หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

LMW heparin อาจมีประโยชน์ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบ (ischemic stroke)

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 5 เดือน สิงหาคม ปี 2555 -- อ่านแล้ว 4,462 ครั้ง
 
จากการศึกษา FISS-tris (Fraxiparine in Stroke Study for the TReatment of Ischemic Stroke) โดยKa Sing Lawrence Wong และคณะ จากมหาวิทยาลัยฮ่องกง ซึ่งทำการศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพและความปลอดภัยของnadroparin กับ aspirinในการรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบเฉียบพลันจากภาวะหลอดเลือดแดงใหญ่อุดตัน (large artery occlusive disease หรือ LAOD) จำนวน 353 ราย โดยผู้ป่วยจะถูกสุ่มให้ได้รับ nadroparin (Fraxiparine) 0.4 ml วันละสองครั้ง หรือยา aspirin 160 mg วันละครั้ง เป็นเวลานาน 10 วัน โดยเริ่มให้ยาครั้งแรกภายใน 48 ชม.หลังเกิดภาวะหลอดเลือดสมองตีบ หลังจากนั้นผู้ป่วยทุกรายจะได้รับยาaspirinขนาด 80-300 mg วันละครั้งต่ออีก 6 เดือน พบว่า ในช่วง 10 วันแรก กลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยา LMWH มีผู้ที่มีอาการของระบบประสาทที่แย่ลง(early neurologic deterioration หรือ END) น้อยกว่ากลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยาaspirin คิดเป็นร้อยละ 6.7 เทียบกับ13.9 ตามลำดับ(Odds ratio[OR], 0.44; 95%CI, 0.21 - 0.92) และมีค่า absolute risk reduction ร้อยละ 72 ในขณะที่มีจำนวนผู้ที่มีอาการแย่ลง (Progressive stroke) และมีการกลับมาเป็นซ้ำของภาวะหลอดเลือดในสมองตีบ(early recurrent ischemic stroke)น้อยกว่ากลุ่มที่ได้ aspirin โดยที่อัตราการเกิดภาวะเลือดออกในสมองไม่แตกต่างทางสถิติ อย่างไรก็ตามผลของยา LMWH ในผู้ป่วยภาวะหลอดเลือดแดงใหญ่อุดตันนี้ยังต้องการการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป
 
คลิปความรู้เรื่องยา

EP.5 น้ำตาลตกจากยาเบาหวาน (Hypoglycemia from anti-diabetics)

ดูคลิปทั้งหมด

ข่าวยาล่าสุด
    ดูข่าวยาทั้งหมด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้