Loading…

คันหัว .. รังแค ... แก้กันอย่างไร

คันหัว .. รังแค ... แก้กันอย่างไร

รองศาสตราจารย์ ดร.พิมลพรรณ พิทยานุกุล ภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

400,681 ครั้ง เมื่อ 24 นาทีที่แล้ว
2012-10-21

หนังศีรษะประกอบไปด้วยเซลผิวหนังปกติซึ่งจะมีการผลัดเปลี่ยนเซลผิวใหม่ทุกๆ 28 วันเช่นเดียวกับผิวหนังตามลำตัวทั่วร่างกาย เซลเก่าที่ตายแล้วจะถูกผลัดออกไป แต่ถ้าผิวหนังแห้งและใช้ชีวิตประจำวันในห้องปรับอากาศที่เย็นและมีความชื้นต่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อหนังศีรษะได้รับเคมีรุนแรงเป็นประจำ เช่น น้ำยาดัดผม น้ำยาโกรกสีผม แชมพูแรงๆ สเปรย์ฉีดผม รวมทั้งผลิตภัณฑ์อื่นๆบนเส้นผมและหนังศีรษะ หนังศีรษะจะถูกกระทบมากทำให้แห้งและทำให้มีการเร่งผลัดเซลผิวในอัตราเร็วกว่าปกติ เซลตายแล้วที่ถูกผลัดออกจะสะสมเป็นกลุ่มก้อนหนาๆ สังเกตุได้เวลาหวีผมหรือเกา จะหลุดออกเป็นเกร็ดขาวๆซึ่งเรียกกันทั่วไปว่า "รังแค" นั่นเอง อาการคันศีรษะมักจะตามมาเนื่องจากการสะสมของรังแคเหล่านี้ ซึ่งพบเห็นง่ายตามปกเสื้อหรือคอเสื้อสีเข้มๆ การสะสมของรังแคยังมีผลไปอุดรูขุมขนของเส้นผม ทำให้น้ำมันจากต่อมไขมันที่รากผมไม่สามารถระบายออกมาได้ ยิ่งทำให้หนังศีรษะขาดน้ำมันหล่อลื่นและแห้งคันมากยิ่งขึ้นอีกด้วย 
ผู้ที่มีปัญหารังแคเรื้อรัง อาจทำให้หนังศีรษะอักเสบและมีเชื้อราเจริญเติบโตมากผิดปกติ ซึ่งในสภาวะปกติหนังศีรษะคนเราจะมีเชื้อราอาศัยอยู่ในปริมาณน้อยและไม่ก่อให้เกิดปัญหา แต่ในสภาวะที่หนังศีรษะมีรังแคมาก เชื้อราจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและก่อให้เกิดอาการอักเสบของหนังศีรษะ (Pityriasis capitis) ถ้าอาการรุนแรงขึ้น หนังศีรษะจะมีอาการแดงและมีรังแคเป็นเกร็ดใหญ่ขึ้นและเหลืองเป็นไข ซึ่งเป็นอาการของต่อมไขมันของหนังศีรษะอักเสบ พบมากและบ่อยในวัยรุ่นและอาจมีอาการอักเสบลามถึงเปลือกตาได้

วิธีแก้ไขปัญหาหนังศีรษะคันและแห้ง

  1. หลีกเลี่ยงการเกาหนังศีรษะที่รุนแรงระหว่างสระผมด้วยเล็บคมยาว อาจทำให้เส้นผมขาดหลุดร่วงยิ่งขึ้น
  2. เลือกใช้แชมพูสระผมที่อ่อนโยนและมีองค์ประกอบของสารมอยส์เจอร์ เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นของหนังศีรษะ
  3. ควรใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงหนังศีรษะโดยตรง เช่น ครีมนวดผมชนิดเข้มข้น หรือ น้ำมันนวดหนังศีรษะ นวดทิ้งไว้บนหนังศีรษะอย่างน้อย 15-20 นาทีก่อนล้างออก เนื้อครีมและน้ำมันจะช่วยขจัดรังแคส่วนเกินให้หลุดลอกออกไปได้ และ เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้หนังศีรษะ
  4. ใช้แชมพูขจัดรังแค อาทิตย์ละ 1 ครั้งเพื่อช่วยขจัดรังแคที่สะสมออกและบางเบาลง
  5. ควรลดการใช้น้ำอุ่นสระผม เพราะน้ำอุ่นจะทำให้น้ำมันธรรมชาติถูกชะล้างออกมากเกินไป ทำให้หนังศีรษะขาดน้ำมันที่จะปกป้องไม่ให้สูญเสียความชุ่มชื้น นอกจากนี้ควรลดอุณภูมิในการเป่าและจัดแต่งทรงผมอีกด้วย
  6. หากการแก้ปัญหาตามข้อ 1 ถึง ข้อ 5 ไม่ได้ผล อาจทดลองเปลี่ยนมาใช้แชมพูสระผมผสมสารต้านเชื้อรา ที่มีจำหน่ายตามร้ายขายยา โดยทั่วไปจะมีองค์ประกอบของตัวยาต้านเชื้อรา ควรใช้ติดต่อกัน 1-2 สัปดาห์ หากอาการคันศีรษะหายเป็นปกติ ควรหยุดการใช้แชมพูยา และใช้แชมพูปกติแทน ไม่แนะนำให้ใช้แชมพูยาต้านเชื้อราต่อเนื่องเป็นประจำ เพราะจะทำให้เชื้อดื้อ และใช้ครั้งต่อๆไปจะไม่ได้ผลอีก
แหล่งอ้างอิง/ที่มา

บทความที่ถูกอ่านล่าสุด

ชาเขียว ( Green Tea )... ดื่มอย่างไรให้ได้ประโยชน์ 1 นาทีที่แล้ว
สับปะรด : ผลไม้รักษาโรค 1 นาทีที่แล้ว
สมุนไพรป้องกันยุง 1 นาทีที่แล้ว
ยาคุม 24+4: วิธีคุมกำเนิดที่เหมาะสมกับผู้หญิงไทยยุคใหม่ 1 นาทีที่แล้ว
ยาแก้ไอ เดกซ์โทรเมทอร์แฟน (dextromethorphan) และการนำไปใช้ ในทางที่ผิด 1 นาทีที่แล้ว
การผสมยาปฏิชีวนะชนิดผงแห้งสำหรับรับประทาน 1 นาทีที่แล้ว
ยาทาสเตียรอยด์สำหรับโรคผิวหนัง 1 นาทีที่แล้ว
ผลเสียของการไม่บริโภคอาหารคาร์โบไฮเดรต 1 นาทีที่แล้ว
อินทผาลัม .. อินทผลัม ... ผลไม้ให้พลังงาน 2 นาทีที่แล้ว
สารพิษจากเชื้อรา อันตรายที่มองไม่เห็น 2 นาทีที่แล้ว

อ่านบทความทั้งหมด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
คลังความรู้สู่ประชาชน บทความความรู้สู่ประชาชน บทความความรู้สู่ประชาชน

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
Copyright © 2021 - 2025
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
การใช้และการจัดการคุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา