Loading…

บรรจุภัณฑ์บ่งชี้ร่องรอยการแกะ (Tamper-Evident Packaging): ตอนที่ 4

บรรจุภัณฑ์บ่งชี้ร่องรอยการแกะ (Tamper-Evident Packaging): ตอนที่ 4

รศ. ดร. สมบูรณ์ เจตลีลาภาควิชาเภสัชอุตสาหกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

19,802 ครั้ง เมื่อ 2 ช.ม.ที่แล้ว
2011-09-25

กล่องโป่ง (Bubble Pack)
เราสามารถผลิตกล่องโป่งได้หลายวิธี แต่วิธีที่ใช้กันมากจะประกบผลิตภัณฑ์ด้วยแผ่นฟิล์มพลาสติก และแผ่นรอง ดังตัวอย่างที่แสดงในรูปที่ 1 A เป็นพลาสติกชนิดสามารถขึ้นรูปโดยความร้อน หยอดผลิตภัณฑ์ลงไป และประกบปิดผนึกด้วยแผ่นรอง ซึ่งคล้ายคลึงกับการบรรจุแผงฟอยล์บริสเตอร์ที่กล่าวในตอนที่ 3 ทุกขั้นตอน1, 2 หากมีการแกะเกิดขึ้นเพื่อเอาผลิตภัณฑ์ออกมา จะเห็นร่องรอยการแกะดังแสดงในรูปที่ 1 B 

รูปที่ 1 A: แสดงกล่องโป่งทำด้วยพลาสติกชนิดขึ้นรูปโดยความร้อน B: ร่องรอยการแกะบนแผ่นรอง8

พลาสติกฟิล์มที่ใช้อาจเป็นชนิดอื่น ได้แก่ ชนิดยืดตัว หรือชนิดหดตัวเมื่อถูกความร้อน ส่วนแผ่นรองแผ่นกระดาษแข็งเคลือบวัสดุที่มีขีดการปิดผนึกด้วยความร้อน2 กล่องโป่งใช้ประโยชน์มากในการบรรจุอาหารกึ่งสำเร็จรูป เครื่องใช้ในครัวเรือน เครื่องสุขภัณฑ์ เครื่องใช้ฟ้าและแบตเตอรี่ เป็นต้น

ผนึกเทป
การปิดผนึกเทปขึ้นกับกาวเหนียวที่ทำให้เทปยึดติดบรรจุภัณฑ์ ถ้าลอกออกได้แล้วติดกลับได้ใหม่ ก็ไม่มีความสามารถต้านการแกะแต่อย่างใด ปัจจุบันมีนวัตกรรมใหม่ๆ ในผนึกเทป ได้แก่ การใช้กาวเหนียวที่ไม่ยอมให้มีการแกะและการนำกลับมาใช้อีก หากมีการกระทำสองประการดังกล่าว ต้องพร้อมจะมีร่องรอยให้เห็นการแกะและร่องรอยการนำกลับมาใช้ใหม่ ผนึกเทปที่ใช้จะต้องมีคุณสมบัติที่เป็นเอกลักษณ์ชัดเจนว่าไม่พร้อมที่จะถูกกระทำซ้ำ3
มีการใช้ผนึกเทปหรือฉลากกาวหรือแบบไวต่อแรงกด รอบหรือบนฝาบรรจุภัณฑ์ ซึ่งจะต้องถูกทำลายเมื่อเข้าถึงผลิตภัณฑ์ วัสดุที่ใช้อาจเป็นกระดาษที่มีความหนาแน่นสูง น้ำหนักเบาและค่อนข้างขาดง่าย หากขาดยากอาจใช้รอยปรุตลอดแนวหรือรอยเจาะบางส่วน เพื่อให้เกิดจุดอ่อนที่จะฉีดขาดได้ง่าย ขณะที่พยายามจะดึงผนึกออก1, 2 ดังแสดงในรูปที่ 2 

