หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ประสิทธิผลและความปลอดภัยของ Thalidomide ในการรักษา recurrent epithelial ovarian และ peritoneal carci

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 3 เดือน มีนาคม ปี 2549 -- อ่านแล้ว 7,085 ครั้ง
 
Thalidomide ใช้รักษามะเร็งได้หลายชนิด เช่น melanoma, multiple myeloma, renal cell และมะเร็งรังไข่ กลไกการออกฤทธิ์เชื่อว่า เกิดจากการยับยั้ง tumor necrosis factor alpha (THF-), vascular endothelial growth factor และ/หรือ basic fibroblast growth factor 2 ที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของเซลมะเร็ง ทั้งยังมีบทบาทเกี่ยวข้องกับการปรับภูมิคุ้มกัน, การทำลาย DNA จากอนุมูลอิสระ และการส่งสัญญาณที่ก่อให้เกิดการตายของเซลด้วย

การศึกษาใน Phase I แบบ open-labeled, single center, phase I dose escalation study ที่ทำระหว่างเดือนสิงหาคม 1998 ถึงตุลาคม 2000 ในผู้ป่วยหญิง 17 คนที่เป็นมะเร็งรังไข่ประเภทกลับเป็นซ้ำอีกหรือดื้อต่อการรักษาเดิม หรือมะเร็งเยื่อบุช่องท้องระยะแรก ที่เคยรักษาด้วยยาเคมีบำบัดอื่นอย่างน้อย 1 ชนิดแล้วไม่ได้ผล เมื่อผู้ป่วยรับประทานยา thalidomide วันละ 4 ครั้ง ขนาดยาเริ่มต้นคือวันละ 100 มิลลิกรัม และเพิ่มขนาดยาขึ้นวันละ 100 มิลลิกรัมทุก 2 สัปดาห์ขนาดยาสูงสุดคือวันละ 1200 มิลลิกรัม ให้ยาจนกว่าผู้ป่วยมีอาการกลับเป็นซ้ำอีกหรือทนต่อยาไม่ได้ พบว่า ค่ากึ่งกลางของขนาดยาที่ใช้คือวันละ 200 มิลลิกรัม (100-600 มิลลิกรัม) และค่ากึ่งกลางของระยะเวลาที่ใช้ thalidomide คือ 10 เดือน (2-48 เดือน) ซึ่งผู้ป่วย 13 คนใน 17 คนที่รับประทานยาต่อเนื่องน้อยที่สุด 6 เดือน หลังจากการรักษาไปแล้ว 6 เดือน มีผู้ป่วย 3 คน (ร้อยละ 18) ที่ตอบสนองต่อยาได้บางส่วน และ 6 คน (ร้อยละ 35) ที่อาการของโรคคงที่ และหลังจากการรักษาไปแล้ว 12 เดือน มีผู้ป่วย 6 คนใน 9 คนที่ตอบสนองต่อยาได้บางส่วน และ 4 คน ที่อาการของโรคคงที่ อาการข้างเคียงที่พบส่วนใหญ่คือ ท้องผูก (ร้อยละ 76), ระบบประสาททำงานผิดปกติ (ร้อยละ 71) และ เหนื่อยล้า (ร้อยละ 65) และอาการข้างเคียงที่พบว่ารุนแรงระดับ 3 หรือ 4 คือ เกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ (ร้อยละ 12), การพูดผิดปกติ (ร้อยละ 6) และ สับสน (ร้อยละ 6)

Thalidomide จึงเป็นยาที่มีประสิทธิผลและความปลอดภัยในการรักษาผู้ป่วย epithelial ovarian cancer แบบ recurrent และ refractory และผู้ป่วยมีความทนต่อยาได้ดี

 
คลิปความรู้เรื่องยา

EP.1 ยาคุมฉุกเฉิน Emergency contraceptive pills

ดูคลิปทั้งหมด

ข่าวยาล่าสุด
    ดูข่าวยาทั้งหมด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้