศึกษาในปี 2008 ที่แสดงให้เห็นว่าการควบคุมระดับน้ำตาลอย่างเข้มงวด (intensive glycemic control) ไม่ได้ทำให้ outcome ของผู้ป่วยดีขึ้น ร่วมด้วย