เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น โปรดสละเวลา 1 นาที ในการตอบแบบสอบถามจากเรา Click !!

บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน


การลดสารตกค้างในผักและผลไม้


ศาสตราจารย์ ดร. ภญ. ลีณา สุนทรสุข ภาควิชาเภสัชเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ภาพประกอบจาก: https://foodrevolution.org/wp-content/up...171128.png
อ่านแล้ว 34,321 ครั้ง  
ตั้งแต่วันที่ 17/03/2562
อ่านล่าสุด 7 ช.ม.ที่แล้ว
https://tinyurl.com/ycvf75ce
Scan เพื่ออ่านบนมือถือของคุณ https://tinyurl.com/ycvf75ce
 

ปัจจุบันประชาชนมีความตื่นตัวเรื่องสุขภาพกันมากขึ้น โดยหันมาออกกำลังกายและรับประทานอาหารสุขภาพที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย อย่างไรก็ตามปัญหาสารตกค้างในผักและผลไม้ยังเป็นภัยใกล้ตัวที่พบได้บ่อยในชีวิตประจำวันโดยเฉพาะสารที่รู้จักกันในนามของยาฆ่าแมลงและยาฆ่าหญ้า สารทั้งสองประเภทนี้จัดเป็นสารเคมีกำจัดศัตรูพืชซึ่งเป็นสารที่มีการใช้ในภาคเกษตรกรรมเพื่อกำจัดสิ่งมีชีวิตอื่นที่เป็นอันตรายหรือก่อความเสียหายต่อผลผลิตทางการเกษตร เช่น แมลง วัชพืช หนู สัตว์แทะ หอยและปู เป็นต้น นอกจากยาฆ่าแมลงและยาฆ่าหญ้าแล้วยังมีสารเคมีอีกหลายชนิดที่ถูกนำมาใช้เพื่อกำจัดศัตรูพืช โดยสามารถแบ่งสารเคมีเหล่านี้ตามชนิดของสิ่งมีชีวิตที่ต้องการควบคุมหรือกำจัด ดังแสดงในตารางที่ 1

ภาพจาก : https://www.rentokil.com/blog/wp-content/uploads/2016/06/9-risks-to-food-safety-for-supermarkets.png

สารเคมีข้างต้นนอกจากจะมีประโยชน์ต่อทางเกษตรกรรมแล้วในอีกแง่มุมหนึ่งก็จัดเป็นสารเคมีอันตรายที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนทั้งเกษตรกรและผู้บริโภค หากสัมผัส สูดดม หรือรับประทานสารเหล่านี้เข้าสู่ร่างกาย โดยสารบางชนิดก่อให้เกิดพิษเฉียบพลันและพิษเรื้อรัง พิษเฉียบพลันที่พบบ่อย ได้แก่ ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ ระบบทางเดินอาหาร ระบบประสาทและกล้ามเนื้อ เป็นต้น ส่วนพิษเรื้อรัง ได้แก่ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม ก่อมะเร็ง และก่อให้เกิดความพิการแก่ทารก เป็นต้น ผลกระทบเหล่านี้นำไปสู่การยกเลิกการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชบางชนิดในหลายประเทศทั่วโลก เช่น การยกเลิกการใช้พาราควอตในประเทศในสหภาพยุโรป กัมพูชา จีน คูเวต ลาว เกาหลีใต้ ศรัลังกา ซีเรีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และเวียดนาม เป็นต้น สำหรับในประเทศไทยมีความพยายามที่จะยกเลิกการใช้พาราควอต ไกลโฟเซต และคลอร์ไพริฟอส โดยมีมาตรการลดการใช้และมาตรการทดแทน ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 2 ปี นับจากวันที่มีมติจากที่ประชุมคณะกรรมการวัตถุอันตรายเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2561เนื่องจากสารดังกล่าวเป็นสารเคมีอันตรายสะสมที่ก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ เช่น โรคไต โรคมะเร็ง โรคตับ รวมทั้งส่งผลต่อความผิดปกติเกี่ยวกับต่อมไร้ท่อ และพัฒนาการทางสมองของเด็ก เป็นต้น 2,3
การป้องกันตนเองเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการบริโภคผลิตผลทางการเกษตรจึงเป็นแนวทางที่ประชาชนสามารถทำได้เพื่อลดปริมาณสารเคมีตกค้าง ซึ่งสามารถทำได้โดยการล้างผัก ผลไม้ ให้สะอาดก่อนนำไปรับประทานหรือประกอบอาหารด้วยวิธีการต่างๆ ดังแสดงในตารางที่ 2

แหล่งอ้างอิง/ที่มา
  1. http://www.greennet.org.th/node/265 สืบค้นเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2562
  2. http://envocc.ddc.moph.go.th/contents/view/106 สืบค้นเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2562
  3. ข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์และหลักฐานเชิงประจักษ์ ของสารเคมีกาจัดศัตรูพืช 3 ชนิด มีผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม : พาราควอต คลอร์ไพริฟอส และไกลโฟเซต ประชาคมวิชาการและเครือข่ายนักวิชาการ พฤษภาคม 2561
  4. 4. https://www.honestdocs.co/how-to-clean-fruits-and-vegetables สืบค้นเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2562
  5. https://foodrevolution.org/blog/how-to-wash-vegetables-fruits สืบค้นเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2562
  6. ข้อมูลจากกองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

งานประชุมวิชาการที่กำลังเปิดรับสมัคร


บทความที่ถูกอ่านล่าสุด


1 นาทีที่แล้ว

อ่านบทความทั้งหมด



ข้อจำกัดด้านลิขสิทธิ์บทความ:
บทความในหน้าที่ปรากฎนี้สามารถนำไปทำซ้ำเพื่อเผยแพร่ในเว็บไซต์ หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ โดยไม่มีวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ได้ ทั้งนี้การนำไปทำซ้ำนั้นยังคงต้องปรากฎชื่อผู้แต่งบทความ และห้ามตัดต่อหรือเรียบเรียงเนื้อหาในบทความนี้ใหม่โดยเด็ดขาด และกรณีที่ท่านได้นำบทความนี้ไปใช้ในเว็บเพจของท่าน ให้สร้าง Hyperlink เพื่อสร้าง link อ้างอิงบทความนี้มายังหน้านี้ด้วย

-

 ปรับขนาดอักษร 

+

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

ดูเบอร์ติดต่อหน่วยงานต่างๆ | ดูข้อมูลการเดินทางและแผนที่

เว็บไซต์นี้ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนการสอน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Copyright © 2013-2024
 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้