เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น โปรดสละเวลา 1 นาที ในการตอบแบบสอบถามจากเรา Click !!

บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน


กินยาพร้อมนม ได้ผลหรือไม่ ?


อาจารย์ ดร.ภก. ธีรัตถ์ เหลืองมั่นคง ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


ภาพประกอบจาก: https://s.hswstatic.com/gif/antibiotics-...airy-1.jpg
อ่านแล้ว 285,688 ครั้ง  
ตั้งแต่วันที่ 23/06/2562
อ่านล่าสุด 5 นาทีที่แล้ว

Scan เพื่ออ่านบนมือถือของคุณ
 


"ไม่ควรรับประทานยานี้พร้อมนม" เป็นคำเตือนที่พบบนฉลากของยาหลายชนิด เนื่องจากนม (milk) และรวมไปถึงผลิตภัณฑ์นม (dairy product) เช่น เนย ชีส โยเกิร์ต มีปริมาณของแคลเซียมสูงจนมีโอกาสที่แคลเซียมเหล่านั้นจะเกิดปฏิกิริยากับยาที่รับประทานเข้าไป โดยการเกิดปฏิกิริยาระหว่างแคลเซียมและยามักส่งผลให้ยาหมดฤทธิ์และทำให้ประสิทธิผลของยาหมดไป จึงควรหลีกเลี่ยงการรับประทานยาเหล่านี้พร้อมกับดื่มนมหรือบริโภคผลิตภัณฑ์นม ตัวอย่างยาสำคัญที่ใช้บ่อยและไม่ควรรับประทานพร้อมนม ได้แก่ 
 
สำหรับแนวทางการรับประทานยาเหล่านี้เพื่อให้เกิดประสิทธิผลของยาสูงที่สุด มีรายละเอียดดังนี้

  1. ควรรับประทานยาพร้อมน้ำเปล่าเสมอ น้ำเปล่าทำให้ตัวยาแตกตัว ละลายและดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ดีที่สุด เนื่องจากน้ำเปล่าไม่มีปริมาณของแร่ธาตุหรือสารอาหารใดสูงจนเกิดปฏิกิริยากับยาและลดประสิทธิผลของยาได้ ดังนั้นแม้ในกรณีที่ไม่ทราบว่ายาสามารถรับประทานพร้อมนมหรือไม่ การรับประทานยานั้นพร้อมน้ำเปล่าก็ไม่ทำให้เกิดปัญหาใดๆ
  2. นมแม่ นมจากสัตว์ นมจากพืช เกิดปฏิกิริยากับยาได้เหมือนกัน นมในที่นี้ไม่ได้หมายถึงเพียงนมวัวเท่านั้น นมแม่ รวมไปถึงนมที่ได้จากสัตว์และพืช เช่น นมแกะ นมแพะ นมควาย นมถั่วเหลือง นมข้าวโพด นมอัลมอนด์ เป็นต้น ทั้งในรูปของผลิตภัณฑ์นมผง UHT, sterilized หรือ pasteurized ล้วนแต่มีแคลเซียมและอาจเกิดปฏิกิริยากับยาเหล่านี้ จึงควรหลีกเลี่ยงเช่นเดียวกัน
  3. หากจะดื่มนมหรือบริโภคผลิตภัณฑ์นม ควรรับประทานห่างจากยา 2 ชั่วโมง เพื่อป้องกันไม่ให้ยาและแคลเซียมในนมเกิดปฏิกิริยากันในกระเพาะอาหารหรือที่ลำไส้เล็ก เวลา 2 ชั่วโมงก่อนและหลังรับประทานยา จึงมากเพียงพอที่จะทำให้นมและยาไม่เคลื่อนที่ไปพบกันในระบบทางเดินอาหาร
  4. หากต้องผสมยา ควรผสมกับน้ำเปล่า น้ำหวานหรือน้ำผลไม้ เด็กหรือผู้ที่มีปัญหาในการกลืนอาจจำเป็นต้องผสมยาเพื่อช่วยให้กลืนยาได้ง่ายขึ้น โดยแนะนำให้ผสมยากับน้ำเปล่า น้ำหวานหรือน้ำผลไม้แล้วรับประทานยาที่ผสมนั้นให้หมดเพื่อให้ได้ปริมาณยาครบถ้วน และไม่ลืมที่จะรับประทานยาที่ผสมนั้นให้ห่างจากนมประมาณ 2 ชั่วโมง
  5. ปรึกษาเภสัชกรหากมีข้อสงสัยแน่นอนว่าการรับประทานยาพร้อมน้ำเปล่าเป็นวิธีที่ง่ายและดีที่สุด แต่หากมีความจำเป็นต้องรับประทานยาบางชนิดพร้อมนมด้วยเหตุจำเป็นใดๆ เภสัชกรอาจให้คำแนะนำและการแก้ปัญหาสำหรับการรับประทานยานั้นให้เหมาะกับสถานการณ์ได้มากที่สุด


 

แหล่งอ้างอิง/ที่มา
  1. Choi JH, Ko CM. Food and drug interactions. J Lifestyle Med. 2017;7(1):1-9.
  2. Cascorbi I. Drug interactions--principles, examples and clinical consequences. Dtsch Arztebl Int. 2012;109(33-34):546-55.
เปิดอ่านด้วย Google Doc Viewer ดาวน์โหลดบทความ (pdf) ดูบทความอื่นๆ

บทความที่เนื้อหาเกี่ยวข้องกับบทความนี้


บทความที่ถูกอ่านล่าสุด


ยาแก้ไอ ... มีกี่แบบ ?? 17 วินาทีที่แล้ว
มะระขี้นก 24 วินาทีที่แล้ว
วัณโรคระยะแฝง 27 วินาทีที่แล้ว
การเดินเพื่อสุขภาพ 28 วินาทีที่แล้ว

อ่านบทความทั้งหมด



ข้อจำกัดด้านลิขสิทธิ์บทความ:
บทความในหน้าที่ปรากฎนี้สามารถนำไปทำซ้ำเพื่อเผยแพร่ในเว็บไซต์ หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ โดยไม่มีวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ได้ ทั้งนี้การนำไปทำซ้ำนั้นยังคงต้องปรากฎชื่อผู้แต่งบทความ และห้ามตัดต่อหรือเรียบเรียงเนื้อหาในบทความนี้ใหม่โดยเด็ดขาด และกรณีที่ท่านได้นำบทความนี้ไปใช้ในเว็บเพจของท่าน ให้สร้าง Hyperlink เพื่อสร้าง link อ้างอิงบทความนี้มายังหน้านี้ด้วย

-

 ปรับขนาดอักษร 

+

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

ดูเบอร์ติดต่อหน่วยงานต่างๆ | ดูข้อมูลการเดินทางและแผนที่

เว็บไซต์นี้ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนการสอน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Copyright © 2013-2024
 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้