Loading…

บรรจุภัณฑ์บ่งชี้ร่องรอยการแกะ (Tamper-Evident Packaging): ตอนที่ 2

บรรจุภัณฑ์บ่งชี้ร่องรอยการแกะ (Tamper-Evident Packaging): ตอนที่ 2

คณาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

19,627 ครั้ง เมื่อ 3 ช.ม.ที่แล้ว
2011-07-10

ห่อฟิล์ม 
สำหรับบรรจุภัณฑ์บ่งชี้ร่องรอยการแกะในตอนที่ 2 นี้ และตอนต่อๆ ไป จะอ้างอิงจากข้อกำหนดของบรรจุภัณฑ์ต้านการแกะหรือบ่งชี้ร่องรอยการแกะ ตามประมวลข้อบังคับของบรรจุภัณฑ์ในคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา1 และประมวลหลักเกณฑ์วิธีการสำหรับบรรจุภัณฑ์บ่งชี้ร่องรอยการแกะของผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการรักษาของประเทศออสเตรเลีย2

มีการใช้ห่อฟิล์มกันมาหลายสิบปีเพื่อการป้องกันผลิตภัณฑ์ยาจากบรรยากาศแวดล้อม ได้แก่ ไอน้ำและออกซิเจน เราสามารถแบ่งห่อฟิล์มตามรูปลักษณ์ได้ 3 แบบ ดังนี้

  1. ห่อฟิล์มแบบทบปลายสามด้าน
  2. ห่อฟิล์มปิดผนึกแบบครีบปลา
  3. ห่อฟิล์มหด

ห่อฟิล์มแบบทบปลายสามด้าน 
การห่อฟิล์มแบบทบปลายสามด้าน กระทำได้โดยดันผลิตภัณฑ์เข้าไปในแผ่นฟิล์มให้ทับซ้อนผลิตภัณฑ์ ต่อมาทบปลายทั้งสามด้านแบบห่อของขวัญดังรูป 1. บริเวณทบปลายที่ซ้อนกันจะถูกปิดผนึกโดยกดกับแท่งปิดผนึกที่ตั้งอุณหภูมิร้อนที่เหมาะสม ฟิล์มที่ใช้จะต้องมีคุณสมบัติปิดผนึกด้วยความร้อน ได้แก่ เซลโลเฟนที่เคลือบด้วยพอลิไวนิลลิดีนคลอไรด์ (PVDC) และยังเป็นเกราะที่ป้องกันความชื้นได้ดีการห่อที่ต้านการแกะที่ดีจะต้องปิดผนึกอย่างดี มีการพิมพ์และตกแต่งลวดลายที่ยากจะปลอมแปลง เพราะอาจมีการทำเทียมหรือเลียนแบบ ผิวพิมพ์บนกล่องบรรจุยาควรเป็นเคลือบเงาที่ไวต่อความร้อน เมื่อห่อมิดระหว่างปิดผนึกจะเกิดการยึดเกาะถาวรระหว่างฟิล์มกับกล่องกระดาษ การแกะห่อทำให้ลอกผิวกล่องออกไปไม่เหมาะสมที่จะนำมาใช้อีก3


รูป 1. ระบบการห่อฟิล์มแบบทบปลายสามด้าน

ห่อฟิล์มปิดผนึกแบบครีบปลา 
ดังแสดงในรูป 2. การห่อที่ปิดผนึกแบบครีบปลา เป็นการห่อที่ไม่ต้องอาศัยผลิตภัณฑ์เป็นพื้นที่ให้ฟิล์มทับซ้อนเหมือนแบบแรก แต่จะใช้วิธีคลุมผลิตภัณฑ์ให้มิดจนถึงช่วงกลางด้านล่างของผลิตภัณฑ์ซึ่งถูกปิดผนึกด้วยลูกกลิ้งปิดผนึกตามยาว ส่วนด้านข้างจะปิดผนึกด้วยแท่งให้ความร้อน 2 ตัว ซึ่งไม่ต้องปิดผนึกโดยพิงบรรจุภัณฑ์ ทำให้สามารถเพิ่มแรงกดของการปิดผนึกได้ ทำให้ได้การปิดผนึกที่สมบูรณ์แข็งแรง3


