การทิ้งและทำลายยาที่ถูกต้อง
อาจารย์ ดร.ภก.บรมพจน์ พฤฒิวนาสัณฑ์ ภาควิชาเภสัชเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
|
63,849 ครั้ง เมื่อ 1 วันที่แล้ว | |
2017-04-30 |
ปัญหายาตกค้างในแหล่งธรรมชาติต่างๆ เช่น แม่น้ำ ลำคลอง ทะเลสาป หรือพื้นดิน สามารถพบเจอได้ทั่วโลก ผลกระทบของยาตกค้างในธรรมชาติที่ชัดเจน คือ การทำลายระบบนิเวศของสิ่งมีชีวิตที่อาศัยในธรรมชาตินั้น ซึ่งสามารถส่งผลกระทบที่เป็นลูกโซ่ต่อมายังมนุษย์ได้ (อ่านเพิ่มเติมในบทความ “อันตรายจากยาตกค้างในสิ่งแวดล้อม”) สาเหตุหนึ่งที่สำคัญของปัญหาดังกล่าว คือ การทิ้งและทำลายยาอย่างไม่ถูกวิธี ในอดีตเรามักจะได้ยินว่าการทิ้งยาสามารถทำได้โดยการบดยาให้เป็นผงและทิ้งลงถังขยะเพื่อนำไปฝังกลบหรือนำไปละลายน้ำและทิ้งลงสู่ระบบบำบัดน้ำเสีย แต่ในปัจจุบันพบว่าการกระทำดังกล่าวเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหายาตกค้างในแหล่งธรรมชาติอย่างชัดเจน เนื่องจากยาบางชนิดสามารถผ่านระบบบำบัดและเล็ดลอดสู่ธรรมชาติได้โดยไม่ถูกกำจัดทิ้ง สำหรับยาที่ถูกฝังกลบจะละลายออกมาจากพื้นดินลงสู่แหล่งน้ำตามธรรมชาติได้ต่อไป
ภาพจาก : https://www.health.harvard.edu/media/content/images/ExpiredDrug_dreamstime_m_20278518.jpg
หากพิจารณาแล้ว ยา คือ สารเคมีทั่วไปที่มีฤทธิ์ในการรักษาโรค ดังนั้น การกำจัดยาก็สามารถใช้หลักการการกำจัดของเสียสารเคมีซึ่งนิยมใช้การเผาที่อุณหภูมิสูงร่วมกับการฝังกลบอย่างถูกวิธี ปัจจุบัน ศูนย์พัฒนานโยบายแห่งชาติด้านสารเคมี กองแผนงานและวิชาการ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย และ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ร่วมจัดทำแนวปฏิบัติการจัดการของเสียทางการแพทย์ที่เป็นสารเคมี ซึ่งมุ่งเน้นไปยังของเสีย 3 ชนิดหลัก ได้แก่ ยาและเวชภัณฑ์ ของเสียที่เกิดจากสารเคมีในห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ และของเสียพวกเครื่องมือแพทย์ที่มีปริมาณโลหะหนักสูง แนวปฏิบัติดังกล่าวได้แนะนำการทำลายยาและเวชภัณฑ์ที่หมดอายุโดยการเผาทำลายทิ้งที่อุณหภูมิตั้งแต่ 850 ถึง 1,600 องศาเซลเซียส โดยอุณหภูมิที่ใช้จะขึ้นกับประเภทและความเป็นอันตรายของยา หลังจากนั้นจึงค่อยนำกากของเสียหลังจากการเผาไหม้ไปฝังกลบอย่างถูกวิธี
-->
![]() |
คันหัว .. รังแค ... แก้กันอย่างไร 1 วินาทีที่แล้ว |
![]() |
สารพิษจากเชื้อรา อันตรายที่มองไม่เห็น 2 วินาทีที่แล้ว |
![]() |
ยารักษาสิว isotretinoin อันตรายที่ไม่ควรมองข้าม 4 วินาทีที่แล้ว |
![]() |
ยาแก้ไอ เดกซ์โทรเมทอร์แฟน (dextromethorphan) และการนำไปใช้ ในทางที่ผิด 44 วินาทีที่แล้ว |
![]() |
แกงขี้เหล็ก อาหารที่ถูกลืม 1 นาทีที่แล้ว |
![]() |
วิตามินดี...ประโยชน์ดีๆ มีมากกว่าที่คิด 1 นาทีที่แล้ว |
![]() |
น้ำตาลทำให้แก่เร็ว..จริงหรือไม่ 1 นาทีที่แล้ว |
![]() |
เครื่องวัดความดันโลหิต 1 นาทีที่แล้ว |
![]() |
ไขข้อข้องใจ...การตรวจเพื่อวินิจฉัยการติดเชื้อเอชไอวี (HIV) 1 นาทีที่แล้ว |
![]() |
ยาแก้ปวดข้อ ข้ออักเสบ-กลุ่มเอ็นเสด (NSAIDs) 2 นาทีที่แล้ว |
![]() ![]() |
|
ที่เกี่ยวข้อง
หน่วยงานภายในคณะฯ
HTML5 Bootstrap Font Awesome