รูปที่ 2 ผนึกเทปที่กล่องบรรจุยา2

รูปที่ 3 ผนึกฉลากติดพาดข้างขวดและฝาขวด และร่อยรอยตัวอักษรและลวดลายเมื่อดึงฉลากออก4

ตัวอย่างนวัตกรรมใหม่ๆ จะเป็นแนวลักษณะรูปลอกหรืออักษรลอก4, 5 เมื่อดึงผนึกฉลากหรือผนึกเทปออกจะทิ้งร่องตัวอักษรและลวดลายบนขวดและฝา ดังแสดงในรูปที่ 3 หรือกล่อง ดังแสดงในรูปที่ 4 ตามลำดับ

รูปที่ 4 แสดงผนึกเทปติดที่ข้างกล่อง และร่องรอยตัวอักษรและลวดลายที่ข้างกล่องเมื่อดึงออก5

สำหรับผู้บริโภคหรือผู้ซื้อแล้ว การสังเกตร่องรอยการแกะเป็นสิ่งสำคัญมาก เพื่อประโยชน์ของผู้บริโภคเอง เพราะปัจจุบันนี้ผลิตภัณฑ์ยามีการปนปลอมกันมาก หรืออาจมีการกลั่นแกล้งเกิดขึ้น เพื่อการทำลายชื่อเสียงของบริษัทคู่แข่ง ขณะที่เราก็ควรแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ อย. หรือสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ให้จัดการได้ทันท่วงที ก่อนที่จะเกิดความเสียกายต่อผู้อื่นต่อไป

 

แหล่งอ้างอิง/ที่มา
  1. Croce CP, Fischer A, Thomas RH. Packaging materials science. In: Lachman L, Lieberman HA, Kanig JL. The theory and practice of industrial pharmacy. 3rd ed. Philadelphia: Lea & Febiger, 1986: 711-732.
  2. Code of practice for the tamper-evident packaging (TEP) of therapeutic goods, 1st ed. Department of Health and Aging, Australian Government. June 2003.
  3. US FDA CPG Sec. 450.500 Tamper-resistant packaging requirements for certain over-the-counter human drug products.
  4. Security products by tamper evident: Security labels & tamper evident labels. Tamper-Evident (trade mark) (http://www.tamperevident.com.au/label_seals_page.php).
  5. Security products by tamper evident: Security tapes & tamper evident tapes. Tamper-Evident (trade mark) (http://www.tamperevident.com.au/tape_seals_page.php).

บทความที่ถูกอ่านล่าสุด

การเลือกน้ำตาเทียมสำหรับรักษาโรคตาแห้ง: บทบาทของกรดไฮยาลูโรนิคและปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพ 1 นาทีที่แล้ว
เบญจอำมฤต... ตำรับยารักษามะเร็งตับ? 1 นาทีที่แล้ว
วัคซีนโควิด-19 ตอนที่ 1 : จากจุดเริ่มต้นสู่การศึกษาทางคลินิก 1 นาทีที่แล้ว
ยารักษาโรคเท้าเหม็นจากเชื้อแบคทีเรีย 1 นาทีที่แล้ว
ปลาดิบไม่มีพยาธิ (จริงหรือ ?) 1 นาทีที่แล้ว
โรคไทรอยด์เป็นพิษแบบไม่แสดงอาการ 2 นาทีที่แล้ว
รูปแบบยา...มีกี่แบบ...ใช้อย่างไร 2 นาทีที่แล้ว
โรคระบาดที่มากับน้ำท่วม (ตอนที่ 2) น้ำกัดเท้าและข้อควรปฏิบัติ 2 นาทีที่แล้ว
แก้วมังกร 2 นาทีที่แล้ว
ยาแก้วิงเวียน ระวัง! อย่าใช้พร่ำเพรื่อ 2 นาทีที่แล้ว

อ่านบทความทั้งหมด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
คลังความรู้สู่ประชาชน บทความความรู้สู่ประชาชน บทความความรู้สู่ประชาชน

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
Copyright © 2021 - 2025
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
การใช้และการจัดการคุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา