การรักษาด้วยฮอร์โมนเอสโตรเจนกับการเกาะของแคลเซียมที่หลอดเลือดหัวใจโคโรนารี
ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 1 เดือน กรกฎาคม ปี 2550 -- อ่านแล้ว 2,906 ครั้ง
การเกาะของแคลเซียมในหลอดเลือดหัวใจโคโรนารีเป็นตัวบ่งบอกถึงการเกิดหลอดเลือดแดงแข็งและใช้ทำนายการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในอนาคต จากการศึกษาเมื่อไม่นานมานี้ของการใช้ conjugated estrogen ในผู้หญิงหลังหมดประจำเดือนที่ตัดมดลูกแล้วพบว่า hazard ratio ในการเกิด nonfatal MI และ การตายจากโรคหัวใจโคโรนารี่เป็น 0.95 เมื่อเปรียบเทียบกับยาหลอกแต่ผลจากการวิเคราะห์ตามกลุ่มอายุกลับให้ผลที่แตกต่างกัน ซึ่งพบว่าการใช้ estrogen ในกลุ่มผู้หญิงอายุระหว่าง 50-59 ปี สามารถลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจโคโรนารี่ ดังนั้นเพื่อที่จะหาความสัมพันธ์ของการใช้ estrogen กับการเกิดโรคหัวใจโคโรนารี่ในผู้หญิงอายุน้อย จึงได้มีการทำการศึกษาแบบ randomized control trial ในผู้หญิงจำนวน 1064 คน อายุ 50-59 ปี ระยะเวลาในการศึกษาเฉลี่ย 7.4 ปี
ผลการศึกษาในผู้หญิงจำนวน 1064 คนโดยประเมินจาก coronary artery calcium scores พบว่าค่าเฉลี่ยของคะแนนเท่ากับ 83.1 ในกลุ่มที่ได้รับ conjugated estrogen และเท่ากับ 123.1 ในกลุ่มที่ได้รับยาหลอกซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P=0.02) และเมื่อทำการวิเคราะห์อุบัติการณ์ของการเกิด coronary artery calcium พบว่าค่า odd ratio ของ coronary artery calcium scores ในกลุ่มที่มากกว่า 0 เปรียบเทียบกับ 0(no calcification), 10 หรือมากกว่า เปรียบเทียบกับค่าที่น้อยกว่า 10 (minimal calcification), และ 100 หรือมากกว่า เปรียบเทียบกับค่าที่น้อยกว่า 100 (10-100 = mild calcification) ของกลุ่มที่ได้รับ estrogen เปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอกโดยค่า odd ratio มีค่าเท่ากับ 0.78, 0.74 และ 0.69 ตามลำดับ และในกลุ่มผู้ป่วยที่มีค่า adherence อย่างน้อยร้อยละ 80 ค่า odd ratio ลดลงเล็กน้อย คือ 0.64, 0.55 และ 0.46 ตามลำดับ และสำหรับกลุ่มที่ coronary artery calcium scores มากกว่า 300 (extensive calcification) เปรียบเทียบกับค่าที่น้อยกว่า 10 ค่า odd ratio เท่ากับ 0.58(P=0.03) และเท่ากับ 0.39(P=0.004) ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีค่า adherence อย่างน้อยร้อยละ 80 จากการศึกษาสามารถสรุปได้ว่าการเกิดมีแคลเซียมเกาะที่หลอดเลือดหัวใจโคโรนารีในผู้หญิงอายุ 50-59 ปีที่ได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจนมีอุบัติการณ์ลดลงกว่ากลุ่มที่ได้รับยาหลอก อย่างไรก็ตามผลของ ฮอร์โมนเอสโตรเจนในการเกิด atherosclerosis ในกลุ่มผู้หญิงที่อายุน้อยยังคงต้องการการศึกษาต่อไป