การสูบบุหรี่กับผลกระทบต่อการใช้ยา
รองศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรหญิง นงลักษณ์ สุขวาณิชย์ศิลป์ หน่วยคลังข้อมูลยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
|
29,920 ครั้ง เมื่อ 1 วันที่แล้ว | |
2021-12-17 |
การสูบบุหรี่ส่งผลเสียต่อสุขภาพและเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของการเกิดโรคต่าง ๆ การสูบบุหรี่ยังส่งผลกระทบต่อการใช้ยาบางชนิด จนอาจทำให้การใช้ยาในขนาดปกติมีประสิทธิภาพไม่เพียงพอในการรักษาโรคหรือในทางตรงกันข้ามอาจได้รับผลของยามากเกินไปจนพบอาการข้างเคียงมากขึ้น ทำให้ยากต่อการจัดขนาดยาที่เหมาะสม นอกจากนี้หากหยุดสูบบุหรี่ฉับพลันอาจทำให้ระดับยาในเลือดเปลี่ยนแปลงจนส่งผลกระทบต่อการรักษาและความปลอดภัยของยา ในบทความนี้ให้ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสารพิษที่เกิดจากการสูบบุหรี่ ผลกระทบจากสารพิษต่อการใช้ยา ตัวอย่างยาที่ได้รับผลกระทบจากการสูบบุหรี่ และข้อพึงระวังสำหรับผู้ที่สูบบุหรี่เมื่อมีการใช้ยา
ภาพจาก : https://www.imperial.ac.uk/ImageCropToolT4/imageTool/uploaded-images/newseventsimage_1527592579936_mainnews2012_x1.jpg
การเผาไหม้จากการสูบบุหรี่เกิดไม่สมบูรณ์ มีสารพิษเกิดขึ้นมากมาย ควันบุหรี่มีก๊าซ 95% และอนุภาค 5% ซึ่งก๊าชที่เกิดขึ้นมีมากกว่า 500 ชนิด ในจำนวนนี้รวมถึงไนโตรเจน คาร์บอนมอนอกไซด์ คาร์บอนไดออกไซด์ แอมโมเนีย ไฮโดรเจนไซยาไนด์ และเบนซิน ส่วนพวกอนุภาคมีสารมากกว่า 3,500 ชนิด ในจำนวนนี้มีอัลคาลอยด์ (alkaloids) หลายชนิดรวมถึงนิโคติน (nicotine) และพวกโลหะหนัก เช่น ทองแดง ตะกั่ว แคดเมียม สังกะสี นิเกิล พวกอนุภาคที่เกิดขึ้นรวมตัวกันเป็นทาร์หรือสารน้ำมันดิน (tar) ซึ่งประกอบด้วยสารก่อโรคมะเร็งจำนวนมากมาย สารพิษที่มีบทบาทสำคัญต่อการใช้ยา ได้แก่ สารพวกโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน (polycyclic aromatic hydrocarbons) และนิโคติน
เมื่อให้ยาเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าโดยวิธีใด ยาจะถูกดูดซึมจากตำแหน่งที่ให้ยาเข้าสู่กระแสเลือด (ยกเว้นการฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำโดยตรง) จากนั้นยาจะกระจายไปส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเพื่อไปออกฤทธิ์รักษาความเจ็บป่วย ในขณะเดียวกันร่างกายมีการกำจัดยาโดยการเปลี่ยนสภาพไปเป็นสารอื่นซึ่งเรียกโดยรวมว่าเมแทบอไลต์ (metabolite ซึ่งหมายถึงสารที่เกิดจากกระบวนการสร้างและสลาย) และขับถ่ายออกจากร่างกาย เมแทบอไลต์อาจมีชนิดเดียวหรือหลายชนิดและส่วนใหญ่ไม่มีฤทธิ์หรือมีฤทธิ์เพียงเล็กน้อย แต่เมแทบอไลต์ของยาบางชนิดมีฤทธิ์แรงขึ้นและเป็นสารสำคัญในการออกฤทธิ์รักษาโรค ในการเปลี่ยนสภาพยาไปเป็นเมแทบอไลต์นั้นส่วนใหญ่อาศัยการทำงานของเอนไซม์ในตับ เป็นเอนไซม์ในกลุ่มไซโตโครมพี 450 (cytochrome P450 หรือ CYP) และเอนไซม์ที่ใช้ในกระบวนการคอนจูเกชัน (conjugation) เพื่อให้เกิดเป็นสารที่ละลายน้ำได้และถูกขับออกทางปัสสาวะ ผลกระทบจากการสูบบุหรี่ต่อการดูดซึมยา การกระจายยา และการกำจัดยา (ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนสภาพยาหรือการขับถ่ายยา) ถือเป็นผลกระทบด้านเภสัชจลนศาสตร์ (pharmacokinetic interaction) ทำให้ระดับยาในเลือดเปลี่ยนแปลง แต่ถ้ารบกวนการออกฤทธิ์ของยาถือเป็นผลกระทบด้านเภสัชพลศาสตร์ (pharmacodynamic interaction)
สารพวกโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนที่เกิดจากการสูบบุหรี่มีบทบาทสำคัญในการชักนำการสร้างเอนไซม์หลายชนิดที่ใช้ในการเปลี่ยนสภาพยา เช่น CYP1A2, CYP2B6, CYP3A4, CYP2C19, CYP2E1 โดยเฉพาะสองชนิดแรก ตลอดจนชักนำการสร้างเอนไซม์ที่ใช้ในกระบวนการคอนจูเกชัน (เช่น uridine diphosphate-glucuronosyltransferases หรือ UGTs ซึ่งใช้ในกระบวนการ glucuronidation) ทำให้เพิ่มการกำจัดยาชนิดที่ใช้เอนไซม์เหล่านี้ในการเปลี่ยนสภาพ จนอาจต้องใช้ยาในขนาดสูงขึ้น แต่ถ้ายาชนิดใดถูกเปลี่ยนเป็นเมแทบอไลต์ที่มีฤทธิ์มากขึ้น เช่น โคลพิโดเกรล (clopidogrel) ซึ่งเป็นยาต้านเกล็ดเลือดที่ใช้รักษาโรคหลอดเลือดอุดตันจากลิ่มเลือด ยาจะให้ผลการรักษาดีขึ้น (อย่างไรก็ตามการสูบบุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจและสมองจึงควรเลิกสูบบุหรี่) สารอื่นที่เกิดขึ้นจากการสูบบุหรี่ เช่น อะซิโตน ไพริดีน เบนซีน คาร์บอนมอนอกไซด์ พวกโลหะหนักบางชนิด หรือแม้แต่นิโคติน สามารถเกิดปฏิกิริยากับเอนไซม์ได้เช่นกันแต่มีบทบาทน้อยในการรบกวนการเปลี่ยนสภาพยา นอกจากนี้การสูบบุหรี่ยังลดการดูดซึมอินซูลินที่ให้โดยการฉีดเข้าใต้ผิวหนัง สิ่งที่กล่าวมาข้างต้นนี้ล้วนเป็นผลกระทบด้านเภสัชจลนศาสตร์ของการสูบบุหรี่ที่มีต่อการใช้ยา
ส่วนผลกระทบด้านเภสัชพลศาสตร์ซึ่งเกี่ยวข้องกับการออกฤทธิ์ของยานั้นส่วนใหญ่เกิดจากฤทธิ์ของนิโคติน นิโคตินเป็นอัลคาลอยด์ในใบยาสูบและเป็นสารที่ทำให้เกิดการติดบุหรี่ ขณะสูบบุหรี่สารนี้จะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดที่ปอดอย่างรวดเร็วและกระจายสู่ส่วนอื่นของร่างกาย ไปสมองได้ภายใน 10-20 วินาที ระดับนิโคตินในสมองเกิดสูงสุดภายในไม่กี่นาที เมื่อนิโคตินจับกับตัวรับ (nicotinic cholinergic receptor) ที่สมองจะกระตุ้นให้เกิดการหลั่งสารสื่อประสาทหลายชนิด เช่น โดพามีน (dopamine), อะดรีนาลีน (adrenaline), อะเซทิลโคลีน (acetylcholine), กรดแกมมาอะมิโนบิวทีริก (gamma aminobutyric acid หรือ GABA), เบตาเอ็นดอร์ฟิน (beta endorphin) และกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมน ได้แก่ โกรทฮอร์โมน (growth hormone), โพรแลกติน (prolactin) และอะดรีโนคอร์ติโคโทรฟิกฮอร์โมน (adrenocorticotrophic hormone หรือ ACTH) ซึ่งสารสื่อประสาทและฮอร์โมนเหล่านี้แสดงฤทธิ์ได้แตกต่างกัน จึงอาจส่งผลรบกวนการออกฤทธิ์ของยาต่าง ๆ ที่ใช้รักษาโรค ภายหลังสิ้นสุดการสูบบุหรี่ระดับนิโคตินจะค่อย ๆ ลดลงแต่ยังอยู่ในร่างกายได้นาน 6-8 ชั่วโมง (ขึ้นกับปริมาณนิโคตินที่ได้รับ) การสูบบุหรี่เป็นเวลานานจะเกิดการทนต่อฤทธิ์นิโคตินและเกิดการติดบุหรี่
มียาหลายอย่างที่ได้รับผลกระทบจากการสูบบุหรี่ (ดูตาราง) ผลกระทบต่อระดับยาในเลือดซึ่งเป็นผลกระทบด้านเภสัชจลนศาสตร์นั้นส่วนใหญ่เกิดจากสารพวกโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน และผลกระทบต่อการออกฤทธิ์ของยาซึ่งเป็นผลกระทบด้านเภสัชพลศาสตร์นั้นส่วนใหญ่เกิดจากฤทธิ์ของนิโคตินดังที่กล่าวไว้แล้วข้างต้น ยาบางชนิดอาจได้รับผลกระทบทั้งสองด้าน
พวกโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนที่เกิดจากการสูบบุหรี่มีฤทธิ์ชักนำการสร้างเอนไซม์หลายชนิดที่ใช้ในการเปลี่ยนสภาพยา (เช่น CYP1A2, CYP2B6, CYP3A4, CYP2C19, CYP2E1, UGTs) ส่งผลให้ระดับยาในเลือดที่จะกล่าวถึงข้างล่างนี้ลดลง ซึ่งอาจทำให้ประสิทธิภาพในการรักษาโรคลดลง เว้นแต่ว่าเมแทบอไลต์ที่เกิดขึ้นเป็นตัวออกฤทธิ์รักษาโรคและการเปลี่ยนสภาพขั้นตอนต่อไปไม่ได้อาศัยเอนไซม์เหล่านั้น
นิโคตินในบุหรี่มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาหลายอย่าง จึงอาจรบกวนการออกฤทธิ์ของยาต่าง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่ทำให้ยาแสดงฤทธิ์ในการรักษาโรคลดลง ดังตัวอย่างที่จะกล่าวต่อไปนี้
การสูบบุหรี่นอกจากส่งผลกระทบต่อระดับยาในเลือดและการออกฤทธิ์ของยาบางชนิดดังกล่าวข้างต้นแล้ว การสูบบุหรี่ยังมีผลทางอ้อมโดยทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกายจนเป็นข้อจำกัดในการใช้ยาบางอย่าง หรือการสูบบุหรี่อาจเป็นปัจจัยร่วมกับความผิดปกติอื่นจนเพิ่มความเสี่ยงที่จะได้รับอันตรายเมื่อใช้ยาบางชนิด ดังตัวอย่างที่กล่าวถึงข้างล่างนี้
ผลกระทบของการสูบบุหรี่ต่อการใช้ยาตามที่กล่าวข้างต้นนั้น จะเกิดมากหรือน้อยเพียงใดมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องดังนี้
ตามที่ได้กล่าวมาแล้วว่าการสูบบุหรี่ชักนำการสร้างเอนไซม์หลายชนิดที่ใช้ในการเปลี่ยนสภาพยา หากหยุดสูบบุหรี่ฤทธิ์ของเอนไซม์ลดลงมาอยู่ที่ระดับใหม่ภายในเวลาประมาณ 1 สัปดาห์หลังหยุดสูบบุหรี่ ดังนั้นหากช่วงที่สูบบุหรี่มีการใช้ยาในขนาดสูงกว่าปกติ เมื่อหยุดสูบบุหรี่ฉับพลันระดับยาในเลือดอาจสูงขึ้นจนเกิดผลข้างเคียงมากหรือเป็นอันตรายได้ หากเป็นกรณีที่ยาถูกเปลี่ยนเป็นเมแทบอไลต์ที่มีฤทธิ์ (เช่น โคลพิโดเกรล) ซึ่งช่วงที่สูบบุหรี่อาจใช้ในขนาดน้อยกว่าปกติ เมื่อหยุดสูบบุหรี่ฉับพลันประสิทธิภาพในการรักษาโรคอาจไม่เพียงพอจนโรคกำเริบ ทั้งนี้ผลกระทบจากการหยุดสูบบุหรี่ฉับพลันอาจมีมากหรือน้อยขึ้นหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้อง (ดูหัวข้อ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบของการสูบบุหรี่ต่อการใช้ยา)
การสูบบุหรี่ก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพและมีผลกระทบต่อการใช้ยาบางชนิด จึงควรเลิกสูบบุหรี่ ผู้ที่ยังไม่สามารถเลิกสูบบุหรี่หากต้องมีการใช้ยาเพื่อรักษาความเจ็บป่วยมีข้อพึงระวังดังนี้
![]() |
ยาทาภายนอกรักษาโรคเชื้อรา : ยารักษากลากและเกลื้อน 19 วินาทีที่แล้ว |
![]() |
ฟ้าทะลายโจรใช้อย่างไรให้ได้ผลและปลอดภัยในช่วง COVID-19 1 นาทีที่แล้ว |
![]() |
การผสมยาปฏิชีวนะชนิดผงแห้งสำหรับรับประทาน 1 นาทีที่แล้ว |
![]() |
คาเฟอีน...ผลเสียต่อทารกในครรภ์ 1 นาทีที่แล้ว |
![]() |
โรคจากมลพิษในอาคาร : Stachybotrys (ตอนที่ 2) 1 นาทีที่แล้ว |
![]() |
ผลแลปเลือดกับโรคไตเรื้อรัง 1 นาทีที่แล้ว |
![]() |
สถานะการณ์ราคายาในประเทศไทย 1 นาทีที่แล้ว |
![]() |
อโรมาเธอราพี (Aromatherapy) 2 นาทีที่แล้ว |
![]() |
ยาคุม 24+4: วิธีคุมกำเนิดที่เหมาะสมกับผู้หญิงไทยยุคใหม่ 2 นาทีที่แล้ว |
![]() |
ฤดูฝนพรำ...ระวังโรคติดต่อที่นำโดยยุง 3 นาทีที่แล้ว |
![]() ![]() |
|
ที่เกี่ยวข้อง
หน่วยงานภายในคณะฯ
HTML5 Bootstrap Font Awesome