รูป 2. ห่อปิดผนึกแบบครีบปลา

ห่อฟิล์มหด 
ห่อฟิล์มหดใช้หลักการบรรจุผลิตภัณฑ์ในฟิล์มเทอร์โมพลาสติกซึ่งยืดตัวตรง แต่เมื่อถูกความร้อน โมเลกุลพอลิเมอร์จะไม่เยือกแข็ง และกลับหดตัว ที่เห็นดังรูป 3. ฟิล์มถูกม้วนให้ทบตรงกลางอยู่ภายในม้วน เมื่อฟิล์มถูกหมุนคลายม้วนออกมาบนเครื่องห่อ จะเกิดฟิล์ม 2 ชั้นแยกกันโดยมีถุงลมอยู่ตรงกลาง ซึ่งสามารถสอดผลิตภัณฑ์เข้าไปได้ แท่งปิดผนึกรูปตัวแอลจะปิดผนึกส่วนที่เหลือจากการห่อและตัดแต่งส่วนเกินออก ผลิตภัณฑ์ที่ถูกห่ออย่างหลวมๆ จะเคลื่อนตัวผ่านอุโมงค์ร้อน ซึ่งจะทำให้ห่อหดตัวคลุมผลิตภัณฑ์ได้แน่น ฟิล์มที่นิยมใช้กัน ได้แก่ พอลิเอธิลีน (PE) พอลิโพรไพลีน (PP) และ พอลิไวนิลคลอไรด์ (PVC) คุณสมบัติทางกายภาพที่ต้องคำนึงถึงมี การฉีกขาด และแรงที่ทำให้ฉีดขาด (tensile strength) การต้านการเจาะ และแรงหดตัว ข้อพิจารณาพิเศษต่างๆ ในการเลือกวัสดุจำเพาะกับผลิตภัณฑ์ ทำให้ห่อแบบฟิล์มหดมีบูรณาการที่เหมาะสม ไม่ทำให้ผลิตภัณฑ์แตกร้าวหรือเสียหาย เครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้ห่อจะต้องมีความยืดหยุ่นในการใช้งานและราคาไม่แพง3


รูป 3. ห่อแบบฟิล์มหด

วิธีการสังเกตร่องรอยการแกะ
การแกะห่อฟิล์มออกเพื่อเข้าถึงผลิตภัณฑ์ จะทำให้เห็นร่องรอยการฉีกขาดเกิดขึ้น ผู้บริโภคจะต้องไม่ซื้อหรือบริโภคผลิตภัณฑ์จากห่อที่มีร่องรอยการแกะ ตรงห่อฟิล์มจะต้องออกแบบให้มี ชื่อผลิตภัณฑ์ เครื่องหมายการค้า โลโก้ หรือรูปภาพที่ยากที่จะทำเทียมหรือเลียนแบบ เพื่อว่าหากมีการแกะห่อเพื่อปนปลอมผลิตภัณฑ์ เมื่อห่อกลับโดยใช้ห่อฟิล์มอันใหม่ จะทำได้ง่ายหากไม่ออกแบบดังที่ที่กล่าวมา แต่จะต้องใช้วิธีพิมพ์ตรงบนฟิล์มมาก่อนทำห่อ โดยไม่ใช้วิธีการติดฉลากกระดาษ เพราะจะมีการดึงฉลากกระดาษออกไปได้เพื่อที่จะกลับติดฉลากใหม่

บทความโดย: รศ. ดร. สมบูรณ์ เจตลีลา
ภาควิชาเภสัชอุตสาหกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

 

แหล่งอ้างอิง/ที่มา
  1. US FDA CPG Sec. 450.500 Tamper-resistant packaging requirements for certain over-the-counter human drug products.
  2. Code of practice for the tamper-evident packaging (TEP) of therapeutic goods, 1st ed. Department of Health and Aging, Australian Government. June 2003.
  3. Croce CP, Fischer A, Thomas RH. Packaging materials science. In: Lachman L, Lieberman HA, Kanig JL. The theory and practice of industrial pharmacy. 3rd ed. Philadelphia: Lea & Febiger, 1986: 711-732.

บทความที่ถูกอ่านล่าสุด

ยาเลื่อนประจำเดือน .. ที่นี่มีคำตอบ 1 วินาทีที่แล้ว
ยารักษาโรคกระดูกพรุน...เหตุใดจึงกินหลังตื่นตอนเช้าโดยกลืนยาทั้งเม็ดพร้อมน้ำเปล่า? 8 วินาทีที่แล้ว
ยาคุมกำเนิดชนิดฝัง 9 วินาทีที่แล้ว
ป้องกันการแพ้ยารุนแรงด้วยการตรวจยีน 9 วินาทีที่แล้ว
10 อันดับอาหารที่มีโปแทสเซียมสูง กับประโยชน์ที่มีต่อสุขภาพ 25 วินาทีที่แล้ว
ยาฆ่าเชื้อกับการตั้งครรภ์และให้นมบุตร 29 วินาทีที่แล้ว
ท้องผูกและการใช้ยาระบาย 34 วินาทีที่แล้ว
ยี่โถ...มีพิษจริงหรือ 38 วินาทีที่แล้ว
ยาเขียว ยาไทยใช้ได้ทั้งผู้ใหญ่และเด็ก… 41 วินาทีที่แล้ว
เอดส์และการใช้ถุงยางอนามัย 42 วินาทีที่แล้ว

อ่านบทความทั้งหมด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
คลังความรู้สู่ประชาชน บทความความรู้สู่ประชาชน บทความความรู้สู่ประชาชน

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
Copyright © 2021 - 2025
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
การใช้และการจัดการคุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา