Eicosapentaenoic Acid ในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองตีบซ้ำ
ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 2 เดือน กรกฎาคม ปี 2551 -- อ่านแล้ว 3,621 ครั้ง
การให้ eicosapentaenoic acid (EPA) เสริมกับการได้รับยากลุ่ม statin ขนาดต่ำในผู้ป่วย Cholesterol สูง ไม่พบว่าช่วยลดอุบัติการณ์ของการเกิดหลอดเลือดสมอง (stroke) ในผู้ป่วยที่ยังไม่เคยเกิด stroke มาก่อน แต่กลับสามารถลดอัตราการกลับเป็นซ้ำของการเกิด stroke ได้
จากการศึกษาใน JELIS (Japan EPA Lipid Intervention Study) ซึ่งเป็นการศึกษาแบบ prospective, randomized, open-label trial ในผู้ป่วย hypercholesterolemia (ระดับ cholesterol อย่างน้อย 6.5 mmol/L) ผู้ป่วยที่เข้าร่วมในการศึกษานี้จะได้รับ statin ในขนาดต่ำ (pravastatin 10 mg หรือ simvastatin 5 mg วันละครั้ง) อย่างเดียว หรือ ร่วมกับ highly purified EPA ethyl ester 1800 mg ต่อวัน เป็นระยะเวลาประมาณ 5 ปี กลุ่มที่ได้รับ EPA จำนวน 9,326 คน มีประวัติของ stroke 485 คน และในกลุ่มที่ไม่ได้รับ EPA จำนวน 9,319 คน มีประวัติของ stroke 457 คน Dr. Kortaro Tanaka และคณะพบว่า อัตราการเกิด stroke ในครั้งแรกในกลุ่มที่ได้รับ EPA และ ไม่ได้รับ EPA เป็น 1.3% และ 1.5% ตามลำดับซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ อย่างไรก็ตามพบอัตราการเกิดหลอดเลือดสมองตีบซ้ำในกลุ่มที่ได้รับ EPA และ ไม่ได้รับ EPA เป็น 6.8% และ 10.5% ตามลำดับ(p = 0.047) ซึ่งกลไกยังไม่ชัดเจน อย่างไรก็ตามอาจเนื่องจาก EPA มี antihyperlipidemic, antiplatelet, anti-inflammatory และ antiarrhythmic effects
จากการศึกษานี้ผู้วิจัยสรุปว่า EPA มีประโยชน์ในการป้องกันการกลับเป็นซ้ำของ stroke ในคนญี่ปุ่นซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับคนเชื้อชาติอื่นได้