ผลิตภัณฑ์พลาสติกกับอาหาร
ภญ.กิตติมา วัฒนากมลกุลภาควิชาสรีรวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
|
314,892 ครั้ง เมื่อ 2 ช.ม.ที่แล้ว | |
2012-01-08 |
ปัจจุบันผลิตภัณฑ์พลาสติกกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะในรูปแบบของใช้ในบ้าน เครื่องนุ่งห่ม วัสดุทางการแพทย์ วัสดุอาคาร รวมไปถึงการใช้เพื่อบรรจุอาหาร เนื่องด้วยความสะดวกสบายในการใช้งาน แต่ท่านทราบถึงความแตกต่างขององค์ประกอบ วิธีการใช้งานที่เหมาะสม และอันตรายของผลิตภัณฑ์เหล่านี้มากน้อยเพียงใด
ผลิตภัณฑ์พลาสติกสามารถแบ่งตามชนิดของพลาสติกได้เป็น 7 ชนิด มีการแสดงไว้บนผลิตภัณฑ์เพื่อช่วยในเรื่องการคัดแยกพลาสติกสำหรับการรีไซเคิล ลักษณะสัญลักษณ์คือ ลูกศรวิ่งวนเป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า มีเลขกำกับอยู่ภายใน และมีตัวอักษรภาษาอังกฤษที่ฐานของสามเหลี่ยม ซึ่งเรียกว่า “รหัสพลาสติก” กำหนดโดย NA Society of the Plastics Industry ในปี ค.ศ. 1988 ดังตารางนี้
รายละเอียดของผลิตภัณฑ์พลาสติกแต่ละชนิด
พลาสติกเกือบทุกชนิดก่อปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม เนื่องจากกระบวนการผลิตมีการปล่อยสารพิษเข้าไปในอากาศและน้ำทำให้เกิดภาวะมลพิษ และต้องอาศัยพลังงานสูงกว่าการผลิตแก้ว
นอกจากนี้พลาสติกที่ได้จากการรีไซเคิลจะมีคุณภาพด้อยลงจากผลิตภัณฑ์ก่อนการรีไซเคิล ดังนั้นจึงไม่สามารถนำกลับมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์เดิมได้ ต้องทำเป็นผลิตภัณฑ์ที่ด้อยคุณภาพลงไป ตัวอย่างเช่น โฟมบรรจุอาหารรีไซเคิลเป็นโฟมกันกระแทก (ไม่สามารถกลับมาใส่อาหารได้อีก) ซึ่งในกระบวนการรีไซเคิลนี้ต้องมีการเพิ่มวัตถุดิบหรือต้นทุนด้านอื่นๆอีกด้วย ในขณะที่หากนำไปย่อยสลายจะทำได้ยากด้วยวิธีฝังกลบ ส่วนการเผาขยะพลาสติกชนิดพีวีซี จะเป็นตัวก่อให้เกิดสารไดออกซิน ยกเว้นต้องใช้เตาเผาอุณหภูมิสูงถึง 1300 องศาเซลเซียส
ถุงพลาสติกอีกประเภทหนึ่งคือ ถุงพลาสติกชีวภาพ หรือพลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพ เป็นผลมาจากการศึกษาวิจัยและคิดค้นถุงพลาสติกที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ผลิตได้จากแป้งมันสำปะหลังและข้าวโพด พลาสติกชนิดนี้เมื่อถูกฝังกลบในสภาวะที่เหมาะสมจะถูกย่อยสลายด้วยเอนไซม์และแบคทีเรียในธรรมชาติ เมื่อย่อยสลายหมดแล้วจะได้ผลิตภัณฑ์เป็นน้ำ มวลชีวภาพ ก๊าซมีเทน และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งจำเป็นในการเจริญเติบโตและดำรงชีวิตของพืช
จากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้จะเห็นได้ว่า การใช้พลาสติกควรเลือกให้เหมาะสมกับคุณสมบัติของพลาสติกชนิดนั้นๆ เพื่อลดอันตายที่อาจเกิดขึ้นได้ และที่สำคัญคือควรใช้เท่าที่จำเป็น เลือกใช้วัสดุอื่นที่สามารถทดแทนได้ ตัวอย่างเช่น แก้ว หรือ ถุงพลาสติกชีวภาพ เพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อมของเราด้วย
![]() |
เบญจอำมฤต... ตำรับยารักษามะเร็งตับ? 22 วินาทีที่แล้ว |
![]() |
แคลเซียมกับโรคกระดูกพรุน ตอนที่ 1 ? 23 วินาทีที่แล้ว |
![]() |
แพ้ยา?? คุณแน่ใจได้อย่างไร 27 วินาทีที่แล้ว |
![]() |
ไมเกรน .. กินยาไม่ถูกต้องอันตรายมากกว่าที่คิด 1 นาทีที่แล้ว |
![]() |
สมองเสื่อมกับยาที่ต้องระวัง 1 นาทีที่แล้ว |
![]() |
ยาคุมฉุกเฉิน ... เรื่องจริงที่ผู้หญิงต้องรู้ 1 นาทีที่แล้ว |
![]() |
วัคซีนไข้หวัดใหญ่ .. ที่นี่มีคำตอบ 1 นาทีที่แล้ว |
![]() |
โรคพิษสุนัขบ้า ร้ายแรง แต่ป้องกันได้! 1 นาทีที่แล้ว |
![]() |
ขยับกาย สบายชีวี 1 นาทีที่แล้ว |
![]() |
รู้ให้ชัดกับ ยาแก้อักเสบ 1 นาทีที่แล้ว |
![]() ![]() |
|
ที่เกี่ยวข้อง
หน่วยงานภายในคณะฯ
HTML5 Bootstrap Font Awesome