หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Chewable aspirin ดูดซึมได้เร็วกว่าและให้ผลการรักษาดีกว่า Regular aspirin

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 3 เดือน พฤษภาคม ปี 2552 -- อ่านแล้ว 3,328 ครั้ง
 
รายงานผลการวิจัยทางคลินิกโดย ดร. Sean Nordt และคณะ ซึ่งทำการทดลองแบบไขว้ (crossover study with 7-days washout period) เพื่อศึกษาผลของการให้ยาแอสไพรินขนาดสูง (supratherapeutic dose) 1,950 mg ในรูปแบบของยาเม็ดแบบกลืน (solid-swallowed) แบบเคี้ยวแล้วกลืน (chewed-and-swallowed) และแบบเคี้ยว (chewable) เปรียบเทียบกัน ในอาสาสมัครสุขภาพดี อายุเฉลี่ย 31 ปี จำนวน 14 ราย และพบว่า เมื่อให้ยาแอสไพริน (ภายหลังการงดอาหาร 6 ชั่วโมง) chewable aspirin จะถูกดูดซึมได้ดีและรวดเร็วกว่า regular aspirin ทั้งนี้จากการตรวจวัดระดับยาแอสไพรินในกระแสเลือด (mean peak concentrations) ที่เวลา 3 ชั่วโมง ซึ่งมีค่าเท่ากับ 10.4, 11.3 และ 12.2 mg/dL สำหรับ solid-swallowed, chewed-and-swallowed และ chewable ตามลำดับ นอกจากนี้ ยังสามารถตรวจพบ salicylate ในกระแสเลือดของอาสาสมัครทุกคนที่ได้รับ chewable aspirin ที่เวลา 45 นาที หลังให้ยา แต่ตรวจพบ salicylate ได้เพียง 8 ราย และ 13 ราย ที่เวลา 60 นาที เมื่อได้รับยา solid-swallowed และ chewed-and-swallowed aspirin

การศึกษาครั้งนี้ให้ข้อสรุปที่สอดคล้องกันกับแนวทางการรักษา Acute Coronary Syndrome (ACS) ในปัจจุบันโดย AHA และ ACA ซึ่งแนะนำว่า ยาแอสไพรินแบบเคี้ยว เป็นทางเลือกในการให้ยาแก่ผู้ป่วยที่ดีที่สุด อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องติดตามการศึกษาทางคลินิกเพิ่มเติม เพื่อยืนยันประสิทธิภาพของยาในการรักษาผู้ป่วย ACS
 
คลิปความรู้เรื่องยา

EP.4 ยาอันตรายควบคุม (Controlled dangerous drugs)

ดูคลิปทั้งหมด

ข่าวยาล่าสุด
    ดูข่าวยาทั้งหมด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้