หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

TOP2A และ HER2 ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมและการตอบสนองต่อยา anthracyclines

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 2 เดือน พฤษภาคม ปี 2552 -- อ่านแล้ว 3,850 ครั้ง
 
anthracyclines ยาที่ใช้ในการรักษามะเร็งเต้านม (adjuvant therapy) ที่ให้ประสิทธิภาพสูงสุดและมีการใช้ยากันอย่างแพร่หลายทั่วโลกเกือบ 30 ปี กำลังเป็นประเด็นสำคัญของการโต้แย้งที่ยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้ในปัจจุบัน ทั้งนี้เป็นผลสืบเนื่องจากรายงานผลการวิจัยส่วนหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยบางรายอาจไม่ได้รับประโยชน์จากการใช้ยานี้เท่าที่ควร (ดังตัวอย่างจากผลงานวิจัยล่าสุดโดย Dr.Pritchard และคณะ ซึ่งทำการศึกษาแบบย้อนหลัง แล้วพบว่าผู้ป่วยจำนวนมากถึงร้อยละ 70-80 ไม่ตอบสนองต่อยา) แต่ในขณะเดียวกัน ผลงานวิจัยอีกส่วนหนึ่งกลับพบว่าผู้ป่วยมะเร็งเต้านมตอบสนองต่อยา anthracycline ได้ดี งานวิจัยเหล่านี้ให้ผลขัดแย้งกันค่อนข้างมาก แพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขาก็มีความเห็นต่อประเด็นดังกล่าวแตกต่างกัน

ทีมผู้วิจัย นำโดย Dr.Pritchard เชื่อว่า topoisomerase II alpha (TOP2A) และ human epidermal growth-factor receptor type 2 (HER2) เป็นยีนที่มีบทบาทสำคัญต่อการตอบสนองต่อยา anthracycline ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ซึ่งเห็นได้จากผลการศึกษาที่พบว่า ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ตอบสนองต่อยา anthracycline ได้ดีนั้น คือผู้ป่วยที่มีก้อนเนื้องอกซึ่งตรวจพบการเปลี่ยนแปลงของ TOP2A หรือมีการเพิ่มจำนวนของ HER2 พบได้แค่เพียง 18% และ 27% ของจำนวนผู้ป่วยทั้งหมดที่เข้าร่วมในงานวิจัย ส่วนผู้ป่วยที่เหลืออีกจำนวนมาก กว่า 70% ที่ไม่ตอบสนองต่อยานี้ (ไม่มี TOP2A alterations หรือ HER2 amplifications) ก็ควรจะเปลี่ยนไปใช้ยาในสูตรอื่นที่มีความเป็นพิษน้อยกว่า อย่างไรก็ตาม การศึกษาถึงความสัมพันธ์ของยีนทั้งสองต่อการตอบสนองต่อการรักษาในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมโดย Dr.Bartlett และคณะ กลับให้ผลที่ขัดแย้ง โดยพบว่าผู้ป่วยที่ไม่มี HER2 amplification ตอบสนองต่อยา anthracycline ได้ดีกว่า ขณะที่ TOP2A ไม่มีผลใดๆ ต่อการตอบสนองต่อยา

โดยสรุป การตรวจหา TOP2A, HER2 หรือ chromosome 17 polysomy (biomarker ตัวใหม่ซึ่งกำลังเป็นที่สนใจ) เพื่อทำนายผลการรักษาหรือการตอบสนองต่อยา anthracycline ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมนั้น ยังคงเป็นไปไม่ได้ในทางปฏิบัติ ด้วยข้อจำกัดหลายประการ การรักษาผู้ป่วยมะเร็งเต้านมจึงควรเป็นไปตามมาตรฐานแนวทางเดิม จนกว่าจะมีข้อสรุปที่ชัดเจนหรือหลักฐานยืนยันหนักแน่นมากกว่าที่มีอยู่ในปัจจุบัน
 
คลิปความรู้เรื่องยา

EP.2 เกลือแร่สำหรับท้องเสีย ORS (Oral Rehydration Salts)

ดูคลิปทั้งหมด

ข่าวยาล่าสุด
    ดูข่าวยาทั้งหมด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้