หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ชนิดของผลไม้ กับการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่สอง

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 2 เดือน กันยายน ปี 2556 -- อ่านแล้ว 9,171 ครั้ง
 
การรับประทานผักผลไม้มากๆ เป็นสิ่งที่พึงปฏิบัติ ทั้งในผู้ที่มีร่างกายแข็งแรง และผู้ที่เจ็บป่วย แต่จะทราบได้อย่างไรว่าผลไม้ชนิดใดที่ควรหรือไม่ควรรับประทาน เพื่อไม่ให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่สอง (type 2 diabetes) Isao Muraki และคณะ ได้ทำการศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างการทานผลไม้ชนิดต่างๆ กับความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวาน ในการศึกษานี้ได้ประเมินข้อมูลที่รวบรวมมาจากการศึกษา 3 การศึกษา ได้แก่ the Nurses’ Health Study (n=66,105), Nurses’ Health Study II (n=85,104) และ Health Professionals Follow-up Study (n=36,173) โดยให้กลุ่มตัวอย่างทำแบบสอบถามทุกๆ สองปีเกี่ยวกับสุขภาพ การใช้ชีวิต การทานอาหาร รวมไปถึงพฤติกรรมการทานผลไม้ เช่น ความถี่ของการทานผลไม้ ชนิดของผลไม้ที่เลือกทาน เป็นต้น

ผลการศึกษาพบว่า ใน 3,464,641 คน-ปี มีจำนวน 12,198 รายเริ่มเป็นโรคเบาหวานชนิดที่สอง โดยผู้ที่รับประทานผลไม้สด 3 ครั้งต่อสัปดาห์มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่สองต่ำลงร้อยละ 2 (HR เท่ากับ 0.98; 95% CI อยู่ระหว่าง 0.96-0.99) เมื่อดูจากชนิดของผลไม้ พบว่าผลไม้ที่สัมพันธ์กับการลดลงของความเสี่ยงของการเกิดโรคเบาหวาน ได้แก่ บลูเบอร์รี่ (HR=0.74; 95% CI, 0.66-0.83) องุ่นและลูกเกด (HR=0.88; 95% CI, 0.83-0.93) แอ๊ปเปิ้ลและลูกแพร์ (HR=0.93; 95% CI, 0.90-0.96) กล้วย (HR=0.95; 95% CI, 0.91-0.98) และ ส้มเกรปฟรุต (HR=0.95; 95% CI, 0.91-0.99) ในทางตรงกันข้าม ผลไม้ที่สัมพันธ์กับการเพิ่มขึ้นของความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวาน ได้แก่ แคนตาลูป (HR=1.10; 95% CI, 1.02-1.18) และน้ำผลไม้ (HR=1.08; 95% CI, 1.05-1.11)

จากผลการศึกษานี้ ผู้ทำการศึกษาแนะนำว่าการรับประทาน บลูเบอร์รี่, องุ่น และ แอ๊ปเปิ้ล มากๆ อาจช่วยป้องกันไม่ให้เกิดโรคเบาหวานชนิดที่สองได้

Key words: fruit consumption, type 2 diabetes, risk, ผลไม้, เบาหวานชนิดที่สอง, ความเสี่ยง


คำค้นที่เกี่ยวข้อง:
fruit consumption type 2 diabetes risk ผลไม้ เบาหวานชนิดที่สอง ความเสี่ยง
 
คลิปความรู้เรื่องยา

EP.3 ยาชุด Non-prescribed polypharmacy

ดูคลิปทั้งหมด

ข่าวยาล่าสุด
    ดูข่าวยาทั้งหมด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้