โรคลมร้อนหรือโรคลมแดด ภัยเสี่ยงถึงชีวิต (Heat Stroke)
รองศาสตราจารย์ ดร. สุจิตรา ทองประดิษฐ์โชติ ภาควิชาสรีรวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
|
38,222 ครั้ง เมื่อ 1 ช.ม.ที่แล้ว | |
2019-05-01 |
จากข้อมูลการเฝ้าระวังการเจ็บป่วยหรือเสียชีวิตเนื่องจากภาวะอากาศร้อน สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ช่วงฤดูร้อน (มีนาคม-พฤษภาคม) ระหว่างปี 2558-2561 พบว่ามีรายงานผู้เสียชีวิตที่เข้าข่ายการเฝ้าระวังการเสียชีวิตจากภาวะอากาศร้อน จำนวน 56, 60, 24, 18 ราย ตามลำดับ โดยมีอุณหภูมิช่วงฤดูร้อนสูงสุดเฉลี่ยเท่ากับ 38.9, 38.1, 38.0 และ 38.1 องศาเซลเซียส ตามลำดับ และได้แนะนำให้เฝ้าระวังและดูแล เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัว และผู้ป่วยเรื้อรัง อย่างใกล้ชิด เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงกว่าคนทั่วไปที่อาจเสียชีวิตได้ง่าย
ภาพจาก : https://timesofindia.indiatimes.com/thumb/msid-64749554,imgsize-22858,width-800,height-600,resizemode-4/64749554.jpg
ปัจจุบันประเทศไทยอยู่ในช่วงฤดูร้อน มีอุณหภูมิสูง นอกจากนี้ สภาพอากาศของโลกที่มีแนวโน้มอุณหภูมิสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลให้ระยะเวลาของช่วงฤดูร้อนนานขึ้น ร่างกายคนต้องมีการปรับตัวต่อสภาพอากาศร้อน ถ้าร่างกายไม่สามารถปรับตัวหรือควบคุมระดับความร้อนในร่างกายได้ จะเกิดภาวะวิกฤตที่รุนแรงอาจทำให้เสียชีวิตจากภาวะอากาศร้อนได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงดังกล่าว บทความนี้ขอให้ข้อมูลเรื่อง โรคลมร้อนหรือโรคลมแดด ให้มีความรู้และนำไปปฏิบัติเพื่อป้องกันอันตรายจากสภาพอากาศร้อน
โรคลมร้อนหรือโรคลมแดด (heat stroke) เป็นความเจ็บป่วยที่เกิดจากความร้อนที่มีความรุนแรงมากที่สุด หลายประเทศทั่วโลกจึงให้ความสำคัญ โดยมีรายงานว่าทำให้เกิดการเสียชีวิตได้ถึงร้อยละ 10-50 และผู้รอดชีวิตอาจมีความพิการทางระบบประสาทอย่างถาวรร้อยละ 7-20 โรคลมร้อนเป็นภาวะที่อุณหภูมิแกนของร่างกายสูงเกิน 40 องศาเซลเซียส (104 องศาฟาเรนไฮต์) ร่วมกับความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้มีอาการสับสน เพ้อ ชักเกร็ง ซึม หรือหมดสติ และอาจส่งผลต่อการทำงานของร่างกายทุกระบบได้ ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิต จัดเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ ต้องได้รับการวินิจฉัยอย่างถูกต้องและรักษาทันที เพื่อให้ผู้ป่วยมีชีวิตรอดและสามารถฟื้นคืนสู่สภาพร่างกายที่ปกติได้
ประเภทของโรคลมร้อน แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
การควบคุมอุณหภูมิร่างกายในภาวะปกติ
ปกติระดับอุณหภูมิกายของมนุษย์ประมาณ 37 องศาเซลเซียส ซึ่งเหมาะสมสำหรับการทำงานของเอนไซม์ต่างๆ อุณหภูมิกายที่สูงขึ้นเกิดจากสิ่งแวดล้อมและเมแทบอลิสมของเซลล์ ร่างกายมนุษย์สามารถปรับสมดุลความร้อนโดยการทำงานของระบบประสาทส่วนกลางคือสมองส่วนของไฮโปทาลามัส ร่วมกับกลไกทางสรีรวิทยาต่างๆ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงขนาดของหลอดเลือด ซึ่งเพิ่มการไหลของเลือดและมีการกระจายของเลือดเพิ่มขึ้น การทำงานของต่อมเหงื่อเพื่อระบายความร้อนทางผิวหนัง เป็นต้น
