หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

การให้ยา fluticasone ointment ในผู้ป่วยเด็ก atopic dermatitis ได้ผลดีและมีความปลอดภัย

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 1 เดือน มีนาคม ปี 2552 -- อ่านแล้ว 3,460 ครั้ง
 
ยาที่ใช้เพื่อการรักษาภาวะผิวหนังอักเสบ (atopic dermatitis) ในเด็กปัจจุบันนี้ ช่วยให้อาการดีขึ้นแค่เพียงระยะเวลาสั้นๆ ช่วงหนึ่ง แต่ไม่สามารถควบคุมอาการของโรคในระยะยาวได้ อย่างไรก็ตาม ผลงานวิจัยล่าสุดโดย Dr. Oranje และคณะ ค้นพบว่าการให้ยา fluticasone ในผู้ป่วยเด็กเหล่านี้ให้ผลเป็นที่น่าพอใจทั้งในด้านประสิทธิภาพและความปลอดภัย

Dr. Oranje และคณะ ศึกษาประสิทธิภาพและความปลอดภัยของยา fluticasone ในผู้ป่วยเด็กอายุระหว่าง 4-10 ขวบ จำนวน 90 คน ที่มีภาวะผิวหนังอักเสบรุนแรงตั้งแต่ระดับปานกลางขึ้นไป และต้องเข้ารับการรักษาเพราะมีอาการกำเริบ (exacerbation) โดยเริ่มต้นจากการให้ยา fluticasone propionate 0.005% ointment วันละ 2 ครั้ง แก่เด็กทุกราย ในช่วง acute treatment phase เป็นเวลานาน 4 สัปดาห์ จนอาการดีขึ้นและเริ่มเข้าสู่ระยะสงบของโรค (remission) หลังจากนั้น ในช่วง maintenance phase จึงแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม โดยการสุ่ม ให้ได้รับ fluticasone (n=39) หรือ placebo ointment (n=36) สัปดาห์ละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 16 สัปดาห์ (ผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มได้รับ standard emollient วันละ 2 ครั้ง เช่นเดียวกัน) และประเมินผลโดยใช้เกณฑ์ของ SCORAD

จากเด็กทั้งหมด 90 คน มีเด็ก 87 คน ที่ผ่านช่วง 4-wk acute phase โดยมีอาการดีขึ้นและเข้าสู่ระยะสงบ 78 คน และเข้ารับการรักษาต่อในช่วง maintenance phase จำนวน 75 คน เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ป่วยเด็กในกลุ่มที่ได้รับยาหลอก จะเห็นว่า เด็กที่ได้รับยา fluticasone นั้นมีอาการดีขึ้นมากกว่า และมีโอกาสการกลับเป็นซ้ำ (relapse) น้อยกว่า [median time to relapse of atopic dermatitis : placebo = 2.6 wk, fluticasone > 16 wk] นอกจากนี้ ยังพบว่าผู้ป่วยที่ได้รับยาหลอกมีความเสี่ยงสูงต่อการกำเริบของอาการ (exacerbation) มากกว่ากลุ่มที่ได้รับยา fluticasone กว่า 2 เท่าตัว [hazard ratio = 2.182]

fluticasone จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง (นอกเหนือจาก steroid-sparing) สำหรับเด็กที่มีภาวะผิวหนังอักเสบและจำเป็นต้องให้ยาสเตียรอยด์ติดต่อกันเป็นเวลานาน เพราะนอกจากจะช่วยให้อาการดีขึ้น ลดโอกาสการกลับเป็นซ้ำแล้ว ยังช่วยควบคุมอาการของโรคไม่ให้กำเริบขึ้นได้อีกในระยะยาว (long-term maintenance treatment)

 
คลิปความรู้เรื่องยา

EP.1 ยาคุมฉุกเฉิน Emergency contraceptive pills

ดูคลิปทั้งหมด

ข่าวยาล่าสุด
    ดูข่าวยาทั้งหมด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้