แจ้งงดให้บริการเว็บไซต์ เนื่องจากมีการปรับปรุงระบบการจ่ายกระแสไฟฟ้าของอาคาร ตั้งแต่วันศุกร์ที่ 17 ม.ค. 2568 เวลา 17.00 น. ถึงวันจันทร์ที่ 20 ม.ค. 2568 เวลา 08.00 น.
ขออภัยในความไม่สะดวกมา ณ ที่นี้

เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น โปรดสละเวลา 1 นาที ในการตอบแบบสอบถามจากเรา Click !!

บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน


Product Champion ของสมุนไพรไทย


รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ. ชะอรสิน สุขศรีวงศ์ ภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


ภาพประกอบจาก: https://static.independent.co.uk/s3fs-pu...league.jpg
อ่านแล้ว 19,443 ครั้ง  
ตั้งแต่วันที่ 06/09/2560
อ่านล่าสุด 2 ช.ม.ที่แล้ว

Scan เพื่ออ่านบนมือถือของคุณ
 


จากความต้องการใช้ยาที่มีเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และจากการที่ประเทศต้องพึ่งพาการนำเข้ายาและวัตถุดิบในการผลิตจากต่างประเทศเป็นมูลค่ามหาศาล หากจะรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าวด้วยแนวทางของการแพทย์แผนปัจจุบันเท่านั้น อาจส่งผลต่อความมั่นคงทางการเงินและการคลังในระบบสุขภาพของประเทศ ดังนั้นการส่งเสริมการใช้สมุนไพรไทยเพื่อการรักษาโรคและสร้างเสริมสุขภาพ ร่วมกับการใช้ยาและแนวการรักษาของการแพทย์แผนปัจจุบัน เป็นทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชน อีกทั้งช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพในภาพรวม และส่งผลต่อความยั่งยืนทางเศรษฐกิจของประเทศได้อีกทางหนึ่ง 
 
ภาพจาก : http://www.herbsociety.org.uk/files/5614/5951/8716/herb-society-logo.png 
ดังนั้นการปฏิรูปการแพทย์แผนไทยจึงมีความจําเป็นอย่างยิ่งที่จะส่งเสริมและพัฒนาให้ การแพทย์แผนไทยมีศักยภาพและมาตรฐาน เป็นที่น่าเชื่อถือและศรัทธา ให้บริการคู่ขนานกับการแพทย์ แผนปัจจุบันอย่างเพียงพอต่อความต้องการ ประชาชนสามารถพึ่งพาตนเองในการดูแลสุขภาพ ตนเองและชุมชน ซึ่งสอดคล้องกับวิถีชีวิต ขนบธรรมเนียม ประเพณีและวัฒนธรรมของท้องถิ่น ประชาชนสามารถเข้าถึงยาและผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรที่มีความปลอดภัยและมีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับประเทศและสากล 
เนื่องจากในประเทศไทยมีสมุนไพรที่มีคุณค่าทางยาเป็นจำนวนมาก จึงจำเป็นที่จะต้องคัดเลือกสมุนไพรที่เด่นๆ มาทำการส่งเสริมเป็นพิเศษเพื่อให้เกิดผลทางการตลาด มาตรการหนึ่งของแผนแม่บทแห่งชาติ ว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพรไทยฯ ที่ส่งเสริมและพัฒนาสมุนไพร Product Champion ให้เป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพรสู่ตลาดทั้งในและต่างประเทศ ได้แก่ ฟ้าทะลายโจร ส้มแขก กระชายดำ หม่อน กวาวเครือ กระเจี๊ยบแดง ชุมเห็ดเทศ ขมิ้นชัน ไพล บัวบก และพริกไทย เนื่องจากมีศักยภาพในการ แข่งขันเชิงพานิชย์ และสมุนไพรบางชนิดในกลุ่มนี้ มีงานวิจัยรองรับในการใช้ ดังนี้

  1. ขมิ้นชัน สรรพคุณ แก้ไข้เรื้อรัง แก้โรคผิวหนังผื่นคัน ขับลมผายลม สมานแผล
  2. กราวเครือขาว สรรพคุณ ช่วยบำรุงฮอร์โมนเพศหญิง ช่วยกระชับช่องคลอด บำรุงเลือดและสมอง ช่วยทำให้ผิวพรรณดี ระบบขับถ่ายทำงานปกติ และช่วยบำรุงสายตา
  3. กระชายดำ สรรพคุณ แก้โรคบิด แก้ปวดท้อง ลมป่วงทุกชนิด เป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงกำลัง บำรุงทางเพศ ขับลม
  4. บัวบก สรรพคุณ ลดความดันโลหิต แก้อาการอ่อนเพลีย บำรุงหัวใจและช่วยขับปัสสาวะ ช่วยห้ามเลือด แก้อาการน้ำร้อนลวก และช่วยแก้อาการช้ำใน
  5. ฟ้าทะลายโจร สรรพคุณ รักษาอาการหวัด ลดพิษไข้ ลดอาการเจ็บคอ แก้ท้องเสีย
  6. มะขามป้อม สรรพคุณ รักษาอาการท้องเสีย ช่วยขับปัสสาวะ แก้ไอและขับเสมหะ ทำให้ชุ่มคอ มีไวตามินซีสูงช่วยลดอาการเลือดออกตามไรฟัน

ผลิตภัณฑ์เหล่านี้จะสามารถสร้างมูลค่าเพิ่ม ส่งผลต่อความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจของชุมชนและประเทศชาติระบบยาของประเทศมีความมั่นคงขึ้น และ ประชาชนมีส่วนร่วมในการสืบทอดภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยให้คงอยู่เป็นเอกลักษณ์ของชาติสืบไป 
 

แหล่งอ้างอิง/ที่มา
  1. คณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม. 2559. รายงาน ของ คณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ. From: http://library2.parliament.go.th/giventake/content_nrsa2558/d050259-04.pdf, Accessed July 17, 2017.
  2. อดิศักดิ์ สุมาลี. 2558. สมุนไพรห้าดาวต้นแบบ (5 Champion Products). From: http://www.stou.ac.th/schools/shs/booklet/book582/thai582.pdf, Accessed July 17, 2017.
  3. เกร็ดความรู้. สมุนไพรไทยและสมุนไพรน่ารู้ 1,500+ ชนิด!! พร้อมสรรพคุณและประโยชน์. From: http://www.xn--12cg1cxchd0a2gzc1c5d5a.net/สมุนไพรไทย/, Accessed July 2017.


บทความที่ถูกอ่านล่าสุด


Product Champion ของสมุนไพรไทย 1 วินาทีที่แล้ว
1 วินาทีที่แล้ว
15 วินาทีที่แล้ว
โรคกระดูกพรุน 17 วินาทีที่แล้ว

อ่านบทความทั้งหมด



ข้อจำกัดด้านลิขสิทธิ์บทความ:
บทความในหน้าที่ปรากฎนี้สามารถนำไปทำซ้ำเพื่อเผยแพร่ในเว็บไซต์ หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ โดยไม่มีวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ได้ ทั้งนี้การนำไปทำซ้ำนั้นยังคงต้องปรากฎชื่อผู้แต่งบทความ และห้ามตัดต่อหรือเรียบเรียงเนื้อหาในบทความนี้ใหม่โดยเด็ดขาด และกรณีที่ท่านได้นำบทความนี้ไปใช้ในเว็บเพจของท่าน ให้สร้าง Hyperlink เพื่อสร้าง link อ้างอิงบทความนี้มายังหน้านี้ด้วย

-

 ปรับขนาดอักษร 

+

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

ดูเบอร์ติดต่อหน่วยงานต่างๆ | ดูข้อมูลการเดินทางและแผนที่

เว็บไซต์นี้ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนการสอน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Copyright © 2013-2025
 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้