CPR เบื้องต้นในสุนัขและแมวที่เจ้าของสามารถทำได้เอง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สพญ.นรรฆวี แสงกลับ ภาควิชาสรีรวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
|
694 ครั้ง เมื่อ 10 ช.ม.ที่แล้ว | |
2025-06-09 |
CPR (Cardiopulmonary Resuscitation) หรือการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน เป็นวิธีการช่วยชีวิตสุนัขและแมวที่หมดสติและไม่มีการหายใจหรือหัวใจหยุดเต้น โดยเทคนิคการทำ CPR นั้นอาจฟังดูเหมือนยาก แต่จริง ๆ ไม่ยากอย่างที่คิดและเป็นเรื่องที่เจ้าของสัตว์เลี้ยงควรรู้และสามารถทำได้ด้วยตนเอง เพราะการช่วยเหลือที่รวดเร็วสามารถเพิ่มโอกาสรอดชีวิตให้สัตว์ได้อย่างมีนัยสำคัญ
เมื่อไหร่ถึงควรทำ CPR
เจ้าของควรเริ่มทำ CPR เมื่อพบว่าสัตว์มีอาการดังต่อไปนี้
ขั้นตอน CPR เบื้องต้นในสุนัขและแมว
1. ตรวจเช็คความปลอดภัย : ก่อนเริ่ม CPR ต้องแน่ใจว่าสถานการณ์ปลอดภัยทั้งสำหรับตัวเจ้าของและสัตว์ เช่น อยู่ห่างจากถนนหรือของอันตรายที่อาจจะหล่นใส่ได้
2. ประเมินอาการ : ตรวจการหายใจและชีพจร โดยให้ฟังเสียงหายใจ หรือดูการเคลื่อนไหวของหน้าอก และคลำชีพจรที่บริเวณต้นขาด้านใน (femoral artery) หากพบว่าสัตว์เลี้ยงไม่มีการหายใจและไม่มีชีพจร ให้เริ่มทำการ CPR ทันที
3. วางตำแหน่งสัตว์ให้เหมาะสม : โดยเริ่มจากให้สัตว์เลี้ยงนอนตะแคงขวา (หัวใจจะอยู่ใกล้พื้น) จากนั้นตรวจช่องปาก หากพบว่ามีสิ่งแปลกหลอม เช่น เศษอาหาร ให้เอาออก
4. เริ่มการนวดหัวใจ (Chest compressions) : วิธีการนวดหัวใจจะแตกต่างกันไปตามขนาดตัวและสรีรวิทยาของสัตว์ดังนี้
- สุนัขขนาดกลาง-ใหญ่ : ใช้สองมือประสานกัน วางบนส่วนกว้างสุดของกระดูกซี่โครง กดแรงพอให้กระดูกอกยุบประมาณ 1/3–1/2 ของความลึกอก
- สุนัขขนาดเล็กหรือแมว : ใช้มือเดียวหรือสองนิ้ว บีบอกเบา ๆ โดยเน้นการบีบ "รอบอก"
- อัตราเร็วของการนวดหัวใจที่แนะนำ: ประมาณ 100–120 ครั้งต่อนาที (เทียบเท่าจังหวะเพลงจังหวะเร็ว) (1)
5. ให้การช่วยหายใจ (Ventilation) : หากสามารถทำได้ให้ปิดปากสุนัขหรือแมวให้สนิท (สำหรับสุนัข) แล้วเป่าลมหายใจเข้าทางจมูก เป่าแรงพอให้เห็นหน้าอกขยาย โดยใช้อัตราการช่วยหายใจ 1 ครั้ง ต่อการนวดหัวใจ 30 ครั้ง หรือหากมีคนช่วย 2 คน ให้ใช้การช่วยหายใจ 1 ครั้งต่อการนวด 10-12 ครั้ง (2)
6. สลับกันทำไปเรื่อย ๆ : โดยทำ CPR เป็นรอบ ๆ พร้อมประเมินการหายใจและชีพจรทุก 2 นาทีหากพบว่ามีชีพจรหรือหายใจกลับมา ให้หยุด CPR และพาสัตว์ไปพบสัตวแพทย์ทันทีอย่างไรก็ตามหากทำ CPR นานถึง 10–15 นาทีแล้วตัวสัตว์เลี้ยงยังไม่ฟื้น อาจจำเป็นต้องพิจารณาหยุดการทำ CPR เช่นกัน
ข้อควรรู้เพิ่มเติม
การทำ CPR เบื้องต้นอย่างถูกต้องตั้งแต่ช่วงแรกที่สัตว์เลี้ยงมีภาวะหัวใจหยุดเต้น สามารถเพิ่มโอกาสการรอดชีวิตได้อย่างมาก ดังนั้นเจ้าของสัตว์ควรเรียนรู้และฝึกซ้อมการช่วยชีวิตเบื้องต้นนี้ไว้ เพราะในยามฉุกเฉิน “การกระทำที่รวดเร็วและถูกต้อง” คือหัวใจสำคัญที่จะช่วยชีวิตสัตว์เลี้ยงของเราได้นั่นเอง
![]() |
PM 2.5 และมลพิษทางอากาศ ปัจจัยในการก่อให้เกิดโรคจอประสาทตาเสื่อมตามวัย (AMD) 1 วินาทีที่แล้ว |
![]() |
ยาโกรทฮอร์โมนสำหรับผู้ใหญ่ 1 วินาทีที่แล้ว |
![]() |
การใช้ยาในหญิงมีครรภ์ : ข้อแนะนำเพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายต่อทารกในครรภ์ 5 วินาทีที่แล้ว |
![]() |
การทิ้งและทำลายยาที่ถูกต้อง 10 วินาทีที่แล้ว |
![]() |
อันตรายของครีมหน้าขาว ที่ผสมไฮโดรควิโนน 1 นาทีที่แล้ว |
![]() |
การคัดเลือกยาเข้าโรงพยาบาล ตามวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) และการประเมินค่าประสิทธิภาพต่อราคา (price performance) 1 นาทีที่แล้ว |
![]() |
ยาเขียว ยาไทยใช้ได้ทั้งผู้ใหญ่และเด็ก… 1 นาทีที่แล้ว |
![]() |
10 คำถามเกี่ยวกับหน้ากากอนามัย 1 นาทีที่แล้ว |
![]() |
\"อัญชัน\" ประโยชน์ที่ควรรู้ 1 นาทีที่แล้ว |
![]() |
การนอน .. เพื่อชะลอวัยและเพื่อสุขภาพ 1 นาทีที่แล้ว |
![]() ![]() |
|
ที่เกี่ยวข้อง
หน่วยงานภายในคณะฯ
HTML5 Bootstrap Font Awesome