การระบายความร้อนของร่างกายมี 4 วิธีคือ
ใน 4 วิธีนี้ การระเหยความร้อน (evaporation) โดยการขับเหงื่อ มีประสิทธิภาพสูงสุดในการระบายความร้อนออกจากร่างกาย แต่กรณีที่อุณหภูมิของอากาศใกล้เคียงกับอุณหภูมิของร่างกาย วิธีนี้จะมีประสิทธิภาพน้อยที่สุด ซึ่งเห็นได้ว่า ในผู้ป่วยโรคลมร้อนทั่วไปไม่มีเหงื่อออก แต่วิธีการนำความร้อน (conduction) จะมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ดังนั้นการเช็ดตัวด้วยน้ำที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าอุณหภูมิของร่างกาย สามารถระบายความร้อนได้ดี จึงช่วยลดอุณหภูมิของร่างกายได้
เมื่ออากาศร้อน นอกจากร่างกายตอบสนองโดยมีการสร้างเหงื่อมากขึ้นแล้ว ยังมีการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาอื่นๆอีก เช่น อัตราการหายใจเพิ่มขึ้น อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น เลือดไหลเวียนไปที่ผิวหนังเพิ่มขึ้นแต่มีเลือดไหลเวียนที่อวัยวะภายในลดลง ทำให้มีโอกาสที่จะขาดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะที่สำคัญ ได้แก่ สมอง หัวใจ ตับและไต ส่งผลให้เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ นอกจากนี้ ในผู้ป่วยที่ใช้ยาบางชนิด เช่น ยาที่ทำให้หลอดเลือดหดตัว ยาปิดกั้นเบตา ยาต้านฮีสตามีน ยาขับปัสสาวะ และยาธัยรอยด์ มีผลให้เลือดไปที่ผิวหนังลดลง ทำให้การระบายความร้อนลดลง จึงมีโอกาสเกิดโรคลมร้อนง่ายขึ้น
โรคลมร้อนหรือโรคลมแดด ทำให้เกิดความผิดปกติต่างๆ ดังนี้
การป้องกัน
เรียนรู้อันตรายของโรคลมหรือโรคลมแดด ปัจจัยเสี่ยง และปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันตนเองรวมทั้งบุคคลในครอบครัว ดังนี้
การปฐมพยาบาล
เมื่อพบผู้ป่วยโรคลมร้อนหรือโรคลมแดด ควรช่วยเหลือดังนี้
![]() |
ทรามาดอล (Tramadol) เหยื่อของการนำยาไปใช้ในทางที่ผิด 2 วินาทีที่แล้ว |
![]() |
สิว...สาเหตุจากยา 2 วินาทีที่แล้ว |
![]() |
เครื่องวัดความดันโลหิต 6 วินาทีที่แล้ว |
![]() |
รางจืด สมุนไพรแก้พิษและล้างพิษ 15 วินาทีที่แล้ว |
![]() |
ยาลดไขมันในเลือด 21 วินาทีที่แล้ว |
![]() |
ผักผลไม้..ที่ควรระวังในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 27 วินาทีที่แล้ว |
![]() |
ความเครียด และวิธีแก้ความเครียด 40 วินาทีที่แล้ว |
![]() |
เปลี่ยนยาคุมกำเนิด ... ทำอย่างไรดี 1 นาทีที่แล้ว |
![]() |
การคัดเลือกยาเข้าโรงพยาบาล ตามวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) และการประเมินค่าประสิทธิภาพต่อราคา (price performance) 1 นาทีที่แล้ว |
![]() |
ยาต้านมะเร็ง 1 นาทีที่แล้ว |
![]() ![]() |
|
ที่เกี่ยวข้อง
หน่วยงานภายในคณะฯ
HTML5 Bootstrap Font Awesome