หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

การนอนหลับที่ไม่มีคุณภาพอาจเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในวัยรุ่น

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 1 เดือน ตุลาคม ปี 2555 -- อ่านแล้ว 2,220 ครั้ง
 
Dr Brian McCrindle จากโรงพยาบาลเด็ก เมือง Toronto ประเทศแคนาดา ได้ทำการศึกษาแบบ cross-sectional เพื่อดูผลของลักษณะการนอนต่อความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในเด็กอายุ 14-15 ปี จำนวน1,410 ราย ที่ได้รับการตรวจสุขภาพรวมถึงปัจจัยต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด (ได้แก่ BMI, ระดับไขมันในเลือด ระดับและความดันโลหิต) ควบคู่กับทำแบบประเมินลักษณะการนอนตาม Pittsburgh Sleep Quality Index ผลการศึกษาพบว่า จำนวนชั่วโมงนอนหลับโดยเฉลี่ยในวันธรรมดาและวันเสาร์-อาทิตย์ คือ 7.9 ± 1.1 ชม.และ 9.4 ±1.6 ชั่วโมง ผู้เข้าร่วมการศึกษามีคุณภาพการนอนที่ไม่ดีถึงไม่ดีมากๆในวันธรรมดาและวันเสาร์-อาทิตย์ คิดเป็นร้อยละ 19 และ ร้อยละ 10 ตามลำดับ ผู้ที่มีค่า sleep disturbance สูง จะเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ความดันโลหิตสูง และการเพิ่มขึ้นของไขมันชนิด non-HDL คิดเป็น odd ratio (OR) 1.43 [95% confidence interval (CI) 1.16–1.77], 1.44 [95% CI 1.02–2.05] และ 1.28 [95% CI 1.00–1.64] ผู้ทำการศึกษาสรุปว่า คุณภาพการนอนที่ไม่ดีอาจเกี่ยวข้องกับปัจจัยในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งต้องมีการศึกษาเพื่อยืนยันผลในระยะยาวต่อไป
 
คลิปความรู้เรื่องยา

EP.4 ยาอันตรายควบคุม (Controlled dangerous drugs)

ดูคลิปทั้งหมด

ข่าวยาล่าสุด
    ดูข่าวยาทั้งหมด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้