หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

การให้ยาป้องกันอาการปวดศีรษะสามารถลดความทุกข์ทรมานจากอาการปวดศีรษะที่เกิดจากการใช้ยาเกินความจำเป็น

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 4 เดือน กุมภาพันธ์ ปี 2552 -- อ่านแล้ว 1,460 ครั้ง
 
การให้ยาป้องกันอาการปวดศีรษะมีประสิทธิภาพดีกว่าการหยุดยาที่เป็นสาเหตุของอาการปวดศีรษะในผู้ป่วยอาการปวดศีรษะที่เกิดจากการใช้ยาเกินความจำเป็น Hagen และคณะทำการศึกษาแบบสุ่มในผู้ป่วย 56 รายที่มีอาการปวดศีรษะอย่างน้อย 15 วันต่อเดือนเป็นเวลาอย่างน้อย 3 เดือนร่วมกับการใช้ยาบรรเทาอาการปวดศีรษะได้แก่ ยา ergots triptans opioids หรือยาเหล่านี้ในสูตรผสม ยาบรรเทาอาการปวดที่มีส่วนผสมของ caffeine อย่างน้อยเป็นเวลา 10 วันต่อเดือนและยาบรรเทาปวดชนิดอื่นๆอย่างน้อย 15 วันต่อเดือนเป็นเวลา 3 เดือน ตัวใดตัวหนึ่งหรือร่วมกันโดยทำการรักษาผู้ป่วยด้วยการสุ่มแบ่งผู้ป่วยเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มแรกรักษาโดยการให้หยุดยาที่เป็นสาเหตุของอาการปวดศีรษะ กลุ่มที่สองทำการรักษาโดยการให้ยาป้องกันอาการปวดศีรษะได้แก่ ยากลุ่ม angiotensin II blockers beta blockers valproate และ tricyclic antidepressant และกลุ่มควบคุมซึ่งไม่ได้รับการรักษาทั้งสองแบบ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาแบบหยุดยาที่เป็นสาเหตุมีการใช้ยาเพื่อรักษาอาการปวดศีรษะแบบเฉียบพลันลดลงต่อเดือนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมที่เดือนที่ 3 และ 5 (p < 0.001) ขณะที่เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาโดยการให้ยาป้องกันอาการปวดศีรษะและกลุ่มควบคุมและกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาแบบหยุดยาที่เป็นสาเหตุและกลุ่มควบคุม ไม่พบความแตกต่างในทั้งสองกลุ่ม กลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาโดยการให้ยาป้องกันอาการปวดศีรษะมีการจำนวนวันที่มีอาการปวดศีรษะลดลงมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนได้รับการรักษา โดยเดือนที่ 12 ผู้ป่วยร้อยละ 53 และ 25 ของผู้ป่วยกลุ่มที่ได้รับการรักษาโดยการให้ยาป้องกันอาการปวดศีรษะและกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาแบบหยุดยาที่เป็นสาเหตุ ตามลำดับ มีจำนวนวันที่มีอาการปวดศีรษะลดลง (p = 0.081) กลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาโดยการให้ยาป้องกันอาการปวดศีรษะมีจำนวนวันที่ปราศจากอาการปวดศีรษะและมีคะแนนคุณภาพชีวิตทางด้านกายภาพเพิ่มขึ้นมากที่สุดในผู้ป่วยทั้ง 3 กลุ่ม เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนเข้ารับการรักษา นอกจากนี้ยังมีดรรชนีความปวดศีรษะต่อเดือน (ซึ่งคิดจากผลรวมของจำนวนวันที่มีอาการปวดศีรษะต่อเดือน ความเปลี่ยนแปลงของจำนวนวันที่ปราศจากอาการปวดศีรษะก่อนเข้ารับการรักษา อาการวิตกกังวลและซึมเศร้าและคะแนนความเปลี่ยนแปลงที่ได้จากแบบสอบถามคุณภาพชีวิต) ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเทียบกับกลุ่มผู้ป่วยที่ทำการรักษาโดยหยุดยาที่เป็นสาเหตุของอาการปวดศีรษะที่เดือนที่ 3 จากการศึกษาสรุปได้ว่าการให้ยาป้องกันอาการปวดศีรษะโดยไม่หยุดยาที่เป็นสาเหตุของอาการปวดศีรษะสามารถลดความทุกข์ทรมานจากอาการปวดศีรษะได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าการหยุดยาที่เป็นสาเหตุของอาการปวดศีรษะนั้น
 
คลิปความรู้เรื่องยา

EP.4 ยาอันตรายควบคุม (Controlled dangerous drugs)

ดูคลิปทั้งหมด

ข่าวยาล่าสุด
    ดูข่าวยาทั้งหมด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้