หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Single-dose benralizumab (IL-5 receptor inhibitor) มีประสิทธิภาพในการรักษา eosinophilic asthma ถึง 2.5 ปี

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 4 เดือน มิถุนายน ปี 2566 -- อ่านแล้ว 1,580 ครั้ง
 
Benralizumab เป็นยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้ง interleukin (IL)-5 receptor ซึ่งเคยมีการศึกษาถึงประสิทธิภาพระยะสั้น (28 วัน) ในการรักษา eosinophilic asthma มาแล้ว จนล่าสุดเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2023 วารสาร Chest Journal ได้ตีพิมพ์ผลการศึกษาประสิทธิภาพของ benralizumab ในการรักษา eosinophilic asthma ระยะยาว (2.5 ปี) ในผู้ที่มีอายุ 18-80 ปี ที่เป็น eosinophilic asthma ชนิด poorly controlled จำนวน 29 ราย โดยผู้ป่วยได้รับ benralizumab 30 mg ฉีดเข้าใต้ผิวหนังครั้งเดียว (single-dose) โดยติดตามผลการรักษาที่ 28 วัน 1 ปี (จำนวน 16 ราย) และ 2.5 ปี (จำนวน 13 ราย) โดยประเมินประสิทธิผลของยาจาก mucus score ที่แสดงถึงการมีเสมหะอุดในหลอดลม (mucous plug formation) และแบบสอบถามในการประเมินผู้ป่วยเพื่อประเมินการควบคุมโรค (Asthma Control Questionnaire; ACQ-6 score โดย 0 คะแนน หมายถึง ควบคุมดีมาก และ 6 คะแนน หมายถึง ควบคุมได้แย่มาก) ผลการศึกษาพบว่าที่ 28 วันหลังจากได้รับยา ผู้ป่วยมี ACQ-6 score อยู่ที่ 2 คะแนน เทียบกับระยะติดตามที่ 1 ปี พบว่า ACQ-6 score ลดลงเหลือ 0.5±0.6 คะแนน (p=.02; 95%CI, 0.1-1.1) และระยะติดตามที่ 2.5 ปี มี ACQ-6 score ที่ 0.5±0.5 คะแนน (p=.03; 95%CI, 0.1-1.1) ส่วน mucus score ในวันที่ได้รับยา (day 0) อยู่ที่ 3±4 คะแนน เทียบกับระยะติดตามที่ 2.5 ปี มี mucus score ลดลงเหลือ 1±1 คะแนน (p=.03; 95%CI, 0.3-5.5) ทำให้เห็นว่าการใช้ benralizumab เพียงครั้งเดียวมีประสิทธิภาพในการควบคุมอาการของ eosinophilic asthma ในระยะยาว

ทั้งนี้ eosinophil เป็นเม็ดเลือดขาวที่เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาการอักเสบจากภูมิแพ้และมีบทบาทสำคัญในพยาธิกำเนิดและความรุนแรงของโรคทางเดินหายใจอักเสบเรื้อรังรวมถึงโรคหืด (asthma) เรียกภาวะนี้ว่า eosinophilic asthma โดยผู้ป่วยจะมี eosinophils ในปอด ทางเดินหายใจ และเสมหะ ทำให้ทางเดินหายใจอักเสบและไวต่อสิ่งกระตุ้น รวมถึงมีผลทำให้มีการเปลี่ยนแปลงของผนังหลอดลม (airway remodeling) จนเมื่อทางเดินหายใจได้รับสารก่อภูมิแพ้ (allergen) จะเกิดการหลั่ง cytokines ไปกระตุ้นให้ T-helper type 2 (Th2) หลั่ง interleukin-5 (IL-5) ทำให้ IL-5 จับกับ IL-5 receptor บนผิวเซลล์ของ eosinophil จนเกิดพยาธิสภาพของโรคหืด โดย benralizumab เป็น humanized monoclonal antibody ที่ออกฤทธิ์จับกับ IL-5 receptor ส่วน IL-5 antagonist ชนิดอื่น ๆ ได้แก่ mepolizumab (บริหารยาโดยการฉีดเข้าใต้ผิวหนัง) และ reslizumab (บริหารยาโดยการฉีดเข้าหลอดเลือดดำ) จะออกฤทธิ์จับและยับยั้ง IL-5 โดยตรง

เอกสารอ้างอิง

1. Pelaia C, Calabrese C, Vatrella A, et al. Benralizumab: From the Basic Mechanism of Action to the Potential Use in the Biological Therapy of Severe Eosinophilic Asthma. Biomed Res Int. 2018; 2018:4839230.

2. McIntosh MJ, Kooner HK, Eddy RL, et al. CT Mucus Score and 129Xe MRI Ventilation Defects after 2.5-years anti-IL-5Rα in Eosinophilic Asthma [published online ahead of print, 2023 Feb 11]. Chest. 2023; S0012-3692(23)00189-7.

3. Walford HH, Doherty TA. Diagnosis and management of eosinophilic asthma: a US perspective. J Asthma Allergy. 2014; 7:53-65.


คำค้นที่เกี่ยวข้อง:
benralizumab eosinophilic asthma
 
คลิปความรู้เรื่องยา

EP.2 เกลือแร่สำหรับท้องเสีย ORS (Oral Rehydration Salts)

ดูคลิปทั้งหมด

ข่าวยาล่าสุด
    ดูข่าวยาทั้งหมด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้