ประสิทธิภาพและความปลอดภัยของสายสวนหลอดเลือดที่มีส่วนประกอบของยา(Drug-Eluting Stents)
ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 2 เดือน ตุลาคม ปี 2550 -- อ่านแล้ว 13,321 ครั้ง
การใส่สายสวนหลอดเลือดชนิดเคลือบยา(Drug-Eluting Stents)นั้นสามารถลดลดความต้องการในการทำ revascularization เนื่องจากการเกิดหลอดเลือดตีบซ้ำ (restenosis) หลังจากการขยายหลอดเลือดหัวใจ percutaneous coronary intervention (PCI) ได้ อย่างไรก็ตามมีรายงานในการเพิ่มขึ้นของการเกิดก้อนลิ่มเลือดอุดตันและความเป็นไปได้ในการเกิด myocardial infarction (MI) และการเสียชีวิตหลังจากการทำ PCI แม้ว่าจะมีการใช้ยา aspirin และ clopidogrel ซึ่งประโยชน์ในการใช้ Drug-Eluting Stents นั้นยังไม่ชัดเจน ในการศึกษานี้ได้เก็บข้อมูลจาก Ontario ประเทศ Canada ระหว่างเดือนธันวาคม พ.ศ. 2546 ถึง มีนาคม พ.ศ. 2548 โดยการศึกษาเป็นแบบ cohort ทำการเปรียบเทียบผลลัพธ์ในผู้ป่วยที่ได้รับการใส่ขดลวดชนิดเคลือบยาและไม่เคลือบยา โดย primary outcome คือ อัตราการทำ target-vessel revascularization, การเกิด MI และการเสียชีวิต ผลการศึกษาพบว่าอัตราการทำ target-vessel revascularization ในระยะเวลา 2 ปีของผู้ป่วยที่ใส่ขดลวดชนิดเคลือบยาต่ำกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.001) ซึ่งมีความสัมพันธ์กับในกลุ่มที่มีปัจจัยเสี่ยง 2 หรือ 3 อย่างในการเกิด restenosis (เบาหวาน, small vessel และ long lesion) คือในกลุ่มผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง และ อัตราการเสียชีวิตหลังจากติดตามไปเป็นเวลา 3 ปี พบว่าในกลุ่มที่ใส่ขดลวดชนิดที่ไม่เคลือบยาพบได้สูงกว่าในกลุ่มผู้ป่วยที่ใส่ขดลวดชนิดเคลือบยา ในขณะที่อัตราการเกิด MI ใน 2 ปี ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่าง 2 กลุ่ม จากการศึกษาสามารถสรุปได้ว่า Drug-Eluting Stents มีประสิทธิภาพมากกว่าในการลด target-vessel revascularization ในผู้ป่วยกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงในการเกิด restenosis โดยที่ไม่มีผลเพิ่มอัตราการเสียชีวิตหรือการเกิด MI อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