หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Rosuvastatin ในผู้ป่วย systolic heart failure

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 2 เดือน พฤศจิกายน ปี 2550 -- อ่านแล้ว 2,519 ครั้ง
 
แม้ว่าจำนวนของผู้ป่วย heart failure ที่มีสาเหตุจากการทำงานของหัวใจห้องล่างซ้ายไม่ดี จะมีโรคหลอดเลือดหัวใจ coronary แต่พบอัตราการเกิด MI ได้ต่ำจากการศึกษาก่อนหน้านี้ นอกจากนี้ยังพบว่าโดยทั่วไปแล้วผู้ป่วยมีระดับ cholesterol ที่ต่ำ แต่ผู้ป่วยกับมีผลลัพธ์ที่แย่ลง ซึ่งอาจเกิดจากการที่ lipoprotein มีผลในการลด endotoxins ในผู้ป่วย heart failure นอกจากนี้ statin อาจเป็นอันตรายในผู้ป่วยเหล่านี้จากที่มันมีผลลดการสร้าง coenzyme Q10 ซึ่งมีผลต่อการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจจากการที่ Statin มีผลดีต่อ endothelial function และฤทธิ์ในการต้านการอักเสบ อาจมีประโยชน์ในผู้ป่วย heart failure ที่อาจมีสาเหตุมาจาก acute coronary syndrome ซึ่งทำให้เกิด sudden death จากการที่หัวใจไม่บีบตัว ดังนั้นผลของ statin ในผู้ป่วยกลุ่มนี้ยังไม่ชัดเจน ในการศึกษานี้ได้คัดเลือกผู้ป่วยจำนวน 5011 คน มีอายุอย่างน้อย 60 ปี เป็น systolic heart failure, NYHA class II,III หรือ IV ถูกสุ่มให้ได้รับ rosuvastatin ขนาด 10 mg. วันละครั้ง หรือยาหลอก โดย primary outcome ของการศึกษา คือ การเสียชีวิตจาก cardiovascular cause, nonfatal myocardial infraction หรือ nonfatal stroke ผลจากการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยกลุ่มที่ได้ rosuvastatin มีระดับของ LDL-cholesteral และ C-reactive protein ต่ำกว่ากลุ่มที่ได้ยาหลอกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนของ primary outcome เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่ได้ rosuvastatin กับยาหลอกพบ hazard ratio เท่ากับ 0.92 ; 95% CI = 0.83-1.02 (p=0.31) ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติใน coronary outcome หรือการเสียชีวิตที่มีสาเหตุจากโรคหัวใจและหลอดเลือด อย่างไรก็ตามกลุ่มที่ได้ rosuvastatin มีอัตราการรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลจาก cardiovascular causes ต่ำกว่ากลุ่มที่ได้ยาหลอก และไม่พบว่ามีเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์เพิ่มขึ้นในกลุ่มที่ได้ rosuvastatin สรุปว่า rosuvastatin ไม่มีผลลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วย systolic heart failure จากการศึกษานี้
 
คลิปความรู้เรื่องยา

EP.4 ยาอันตรายควบคุม (Controlled dangerous drugs)

ดูคลิปทั้งหมด

ข่าวยาล่าสุด
    ดูข่าวยาทั้งหมด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้