Azithromycin อาจเป็น first choice รักษา CAP ในผู้ป่วย
ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 4 เดือน พฤศจิกายน ปี 2546 -- อ่านแล้ว 13,126 ครั้ง
มีรายงานการศึกษาก่อนหน้านี้ถึงการรักษา CAP (community-acquired pneumonia) ในผู้สูงอายุที่ให้ประสิทธิภาพดี เป็นการใช้ยาปฏิชีวนะกลุ่ม cephalosporin รวมกับกลุ่ม macrolide (emprical therapy) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง azithromycin ซึ่งให้แบบ short course (3 วัน)
Sanchez F และคณะได้ศึกษาถึงการรักษา CAP โดยใช้ combined therapy ceftriaxone กับ azithromycin (3 วัน) และ clarithromycin (10 วัน) ในผู้ป่วย 683 รายที่สเปน โดยทำเป็นการศึกษาแบบเปิด ในช่วงปี 1997-2000 โดยใช้เกณฑ์ PORT (Pneumonia Patient Outcomes Research Team) study ประเมินความรุนแรงของโรคไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญเช่นเดียวกับการเกิด bacteremia ในทั้งสองกลุ่ม ขณะที่อัตราการตายต่ำกว่าประมาณ 3% และช่วงการอยู่โรงพยาบาลสั้นกว่าประมาณ 2 วัน ในกลุ่มที่ได้ azithromycin (n=383) เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้ clarithromycin (n=220)
ทีมผู้ทำการศึกษาระบุถึงความลำเอียง (bias) ในการศึกษานี้ได้แก่ การเลือกใช้ยากลุ่ม macrolide ของแพทย์ จึงมีการตรวจสอบความเหมือนและความสามารถในการเปรียบเทียบกับของการรักษาทั้ง 2 แบบ (ceftriaxone & clarithromycin และ ceftriaxone & azithromycin) มีการประมาณการ severity variable และการพบ chronic underlying disease ต่ำกว่าที่ควรจะเป็น และประเมินผู้ป่วยทุกรายตามเกณฑ์ PORT Study
อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษาสนับสนุนการรักษาผู้ป่วย CAP ที่ไม่ต้อง admit ในโรงพยาบาล อาจขึ้นกับการใช้ยากลุ่ม macrolide ร่วมกับกลุ่ม cephalosporin ด้วย เหตุผลเหล่านี้ได้แก่ CAP อาจเกิดจากเชื้อได้หลายตัวในเวลาเดียวกันไม่สามารถระบุทันทีว่าเป็นชนิดใด, ฤทธิ์ anti-inflammatory ของ macrolide อาจมีผล outcome ของการศึกษา CAP, สมบัติทางเภสัชจลนศาสตร์ของ azithromycin ที่ผ่าน lower respiratory tract ดีกว่า macrolide ตัวอื่น ๆ มีผลต่อ complicance และการใช้ azithromycin ให้ผลที่ดีในผู้สูงอายุที่เป็น mild CAP