เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น โปรดสละเวลา 1 นาที ในการตอบแบบสอบถามจากเรา Click !!

บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน


ทรานซามิน (transamin) กับผิวขาว ...จริงหรือไม่?


ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ปรีชา มนทกานติกุล ภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

อ่านแล้ว 474,524 ครั้ง  
ตั้งแต่วันที่ 03/03/2554
อ่านล่าสุด 17 นาทีที่แล้ว

Scan เพื่ออ่านบนมือถือของคุณ
 


1. ทรานซามิน (transamin) คือยาอะไร?
ทรานซามิน (Transamin®) เป็นชื่อการค้าของยา tranexamic acid ซึ่งมีฤทธิ์ในการห้ามเลือด ในประเทศไทยขึ้นทะเบียนเป็นยารักษาผู้ป่วยโรคเลือดไหลหยุดยาก หรือเลือดออกมากผิดปกติ

2. ทรานซามิน (Transamin®) ทำให้ผิวขาวขึ้นจริงหรือไม่?
ทรานซามิน (Transamin®) ยังไม่มีการศึกษาในคนว่าทำให้ผิวขาวขึ้น การศึกษาในสัตว์ทดลอง โดยการทาบนผิวหนังและส่องด้วยแสงยูวีชนิดบีไม่พบว่าทำให้เม็ดสี (เมลานิน) ลดลงเมื่อเทียบกับยาหลอก การศึกษาในคนทำเฉพาะในการรักษาฝ้าด้วยการฉีดยาเข้าผิวหนังบริเวณที่เป็นฝ้า แต่การวัดผลใช้ความพอใจของคนที่มาทดลอง โดยไม่มีการใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์อื่นๆ ตรวจวัด นอกจากนี้มีการใช้ยารับประทานในการรักษาฝ้าเช่นกัน แต่จำนวนคนที่เข้ามาทดสอบมีจำนวนน้อย จึงไม่อาจสรุปได้ว่ายามีผลในการรักษาฝ้าจริง ดังนั้น ควรมีการศึกษาถึงผลดีในการรักษาฝ้าเพิ่มเติมขึ้นอีก รวมถึงการศึกษาว่าทำให้คนมีผิวขาวขึ้น ซึ่งในปัจจุบันไม่มีการศึกษาเลย

3. ผลเสียจากการรับประทาน ทรานซามิน (Transamin®) มีหรือไม่?
ประโยชน์ของ ทรานซามิน (Transamin®) ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ว่าได้ผลทำให้ผิวขาวได้จริง ในทางกลับกัน มีรายงานผลเสียจากการใช้ยา ทรานซามิน (Transamin®) หลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความกลัวถึงผลที่ยาทำให้เลือดเกิดเป็นลิ่มเลือดในร่างกาย ซึ่งอาจลอยไปตามกระแสเลือด และอุดตันเส้นเลือดต่างๆ ของอวัยวะสำคัญ เช่น หากอุดตันที่เส้นเลือดในสมอง จะทำให้เกิดอัมพาตหรือเสียชีวิต, หากอุดตันที่ปอด จะทำให้หายใจไม่ออกและเสียชีวิต, หากอุดตันที่ตาหรือไต ก็ส่งผลให้เสียชีวิตได้เช่นกัน นอกจากนี้ คนที่ใช้ยานี้ 5 คนจะมีได้ถึง 1 คนที่เกิดอาการปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย เลือดจาง ปวดหัว อ่อนเพลีย และไม่มีแรงได้

 

4. สรุปว่าอย่างไร?
ประชาชนไม่ควรซื้อยา ทรานซามิน (Transamin®) มารับประทานเพื่อหวังผลให้ผิวขาวขึ้น เนื่องจากยังไม่มีการศึกษาในคนว่าทำให้มีผิวขาวขึ้น ยกเว้นการรักษาฝ้าซึ่งก็ยังมีการศึกษาน้อยและยังสรุปผลไม่ได้ชัดเจน นอกจากนี้ ยังต้องระมัดระวังผลของยาที่อาจทำให้เกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันในสมอง หรือ ปอด ส่งผลให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้
 

แหล่งอ้างอิง/ที่มา


บทความที่ถูกอ่านล่าสุด


2 นาทีที่แล้ว
สัตว์เลี้ยงกับยา 3 นาทีที่แล้ว

อ่านบทความทั้งหมด



ข้อจำกัดด้านลิขสิทธิ์บทความ:
บทความในหน้าที่ปรากฎนี้สามารถนำไปทำซ้ำเพื่อเผยแพร่ในเว็บไซต์ หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ โดยไม่มีวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ได้ ทั้งนี้การนำไปทำซ้ำนั้นยังคงต้องปรากฎชื่อผู้แต่งบทความ และห้ามตัดต่อหรือเรียบเรียงเนื้อหาในบทความนี้ใหม่โดยเด็ดขาด และกรณีที่ท่านได้นำบทความนี้ไปใช้ในเว็บเพจของท่าน ให้สร้าง Hyperlink เพื่อสร้าง link อ้างอิงบทความนี้มายังหน้านี้ด้วย

-

 ปรับขนาดอักษร 

+

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

ดูเบอร์ติดต่อหน่วยงานต่างๆ | ดูข้อมูลการเดินทางและแผนที่

เว็บไซต์นี้ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนการสอน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Copyright © 2013-2024
 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้