เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น โปรดสละเวลา 1 นาที ในการตอบแบบสอบถามจากเรา Click !!

บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน


โปรดนำยาที่ใช้เป็นประจำไปโรงพยาบาลด้วย


รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ. ชะอรสิน สุขศรีวงศ์ ภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


ภาพประกอบจาก: http://s.hswstatic.com/gif/10-ways-hospi...reen-1.jpg
อ่านแล้ว 9,805 ครั้ง  
ตั้งแต่วันที่ 30/08/2560
อ่านล่าสุด 5 ช.ม.ที่แล้ว

Scan เพื่ออ่านบนมือถือของคุณ
 


ท่านเคยสงสัยกันหรือไม่ว่า ทำไมทุกๆ ครั้งที่เข้ารับบริการรักษาที่โรงพยาบาล หรือ 1669 บริการกู้ชีพ นอกจากที่ท่านจะได้ยินคำถามเกี่ยวกับอาการเจ็บป่วยแล้ว ยังมีคำถามเกี่ยวกับการใช้ยาด้วยเสมอๆ บทความนี้จะมาไขข้อข้องใจในที่มาและความสำคัญของประเด็นคำถามนี้ 
 
ภาพจาก : http://vertassets.blob.core.windows.net/image/b1e263de/b1e263de-f404-4e94-afc3-512474461298/drugs_reg__1_.png 
เนื่องจากความคลาดเคลื่อนจากการใช้ยาเกิดขึ้นได้ทุกๆ จุดของการให้บริการในโรงพยาบาล จากการทบทวนเวชระเบียบพบว่ากว่าครึ่งของการเกิดเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นที่รอยต่อของการให้บริการทางการแพทย์ (1) โดยสาเหตุจากการสื่อสารส่งต่อข้อมูลที่ไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วนในรายการยาที่ผู้ป่วยใช้อยู่ เมื่อผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล (admission) และแพทย์ไม่ทราบข้อมูลการใช้ยาของผู้ป่วย ทำให้ผู้ป่วยอาจจะไม่ได้รับยาที่ผู้ป่วยเคยได้รับก่อนมาโรงพยาบาล หรือขนาดยา ความถี่ หรือวิถีทางในการใช้ยาไม่ตรงกับที่ผู้ป่วยเคยได้รับ หรือไม่สั่งใช้ยานั้นเมื่อจำหน่ายผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาล รวมถึง ผู้ป่วยเองก็อาจได้รับยาซ้ำซ้อนกับที่ผู้ป่วยใช้ที่บ้าน(2) 
เพื่อให้เกิดความปลอดภัยสูงสุดในการใช้ยา สถานบริการทางการแพทย์จึงนำ “medication reconciliation หรือการประสานรายการยา” มาเป็นกระบวนการในการจัดทำบัญชีรายการยาที่ผู้ป่วยได้รับอย่างครบถ้วน ถูกต้อง พร้อมทั้งระบุขนาดยา ความถี่ วิธีใช้ และวิถีทางในการใช้ยาและเป็นปัจจุบัน เพื่อนำมาใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจสั่งยาแก่แพทย์สาหรับการรักษาในทุกระดับของการให้บริการ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับยาที่เหมาะสม 
 
แม้ว่าบุคลากรทางการแพทย์จะสามารถค้นประวัติการใช้ยาของผู้ป่วยได้จาก เวชระเบียนผู้ป่วย ใบสรุปรายการยาผู้ป่วยจากการเข้ารับบริการครั้งก่อน และสมุดประจำตัวผู้ป่วย (4) แต่เนื่องจากผู้ป่วยส่วนมากมักมีการใช้ยานอกเหนือจากที่แพทย์สั่ง ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้ป่วยหรือผู้ดูแลจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ฉะนั้น เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับประโยชน์จากยาอย่างเต็มประสิทธิภาพการรักษาและเกิดความปลอดภัยสูงสุดในการใช้ยาสูงสุด การจดจำและให้ข้อมูลรายการยาที่ใช้จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง 
ดังนั้นเมื่อจะไปพบแพทย์หรือเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาล ขอให้ผู้ป่วยหรือญาตินำยาที่ผู้ป่วยใช้เป็นประจำติดตัวไปด้วย เพื่อที่เภสัชกรจะได้นำไปแจ้งกับแพทย์เพื่อจัดการรักษาให้เหมาะสม และให้ข้อมูลว่ายาเหล่านั้นจะสามารถใช้ต่อไปได้หรือไม่ หรือยานั้นจะเกิดปฏิกริยากับยาที่จะได้รับใหม่อย่างไร จำเป็นจะต้องหยุดยาหรือไม่ 
 

แหล่งอ้างอิง/ที่มา
  1. Rozich JD, Resar RK, Medication Safety: one organization’s approach to the challenge. J Clin Outcomes Manage 2001: 8(10): 27-34.
  2. อภิฤดี เหมะจุฑา. 2559. การประสานรายการยา MEDICATION RECONCILIATION อีกหนึ่งมาตรการเพิ่มความปลอดภัยในระบบยา. From: http://www.ccpe.pharmacycouncil.org/showfile.php?file=174, Accessed July 17, 2017.
  3. บุศยา กุลบุศย์. 2555. ประสานรอยต่ อเพื่อเพิ่มความปลอดภัยด้วย Medication Reconciliation. From: http://110.78.163.74/keling/cqi/userfiles/files/download/national_forum13-2/National%20Forum_13Mar2012.pdf, Accessed July 17, 2017.
  4. ธิดา นิงสานนท์. 2551. Med reconciliation. From: http://www.med.cmu.ac.th/hospital/ha/ hospital/ha/RG2008/ไฟล์การประชุม 20-24/24June/CM12/08.30-10.00/รศ.ภญ.ธิดา/MedicationReconciliation(3).pdf, Accessed July 17, 2017.
เปิดอ่านด้วย Google Doc Viewer ดาวน์โหลดบทความ (pdf) ดูบทความอื่นๆ

บทความที่เนื้อหาเกี่ยวข้องกับบทความนี้


บทความที่ถูกอ่านล่าสุด



อ่านบทความทั้งหมด



ข้อจำกัดด้านลิขสิทธิ์บทความ:
บทความในหน้าที่ปรากฎนี้สามารถนำไปทำซ้ำเพื่อเผยแพร่ในเว็บไซต์ หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ โดยไม่มีวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ได้ ทั้งนี้การนำไปทำซ้ำนั้นยังคงต้องปรากฎชื่อผู้แต่งบทความ และห้ามตัดต่อหรือเรียบเรียงเนื้อหาในบทความนี้ใหม่โดยเด็ดขาด และกรณีที่ท่านได้นำบทความนี้ไปใช้ในเว็บเพจของท่าน ให้สร้าง Hyperlink เพื่อสร้าง link อ้างอิงบทความนี้มายังหน้านี้ด้วย

-

 ปรับขนาดอักษร 

+

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

ดูเบอร์ติดต่อหน่วยงานต่างๆ | ดูข้อมูลการเดินทางและแผนที่

เว็บไซต์นี้ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนการสอน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Copyright © 2013-2024
 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้