Loading…

สิ่งอำนวยความสะดวก

  • คณะเภสัชศาสตร์มีทั้งหมด 3 อาคาร ได้แก่ อาคารเทพรัตน์ อาคารราชรัตน์ และอาคารวิจัย ประดิษฐ์ หุตางกูร โดยอาคารเทพรัตน์นั้นเป็นอาคารเรียน 7 ชั้น มี 1 ห้องประชุมขนาด 350 ที่นั่ง และ 2 ห้องบรรยายรวมขนาด 250 ที่นั่ง รวมถึงห้องบรรยายย่อยอีกมากมาย รวมถึงยังมีห้องปฏิบัติการขนาดใหญ่ทั้งหมด 7 ห้องที่มีอุปกรณ์พร้อมสำหรับการทำวิจัย ห้องยาจำลอง และร้านขายยาคณะ นอกจากนี้อาคารเทพรัตน์ยังประกอบไปด้วยฝ่ายงานบริหารและหน่วยงานสนับสนุนต่างๆ อีกด้วย ในส่วนของอาคารราชรัตน์ ซึ่งเป็นอาคาร 8 ชั้น มีโรงอาหาร ห้องสมุด สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คลังข้อมูลยา ศูนย์วิเคราะห์คุณภาพผลิตภัณฑ์ ห้องคอมพิวเตอร์ และห้องวิจัยกลาง ซึ่งในอาคารนี้ยังมีห้องบรรยายขนาด 150 ที่นั่ง 2 ห้อง และห้องบรรยายขนาดกลางและขนาดเล็กอีก 20 ห้อง โดยห้องเรียนทั้งหมดมีอุปกรณ์ที่เหมาะสำหรับการเรียน และยังมีการพัฒนาปรับปรุงอยู่เสมอเพื่อให้ทันสมัยต่อการเรียนการสอนของคณาจารย์และนักศึกษา นอกจากนี้อาคารราชรัตน์ยังเป็นส่วนของสำนักงานภาควิชาต่างๆ อีกด้วย ต่อมาคืออาคารวิจัย ประดิษฐ์ หุตางกูร ซึ่งเป็นอาคาร 5 ชั้น โดยชั้น 1 จะเป็นห้องทำกิจกรรมอเนกประสงค์สำหรับนักศึกษา ในขณะที่ ชั้น 2 เป็นส่วนขยายของห้องสมุด และชั้น 3 นั้นเป็นศูนย์ทดสอบเครื่องสำอาง
  • นอกจากนี้ นักศึกษาในหลักสูตรยังสามารถเข้าถึงโรงพยาบาลในเครือมหิดล ได้แก่ โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลรามาธิบดี และศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก เพื่อเป็นสถานที่ฝึกงานให้กับนักศึกษา อีกทั้งทางคณะฯ ยังมีเครือข่ายกับโรงพยาบาลภายใต้กระทรวงสาธารณสุขหลายแห่งทั่วประเทศ เพื่อเป็นทางเลือกสำหรับสถานที่ฝึกงานให้กับนักศึกษาซึ่งนักศึกษาจะได้รับประสบการณ์สำหรับการบริบาลทางเภสัชกรรมในบริบทของโรงพยาบาล
  • สำหรับเภสัชอุตสาหกรรม คณะฯ มีเครือข่ายและข้อตกลงกับองค์การเภสัชกรรม สภากาชาดไทย บริษัทไฟเซอร์ บริษัทซาโนฟี อเวนตีส และอื่นๆ ในส่วนของเภสัชกรรมชุมชนคณะฯ มีเครือข่ายในกรุงเทพฯ เช่น บู๊ทส์ ฟาสซิโน และวัตสัน และในปีที่ผ่านมาทางคณะฯ ยังสนับสนุนให้นักศึกษาได้ไปหาประสบการณ์กับเครือข่ายนานาชาติ ทั้งในเอเชีย และยุโรป

รูปภาพ

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล