ยาหอม..มรดกทางภูมิปัญญา ที่ได้รับการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์
รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ. นพมาศ สุนทรเจริญนนท์ ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
|
67,829 ครั้ง เมื่อ 9 นาทีที่แล้ว | |
2015-10-04 |
คำนำ
ปัจจุบันคนไทยรุ่นใหม่อาจจะไม่รู้จัก หรือคุ้นเคยกับยาหอม ทั้งๆที่ยาหอมมีประวัติการใช้คู่กับคนไทยมานานมากกว่า 100 ปี ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 แล้วยาหอมคืออะไร ชื่อของตำรับยาก็บ่งบอกว่าตำรับยานี้ต้องมีกลิ่นหอม นั่นคือส่วนประกอบของตัวยาจะต้องเป็นสมุนไพรที่มีกลิ่นหอม ใช้แก้ลมวิงเวียน แก้ปวดท้อง เป็นลมในท้อง ในคัมภีร์แพทย์แผนไทยได้บันทึกถึงตำรับยาหอมซึ่งมีมากกว่า 300 ตำรับ ใช้รักษาโรคต่างๆ แพทย์ไทยสมัยโบราณจะมียาหอมพกติดตัวไว้ในล่วมยาสำหรับรักษาโรคยามฉุกเฉิน แล้วค่อยจ่ายยาต้มตามมาภายหลัง ถือได้ว่ายาหอมเป็นตำรับยาสำคัญทีเดียวในการแพทย์แผนไทย และยาหอมคือ มรดกทางภูมิปัญญาที่อยู่คู่ประเทศไทยมานาน
กระทรวงสาธารณสุขได้มีประกาศบัญชียาแผนโบราณสามัญประจำบ้าน เมื่อปี พ.ศ. 2542 ด้วยจุดมุ่งหมายที่ให้ประชาชนได้มียาสมุนไพรที่ดี ปลอดภัยไว้ใช้ในบ้าน โดยยาประเภทนี้สามารถวางขายในที่ใดก็ได้ ไม่ต้องเป็นสถานที่ที่ได้รับอนุญาตขายยา หรือสถานการแพทย์ ด้วยต้องการให้มีการกระจายยาอย่างทั่วถึง ประชาชนเข้าถึงยาสมุนไพรได้ ในประกาศนั้นมียาตำรับแผนโบราณ 27 ตำรับ ซึ่งเป็นที่ยอมรับว่ามีประสิทธิภาพดี และใช้กันมายาวนาน
งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ของยาหอม
ถึงแม้ว่ายาหอมมีคู่ประเทศไทยมานานนับร้อยปี แต่ยาหอมก็ไม่มีงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ในการพิสูจน์สรรพคุณหรือความเป็นพิษ จนกระทั่งในปี 25547 สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติได้สนับสนุนทุนวิจัยให้นักวิทยาศาสตร์หลายสถาบันร่วมกันศึกษาวิจัยพิสูจน์สรรพคุณของยาหอมอย่างเป็นระบบ ซึ่งงานวิจัยได้ทำการศึกษายาหอม 2 ตำรับ คือ ยาหอมนวโกฐ และยาหอมอินทรจักร์
ตำรับยาหอมนวโกฐและยาหอมอินทจักร์ เป็นตำรับยาในยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ และ บัญชียาจากสมุนไพร พ.ศ. 2554 กลุ่มบัญชียาจากสมุนไพรที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม โดยเป็นยารักษากลุ่มอาการทางระบบไหลเวียนโลหิต (แก้ลม)
ตำรับยาหอมนวโกฐ ประกอบด้วยเครื่องยา 55 ชนิด เป็นพืชวัตถุ 54 ชนิด ธาตุวัตถุ 1 ชนิด
ตำรับยาหอมอินทจักร์ ประกอบเครื่องยา 49 ชนิด เป็นพืชวัตถุ 44 ชนิด สัตว์วัตถุ 4 ชนิด ธาตุวัตถุ 1 ชนิด
ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ของเครื่องยา
ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ของเครื่องยาที่เป็นส่วนประกอบในตำรับยาหอมทั้งสองตำรับ พบว่าเครื่องยาเหล่านี้มีฤทธิ์ต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบทางเดินอาหาร และระบบประสาทส่วนกลาง
เครื่องยาที่มีผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด
เครื่องยาที่มีฤทธิ์ต่อประสาทส่วนกลาง
ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ของสารสกัดตำรับยาหอม
สารสกัดตำรับยาหอมนวโกฐมีฤทธิ์เพิ่มความดันช่วงหัวใจบีบ (systolic) ได้มากและนานกว่าตำรับยาหอมอินทจักร์ สารสกัดทั้งสองตำรับมีผลต่อความดันช่วงหัวใจคลาย (diastolic) ได้ใกล้เคียงกัน และมีผลลดอัตราการเต้นของหัวใจเล็กน้อยในช่วงเวลา 45-90 นาที สารสกัดตำรับยาหอมทั้งสองมีฤทธิ์เพิ่มอัตราการไหลเวียนเลือดที่สมองหนู โดยเป็นผลมาจากการขยายตัวของหลอดเลือดแดงขนาดเล็กของสมอง จึงมีผลทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองได้ดีขึ้น ช่วยแก้อาการวิงเวียนศรีษะ และภาวะเป็นลมหมดสติ |
สารสกัดตำรับยาหอมนวโกฐ มีฤทธิ์ยับยั้งการหลั่งของกรด และมีฤทธิ์ยับยั้งการหดตัวของลำไส้เล็กได้มากกว่าสารสกัดตำรับยาหอมอินทจักร์ ซึ่งจะช่วยลดอาการปวดเกร็งของลำไส้ได้ |
สารสกัดตำรับยาหอมนวโกฐมีผลต่อระบบประสาทส่วนกลางมากกว่าสารสกัดตำรับยาหอมอินทจักร์ |
สรุป จะเห็นได้ว่า ยาหอม มรดกทางภูมิปัญญาของประเทศไทย ที่มีการใช้กันอย่างยาวนานตั้งแต่ในอดีตสมัยรัชกาลที่ 3 จนถึงปัจจุบัน ได้มีงานวิจัยอย่างเป็นวิทยาศาสตร์เพื่อพิสูจน์สรรพคุณตามภูมิปัญญา ซึ่งพบว่า ยาหอมมีผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบทางเดินอาหาร และระบบประสาทส่วนกลาง ที่สามารถใช้บำบัดอาการเป็นลมวิงเวียน คลื่นเหียน อาเจียน ท้องอืด แก้ลมจุกเสียด และงานวิจัยนี้ถือได้ว่าเป็นงานวิจัยชิ้นแรกที่พิสูจน์ผลของยาหอมอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งข้อมูลนี้สามารถที่จะนำไปศึกษาต่อยอดในคนต่อไป เพื่อสร้างความมั่นใจในการใช้ยาหอม และเป็นการสืบสานภูมิปัญญาของประเทศชาติสืบต่อไป
การใช้ยาในหญิงมีครรภ์ : ข้อแนะนำเพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายต่อทารกในครรภ์ 1 วินาทีที่แล้ว | |
อันตรกิริยาระหว่างส้มโอกับยา (ตอนที่ 1) 1 วินาทีที่แล้ว | |
ยารักษาโรคกระดูกพรุน...เหตุใดจึงกินหลังตื่นตอนเช้าโดยกลืนยาทั้งเม็ดพร้อมน้ำเปล่า? 1 วินาทีที่แล้ว | |
ข้อควรระวังในการใช้สมุนไพร 5 วินาทีที่แล้ว | |
สบู่ดำ..พืชพลังงานที่เพิ่มคุณค่าให้กับผลิตภัณฑ์ 6 วินาทีที่แล้ว | |
เมื่อสัตว์เลี้ยงได้รับสารพิษ : แนวทางการปฐมพยาบาลเบื้องต้น 7 วินาทีที่แล้ว | |
เมลาโทนิน (melatonin) ตัวช่วยนอนหลับยอดฮิต 1 นาทีที่แล้ว | |
ยาหอม กับคนวัยทำงาน 1 นาทีที่แล้ว | |
เทคนิคป้อนยาสุนัขและแมวที่ไม่ยากอย่างที่คิด 1 นาทีที่แล้ว | |
กลูโคซามีนซัลเฟต (glucosamine sulphate) กับโรคข้อเสื่อม (osteoarthristis) 1 นาทีที่แล้ว |
|
HTML5 Bootstrap Font Awesome