หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Monoclonal antibodies (mAb) ในปี 2561…ตอนที่ 1

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 4 เดือน มิถุนายน ปี 2561 -- อ่านแล้ว 3,481 ครั้ง
 

ยาประเภท monoclonal antibodies มีบทบาทมากในการช่วยชีวิตผู้ป่วย ปีที่ผ่านมามี monoclonal antibodies ออกวางจำหน่ายหลายชนิดในข้อบ่งใช้ต่างๆ โดยเฉพาะใช้รักษาโรคมะเร็ง สำหรับปี 2561 มียาที่วางจำหน่ายแล้วเท่าที่รวบรวมได้ ได้แก่ burosumab (เป็น human IgG1 monoclonal antibody จับกับ fibroblast growth factor 23 สำหรับรักษา X-linked hypophosphatemia), erenumab (เป็น human IgG2 monoclonal antibody จับกับ calcitonin gene-related peptide receptor สำหรับป้องกันและรักษาโรคปวดศีรษะไมเกรน), ibalizumab (เป็น humanized IgG4 monoclonal antibody จับกับ CD4 ตรง domain 2 สำหรับรักษาการติดเชื้อเอชไอวี) และ tildrakizumab (เป็น humanized IgG1 monoclonal antibody จับกับ IL-23p19 subunit ของ IL-23 สำหรับรักษาโรคสะเก็ดเงิน) ส่วนยาที่อยู่ระหว่างยื่นข้อมูลเพื่อขออนุมัติการจำหน่ายในสหภาพยุโรป และ/หรือ ในประเทศสหรัฐอเมริกา เท่าที่รวบรวมข้อมูลได้ ได้แก่ caplacizumab (เป็น humanized nanobody จับกับ von Willebrand factor สำหรับรักษา acquired thrombotic thrombocytopenic purpura และ thrombosis), emapalumab (เป็น human IgG1 monoclonal antibody จับกับ IFNү สำหรับรักษา primary hemophagocytic lymphohistiocytosis), fremanezumab (เป็น humanized IgG2 monoclonal antibody จับกับ calcitonin gene-related peptide สำหรับป้องกันและรักษาโรคปวดศีรษะไมเกรน), galcanezumab (เป็น humanized IgG4 monoclonal antibody จับกับ calcitonin gene-related peptide สำหรับป้องกันและรักษาโรคปวดศีรษะไมเกรน), lanadelumab (เป็น human IgG1 monoclonal antibody จับกับ plasma kallikrein สำหรับรักษา hereditary angioedema attacks), mogamulizumab (เป็น humanized IgG1 monoclonal antibody จับกับ CC chemokine receptor 4 สำหรับรักษา cutaneous T cell lymphoma ยานี้มีใช้แล้วในประเทศญี่ปุ่น ตั้งแต่ปี 2555 ในข้อบ่งใช้สำหรับรักษา adult T-cell leukemia/lymphoma ต่อมาได้รับข้อบ่งใช้สำหรับรักษา cutaneous T cell lymphoma), risankizumab (เป็น humanized IgG1 monoclonal antibody จับกับ IL-23p19 สำหรับรักษาโรคสะเก็ดเงิน), romosozumab (เป็น humanized IgG2 monoclonal antibody จับกับ sclerostin สำหรับรักษาโรคกระดูกพรุนในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน) และ tanezumab (เป็น humanized IgG2 monoclonal antibody จับกับ nerve growth factor สำหรับบรรเทาอาการปวดจากโรคข้อเสื่อม ปวดหลัง ปวดกระดูกในผู้ป่วยโรคมะเร็ง)

นอกจากนี้ยังมียาในกลุ่ม monoclonal antibodies อีกมากมายที่ขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาหรือเพิ่งสิ้นสุดการศึกษาทางคลินิกระยะที่ 2 หรือระยะที่ 3 ตัวอย่างเหล่านี้ (ไม่รวมยาต้านมะเร็ง) เช่น aducanumab, brolucizumab, crenezumab, crizanlizumab (ดูเพิ่มเติมในตาราง)

อ้างอิงจาก

(1) Kaplon H, Reichert JM. Antibodies to watch in 2018. MAbs 2018;10:183-203; (2) Reichert J. Is R&D of antibody therapeutics for noncancer disases in decline?, April 23, 2018. https://www.antibodysociety.org/is-rd-of-antibody-therapeutics-for-non-cancer-diseases-in-decline/; (3) U.S. Food and Drug Administration. Drug approvals and databases. https://www.fda.gov/Drugs/InformationonDrugs/; (4) European Medicines Agency. Human medicines: regulatory information. http://www.ema.europa.eu/ema/index.jsp?curl=pages/regulation/landing/human_medicines_regulatory.jsp&mid=

คำค้นที่เกี่ยวข้อง:
monoclonal antibodies โรคมะเร็ง burosumab human IgG1 monoclonal antibody fibroblast growth factor 23 X-linked hypophosphatemia erenumab human IgG2 monoclonal antibody calcitonin gene-related peptide receptor โรคปวดศีรษะไมเกรน ibalizumab hu
 
คลิปความรู้เรื่องยา

EP.2 เกลือแร่สำหรับท้องเสีย ORS (Oral Rehydration Salts)

ดูคลิปทั้งหมด

ข่าวยาล่าสุด
    ดูข่าวยาทั้งหมด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้