ยาทาภายนอก...ออกฤทธิ์ที่ไหน?
รองศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรหญิง นงลักษณ์ สุขวาณิชย์ศิลป์ หน่วยคลังข้อมูลยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
|
32,482 ครั้ง เมื่อ 1 วันที่แล้ว | |
2020-12-30 |
ยาทาภายนอกในบทความนี้หมายถึงยาที่ใช้ทาผิวหนัง ไม่ว่ายาจะอยู่ในรูปของเหลว ครีม เจล หรือขี้ผึ้ง ใช้รักษาโรคหรือการบาดเจ็บที่เกิดกับผิวหนังซึ่งส่วนใหญ่เกิดไม่รุนแรง การใช้ยาทาภายนอกเพื่อให้ยาออกฤทธิ์ที่ผิวหนังตรงตำแหน่งที่ยาเข้าถึงได้ โดยไม่ต้องการให้ยาถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือดสู่ระบบร่างกาย จึงลดผลข้างเคียงของยาที่จะเกิดกับร่างกายส่วนอื่น อย่างไรก็ตามที่ผิวหนังมีเส้นเลือดมาเลี้ยงเช่นเดียวกัน จึงอาจมียาบางส่วนที่ถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือดได้บ้างแต่ในปริมาณเพียงเล็กน้อย ผิวหนังมีหลายชั้นแต่ชั้นที่มีความสำคัญมากเนื่องจากมีบทบาทในการกั้นยาหรือสารอื่นไม่ให้ผ่านผิวหนังเพื่อเข้าสู่ร่างกาย คือหนังกำพร้าชั้นนอกสุดหรือสตราตัมคอร์เนียม ด้วยเหตุนี้ยาส่วนใหญ่ที่นำมาใช้รักษาโรคที่เกิดกับผิวหนังจึงสามารถแทรกซึมผ่านหนังกำพร้าชั้นนอกสุดได้ ในบทความนี้จะให้ข้อมูลถึงโครงสร้างผิวหนัง การแทรกซึมของยาเข้าในผิวหนัง ประเภทของยาทาภายนอกและบริเวณที่ออกฤทธิ์ และข้อควรคำนึงเมื่อใช้ยาทาภายนอก
โครงสร้างผิวหนัง
ผิวหนังทำหน้าที่ห่อหุ้มร่างกาย ช่วยปกป้องร่างกายไม่ให้ได้รับอันตรายจากสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ ช่วยควบคุมอุณหภูมิของร่างกายและรับความรู้สึกสัมผัส ผิวหนังแบ่งเป็น 3 ชั้น เรียงจากชั้นนอกสู่ชั้นในดังนี้ (ดูรูป)
การแทรกซึมของยาเข้าในผิวหนัง
ยาทาภายนอกจะแทรกซึมจากตำแหน่งที่ทายาลงสู่ผิวหนังชั้นล่างได้มากหรือน้อยเพียงใดขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง เช่น คุณสมบัติของตัวยา รูปแบบผลิตภัณฑ์ (ชนิดของเหลว ครีม เจล หรือขี้ผึ้ง) การตั้งสูตรตำรับ ความแรงของผลิตภัณฑ์ ปริมาณยาที่ทา ผิวหนังบริเวณที่ทายา การที่หนังกำพร้าชั้นสตราตัมคอร์เนียมประกอบด้วยไขมันปริมาณมาก ทำให้ยาที่ชอบไขมัน (ยาที่ละลายได้ดีในไขมัน) จะแทรกซึมผ่านไปได้ดีกว่ายาที่ชอบน้ำ (ยาที่ละลายได้ดีในน้ำ) นอกจากนี้มียาบางส่วนผ่านลงสู่ผิวหนังชั้นล่างโดยเข้าทางช่องขนและรูเปิดของท่อเหงื่อแต่ผ่านได้ในปริมาณจำกัด ในกรณีที่มีบาดแผลจะมียาผ่านลงสู่ผิวหนังชั้นล่างในปริมาณมาก การที่หนังแท้และชั้นใต้หนังแท้มีเส้นเลือดและท่อน้ำเหลืองมาเลี้ยง จึงมียาบางส่วนถูกดูดซึมเข้าสู่ภายในร่างกาย ทำให้เกิดผลข้างเคียงต่อร่างกายส่วนอื่นได้
ประเภทของยาทาภายนอกและบริเวณที่ออกฤทธิ์
ยาทาภายนอกมีมากมาย แบ่งตามการใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ได้หลายกลุ่ม ดังตัวอย่างที่จะกล่าวต่อไปนี้
ข้อควรคำนึงเมื่อใช้ยาทาภายนอก
การใช้ยาทาภายนอกมีข้อควรคำนึงทั่วไปดังนี้
![]() |
การสูบบุหรี่กับผลกระทบต่อการใช้ยา 1 วินาทีที่แล้ว |
![]() |
ยาทาภายนอกรักษาโรคเชื้อรา : ยารักษากลากและเกลื้อน 20 วินาทีที่แล้ว |
![]() |
ฟ้าทะลายโจรใช้อย่างไรให้ได้ผลและปลอดภัยในช่วง COVID-19 1 นาทีที่แล้ว |
![]() |
การผสมยาปฏิชีวนะชนิดผงแห้งสำหรับรับประทาน 1 นาทีที่แล้ว |
![]() |
คาเฟอีน...ผลเสียต่อทารกในครรภ์ 1 นาทีที่แล้ว |
![]() |
โรคจากมลพิษในอาคาร : Stachybotrys (ตอนที่ 2) 1 นาทีที่แล้ว |
![]() |
ผลแลปเลือดกับโรคไตเรื้อรัง 1 นาทีที่แล้ว |
![]() |
สถานะการณ์ราคายาในประเทศไทย 1 นาทีที่แล้ว |
![]() |
อโรมาเธอราพี (Aromatherapy) 2 นาทีที่แล้ว |
![]() |
ยาคุม 24+4: วิธีคุมกำเนิดที่เหมาะสมกับผู้หญิงไทยยุคใหม่ 2 นาทีที่แล้ว |
![]() ![]() |
|
ที่เกี่ยวข้อง
หน่วยงานภายในคณะฯ
HTML5 Bootstrap Font Awesome