Ketone bodies อาจช่วยชะลอความเสื่อมของสมองได้
อาจารย์ ดร.ภญ. ชญานิน กีรติไพบูลย์ ภาควิชาสรีรวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
|
1,073 ครั้ง เมื่อ 1 วันที่แล้ว | |
2024-10-06 |
เชื่อว่าหลายท่านที่ติดตามงานวิจัยที่เกี่ยวกับศาสตร์การชะลอวัยน่าจะเคยอ่านรายงานที่ระบุว่าเมื่อหนูแรทรับประทานอาหารน้อยลงจะทำให้หนูแรทเหล่านั้นมีอายุขัยยาวนานขึ้น เนื่องจากมีจากการเปลี่ยนแปลงวิถีสัญญาณภายในเซลล์ เช่น สมดุลโปรตีน และ metabolism เป็นต้น เพื่อตอบสนองต่อปริมาณสารอาหารที่ลดลง นักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่าสารที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิถีสัญญาณภายในเซลล์น่าจะเป็นสารกลุ่ม ketone bodies ได้แก่ acetoacetate (AcAc), b-hydroxybutyrate (BHB) และ acetone สารเหล่านี้ถูกสร้างขึ้นที่ตับในภาวะที่ร่างกายมีกลูโคสในปริมาณน้อยหรือขาดกลูโคส ตับจะเปลี่ยนกรดไขมันเป็น ketone bodies เพื่อให้เซลล์นำไปสร้างพลังงานได้ ข้อสันนิษฐานนี้ถูกพิสูจน์โดย Newman และคณะที่พบว่าการให้หนูไมซ์รับประทานอาหารคีโตซึ่งเป็นอาหารที่มีไขมันปริมาณสูง (60-75%) โปรตีนปริมาณปานกลาง (15-30%) แต่มีคาร์โบไฮเดรตปริมาณต่ำ (5-10%) ทำให้หนูไมซ์มีระดับ ketone bodies เพิ่มขึ้น ซึ่งการศึกษาของ Newman และคณะพบว่าหนูไมซ์ที่รับประทานอาหารคีโตมีสุขภาพแข็งแรง และมีอายุขัยยาวนานกว่าหนูไมซ์ที่รับประทานอาหารปกติ อีกทั้งเมื่อเข้าสู่ภาวะสูงวัยหนูไมซ์เหล่านี้เหล่ายังมีความจำ และการเรียนรู้ที่ดีกว่าหนูไมซ์สูงวัยที่รับประทานอาหารปกติอีกด้วย
จากกงานวิจัยดังกล่าวจึงนำไปสู่งานวิจัยของ González-Billault และคณะ จากสถาบัน Geroscience center ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยด้านภาวะสูงวัย และโรคที่เกี่ยวข้องกับภาวะสูงวัยของประเทศสเปน ซึ่งถูกตีพิมพ์ในวารสาร Cell Reports Medicine เมื่อเดือนต้นมิถุนายนที่ผ่านมา โดยงานวิจัยระบุว่าหนูไมซ์ที่มีภาวะสูงวัย (อายุมากกว่า 2 ปี) เมื่อรับประทานอาหารคีโตจะมีการทำงานของสมองที่ดีขึ้น มีความเสื่อมของสมองลดลง และมีความจำดีขึ้น โดย González-Billault และคณะระบุว่าเมื่อให้หนูไมซ์ที่มีภาวะสูงวัยรับประทานอาหารคีโตสลับกับอาหารควบคุมที่มีปริมาณไขมันเพียง 13% สัปดาห์เว้นสัปดาห์เพื่อป้องกันภาวะอ้วน สัตว์ทดลองจะมีความจำและการเรียนรู้ดีขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับสัตว์ทดลองที่รับประทานอาหารควบคุมเพียงอย่างเดียว ทั้งนี้ González-Billault และคณะอธิบายเพิ่มเติมว่าผลการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นมีสาเหตุจาก ketone bodies ที่ได้จากอาหารคีโต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง BHB ที่ทำให้ protein kinase A ภายในเซลล์ประสาทของสมองมีการทำงานเพิ่มขึ้น ซึ่ง protein kinase A เป็นเอนไซม์ที่มีความจำเป็นต่อการสื่อสารสัญญาณระหว่างเซลล์ประสาท โดยสมองส่วนที่พบการทำงานเพิ่มขึ้นของ protein kinase A อยู่ที่ส่วน hippocampus ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ และความจำ ดังนั้นจากงานวิจัยนี้จึงสรุปได้ว่า ketone bodies ช่วยชะลอความเสื่อมของสมองในภาวะสูงวัยของหนูไมซ์ได้ นอกจากนี้ González-Billault และคณะกำลังศึกษาในขั้นต่อไปเพื่อเปรียบเทียบว่าการให้สัตว์ทดลองรับประทาน BHB เพียงอย่างเดียวกับการกระตุ้นวิถีสัญญาณของ protein kinase A โดยตรง วิธีใดจะชะลอความเสื่อมของสมองได้ดีกว่ากัน จากงานวิจัยดังกล่าวจึงมีความเป็นไปได้ว่าเราอาจจะเห็นอาหารเสริมในรูปแบบของ BHB หรืออาหารเสริมที่กระตุ้นการทำงานของ protein kinase A ในอนาคตอันใกล้นี้ อย่างไรก็ตามการวิจัยนี้เป็นการศึกษาในสัตว์ทดลองเท่านั้น การนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้ในมนุษย์จำเป็นต้องมีการศึกษาทางคลินิกเพื่อยืนยันถึงประสิทธิภาพ และความปลอดภัยต่อไป
![]() |
แพ้ยา?? คุณแน่ใจได้อย่างไร 1 วินาทีที่แล้ว |
![]() |
น้ำเมือกหอยทาก กับคุณสมบัติในทางยาและเครื่องสำอาง 1 นาทีที่แล้ว |
![]() |
การเลือกน้ำตาเทียมสำหรับรักษาโรคตาแห้ง: บทบาทของกรดไฮยาลูโรนิคและปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพ 1 นาทีที่แล้ว |
![]() |
น้ำมันระเหยยากที่ใช้ในเครื่องสำอาง 1 นาทีที่แล้ว |
![]() |
เชื้อที่มากับมลพิษในอาคาร: รา 1 นาทีที่แล้ว |
![]() |
ภาชนะเก็บยา..ที่เหมาะสมต่อการใช้ในชีวิตประจำวัน 1 นาทีที่แล้ว |
![]() |
อ่านฉลากยาดีๆ มีประโยชน์ 2 นาทีที่แล้ว |
![]() |
โควิด-19 กับ ภาวะระบบหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน 2 นาทีที่แล้ว |
![]() |
แพ้ยา มีผื่นขึ้นรุนแรง คืออะไร 2 นาทีที่แล้ว |
![]() |
ผมหงอก ... หัวหงอก ... ผมขาว 3 นาทีที่แล้ว |
![]() ![]() |
|
ที่เกี่ยวข้อง
หน่วยงานภายในคณะฯ
HTML5 Bootstrap Font Awesome