เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น โปรดสละเวลา 1 นาที ในการตอบแบบสอบถามจากเรา Click !!

บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน


การทิ้งและทำลายยาที่ถูกต้อง


อาจารย์ ดร.ภก.บรมพจน์ พฤฒิวนาสัณฑ์ ภาควิชาเภสัชเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


ภาพประกอบจาก: https://www.health.harvard.edu/media/con...278518.jpg
อ่านแล้ว 60,820 ครั้ง  
ตั้งแต่วันที่ 30/04/2560
อ่านล่าสุด 0 วินาทีที่แล้ว

Scan เพื่ออ่านบนมือถือของคุณ
 

ปัญหายาตกค้างในแหล่งธรรมชาติต่างๆ เช่น แม่น้ำ ลำคลอง ทะเลสาป หรือพื้นดิน สามารถพบเจอได้ทั่วโลก ผลกระทบของยาตกค้างในธรรมชาติที่ชัดเจน คือ การทำลายระบบนิเวศของสิ่งมีชีวิตที่อาศัยในธรรมชาตินั้น ซึ่งสามารถส่งผลกระทบที่เป็นลูกโซ่ต่อมายังมนุษย์ได้ (อ่านเพิ่มเติมในบทความ “อันตรายจากยาตกค้างในสิ่งแวดล้อม”) สาเหตุหนึ่งที่สำคัญของปัญหาดังกล่าว คือ การทิ้งและทำลายยาอย่างไม่ถูกวิธี ในอดีตเรามักจะได้ยินว่าการทิ้งยาสามารถทำได้โดยการบดยาให้เป็นผงและทิ้งลงถังขยะเพื่อนำไปฝังกลบหรือนำไปละลายน้ำและทิ้งลงสู่ระบบบำบัดน้ำเสีย แต่ในปัจจุบันพบว่าการกระทำดังกล่าวเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหายาตกค้างในแหล่งธรรมชาติอย่างชัดเจน เนื่องจากยาบางชนิดสามารถผ่านระบบบำบัดและเล็ดลอดสู่ธรรมชาติได้โดยไม่ถูกกำจัดทิ้ง สำหรับยาที่ถูกฝังกลบจะละลายออกมาจากพื้นดินลงสู่แหล่งน้ำตามธรรมชาติได้ต่อไป
 
ภาพจาก : https://www.health.harvard.edu/media/content/images/ExpiredDrug_dreamstime_m_20278518.jpg
หากพิจารณาแล้ว ยา คือ สารเคมีทั่วไปที่มีฤทธิ์ในการรักษาโรค ดังนั้น การกำจัดยาก็สามารถใช้หลักการการกำจัดของเสียสารเคมีซึ่งนิยมใช้การเผาที่อุณหภูมิสูงร่วมกับการฝังกลบอย่างถูกวิธี ปัจจุบัน ศูนย์พัฒนานโยบายแห่งชาติด้านสารเคมี กองแผนงานและวิชาการ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย และ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ร่วมจัดทำแนวปฏิบัติการจัดการของเสียทางการแพทย์ที่เป็นสารเคมี ซึ่งมุ่งเน้นไปยังของเสีย 3 ชนิดหลัก ได้แก่ ยาและเวชภัณฑ์ ของเสียที่เกิดจากสารเคมีในห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ และของเสียพวกเครื่องมือแพทย์ที่มีปริมาณโลหะหนักสูง แนวปฏิบัติดังกล่าวได้แนะนำการทำลายยาและเวชภัณฑ์ที่หมดอายุโดยการเผาทำลายทิ้งที่อุณหภูมิตั้งแต่ 850 ถึง 1,600 องศาเซลเซียส โดยอุณหภูมิที่ใช้จะขึ้นกับประเภทและความเป็นอันตรายของยา หลังจากนั้นจึงค่อยนำกากของเสียหลังจากการเผาไหม้ไปฝังกลบอย่างถูกวิธี
 

 

แหล่งอ้างอิง/ที่มา
  1. K?mmerer K. Pharmaceuticals in the Environment – A Brief Summary. In: K?mmerer K, editor. Pharmaceuticals in the Environment: Sources, Fate, Effects and Risks. 3rd ed. Berlin: Springer-Verlag; 2008. p. 3-21.
  2. ศูนย์พัฒนานโยบายแห่งชาติด้านสารเคมี กองแผนงานและวิชาการ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. แนวปฏิบัติการจัดการของเสียทางการแพทย์ที่เป็นสารเคมี. มีนาคม 2559. [ออนไลน์]. [วันที่สืบค้นข้อมูล 7 มีนาคม 2560]. เข้าถึงได้จาก http://ipcs.fda.moph.go.th/csnetNEW/file/news/23082016-145421-news.pdf
  3. Buchberger W. Current approaches to trace analysis of pharmaceuticals and personal care products in the environment. J Chromatogr A. 2011; 1218: 603-18.
  4. Prutthiwanasan B, Phechkrajarng C, Suntornsuk L. Fluorescent labelling of ciprofloxacin and norfloxacin and its application for residues analysis in surface water. Talanta 2016; 159: 74-9.

-->



บทความที่ถูกอ่านล่าสุด


9 วินาทีที่แล้ว
อโรมาเธอราพี (Aromatherapy) 15 วินาทีที่แล้ว
ยาดมมีอันตรายหรือไม่ 33 วินาทีที่แล้ว

อ่านบทความทั้งหมด



ข้อจำกัดด้านลิขสิทธิ์บทความ:
บทความในหน้าที่ปรากฎนี้สามารถนำไปทำซ้ำเพื่อเผยแพร่ในเว็บไซต์ หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ โดยไม่มีวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ได้ ทั้งนี้การนำไปทำซ้ำนั้นยังคงต้องปรากฎชื่อผู้แต่งบทความ และห้ามตัดต่อหรือเรียบเรียงเนื้อหาในบทความนี้ใหม่โดยเด็ดขาด และกรณีที่ท่านได้นำบทความนี้ไปใช้ในเว็บเพจของท่าน ให้สร้าง Hyperlink เพื่อสร้าง link อ้างอิงบทความนี้มายังหน้านี้ด้วย

-

 ปรับขนาดอักษร 

+

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

ดูเบอร์ติดต่อหน่วยงานต่างๆ | ดูข้อมูลการเดินทางและแผนที่

เว็บไซต์นี้ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนการสอน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Copyright © 2013-2024
 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้