เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น โปรดสละเวลา 1 นาที ในการตอบแบบสอบถามจากเรา Click !!

บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน


สบู่ดำ..พืชพลังงานที่เพิ่มคุณค่าให้กับผลิตภัณฑ์


รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ. วีณา จิรัจฉริยากูล ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ภาพประกอบจาก: http://www.renewableenergymexico.comwp-c...tropha.jpg
อ่านแล้ว 25,120 ครั้ง  
ตั้งแต่วันที่ 12/10/2559
อ่านล่าสุด 1 ช.ม.ที่แล้ว
https://tinyurl.com/y8ddxv7o
Scan เพื่ออ่านบนมือถือของคุณ https://tinyurl.com/y8ddxv7o
 

สบู่ดำ (Physic nut, Purging nut, Barbadose nut) มีชื่อวิทยาศาสตร์ Jatropha curcas L. วงศ์ Euphorbiaceae เป็นพืชพื้นเมืองของอเมริกาใต้ สบู่ดำเป็นไม้พุ่มขนาดกลาง สูง 2-7 ม. อายุยืน ทนแล้ง ปลูกง่าย สบู่ดำมีกรดไฮโดรไซยานิก (HCN) มีกลิ่นเหม็นเขียว สมัยก่อนปลูกเป็นรั้วป้องกันสัตว์ ชาวโปรตุเกสนำสบู่ดำเข้ามาเมื่อปลายสมัยกรุงศรีอยุธยาและรับซื้อเมล็ดสบู่ดำเพื่อนำไปบีบน้ำมัน น้ำมันสบู่ดำใช้ทำสบู่ เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงและน้ำมันหล่อลื่น ประเทศเวเนซูเอล่าใช้เมล็ดสบู่ดำเบื่อปลา

ส่วนต่างๆ ของสบู่ดำมีสรรพคุณพื้นบ้าน ดังนี้
ลำต้น ใช้ต้มน้ำอาบแก้โรคผิวหนังพุพอง
ใบ เมื่อขยี้ใบจะมีน้ำยางใส มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียกลุ่ม Staphylococcus ฆ่าพยาธิ ยับยั้งการเจริญเติบโตของลาวายุง ทำน้ำหมักชีวภาพใช้กำจัดแมลง เมื่อเด็ดใบจะมีน้ำยางสีขาว (latex) มีฤทธิ์ระคายเคือง น้ำยาง latex ที่เจือจางมีคุณสมบัติช่วยให้แผลหายเร็วและทำให้เลือดหยุด ในน้ำยางมีเอมไซม์โปรทีเอส (protease) ชื่อ เคอร์เคน (curcain)
ราก มีฤทธิ์ต้านอักเสบ
เปลือกต้น เป็นสีย้อม
งานวิจัยในแอฟริกาและอเมริกาใต้เกี่ยวกับน้ำมันสบู่ดำเพื่อใช้เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงหรือไบโอดีเซล เพื่อลด green house effect ที่เกิดจาก fossil diesel และเป็นน้ำมันที่ใช้ในเครื่องยนต์เกษตรกรรม ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลออสเตรียในปี ค.ศ. 1996 และรัฐบาลเยอรมันในปี ค.ศ. 2003 สำหรับประเทศไทย ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ได้สนับสนุนงานวิจัยสบู่ดำเพื่อใช้เป็นพืชพลังงานในปี 2006
เมล็ดสบู่ดำมีน้ำมัน 30-48% ซึ่งเป็นกรดไขมัน 72.7% และสเตอรอล (sterol) เช่น campesterol, stigmasterol, ß-sitosterol น้ำมันสบู่ดำในอินเดียเรียกว่า Ratanjyot oil มีฤทธิ์เป็นยาถ่าย กลุ่มน้ำมันสบู่ดำแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มี oleic acid เป็นองค์ประกอบหลัก ได้แก่ สบู่ดำสายพันธุ์แอฟริกา และกลุ่มที่มี linoleic acid เป็นองค์ประกอบหลัก ได้แก่ สบู่ดำสายพันธุ์อเมริกาใต้ สารพิษในเมล็ดสบู่ดำมี 2 กลุ่ม กลุ่มแรกคือ tetracyclic diterpenes กลุ่ม phorbol esters เช่น PMA (phorbal-12-myristate 13-acetate) มีฤทธิ์ระคายเคืองและเป็น carcinogen สารพิษกลุ่มที่ 2 คือ RIPs I (Ribosome inactivating proteins) มีชื่อว่า เคอร์ซิน (curcin) ทำให้เกิดการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย เป็นต้น แต่ไม่ปรากฏรายงานพิษที่ทำให้เสียชีวิต
น้ำมันสบู่ดำที่บีบเย็นจากเมล็ดโดยตรงด้วยเครื่องไฮดรอลิกมีสารพิษ phorbal esters 0.0231 mg/ml (คำนวณในรูป PMA) การกำจัดสารพิษกลุ่ม phorbol esters สามารถกระทำได้โดยต้องบีบน้ำมันจากเนื้อในเมล็ด (seed kernel) ส่วนสารในกลุ่ม RIPs I หรือ เคอร์ซิน จะถูกทำลายเมื่อนำเนื้อในเมล็ดไปอบที่ 80oC นาน 1 ชม. เช่นเดียวกับสาร PMA ที่ถูกทำลายที่ 80oC นาน 1 ชม. และเมื่อนำน้ำมันดังกล่าวมาทดสอบความระคายเคืองที่ผิว (skin) และที่เนื้อเยื่อใต้ชั้นผิวหนัง (subcutaneous tissues) ของหนูทดลอง พบว่าไม่ก่อให้เกิดความระคายเคือง ดังนั้น น้ำมันสบู่ดำที่ผ่านการกำจัดสารพิษสามารถนำไปใช้เป็นส่วนผสมของเครื่องสำอางและสบู่ เป็นการเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ เพราะน้ำมันสบู่ดำนอกจากจะมีกรดไขมันที่ให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวแล้วยังมีคุณสมบัติไล่แมลง จะเห็นได้ว่า สบู่ดำจึงเป็นพืชพลังงานที่ช่วยลดปัญหาภาวะโลกร้อนและสามารถเพิ่มมูลค่าให้แก่ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง
แหล่งอ้างอิง/ที่มา
  1. การทบทวนความรู้และเทคนิกการดูแลรักษาโรคเบาหวาน จาก http://www.thailabonline.com/diabetes.htm
  2. Global Report on Diabetes 2016 http://www.who.int/diabetes/global-report/en/
  3. Vallisuta O, Peungvicha P, Mangmool S, Sirithamwanich T, Sirithamwanich R in ASEAN PharmNET I, Hypoglycemic Activity of the Combined Extracts from Thai Antidiabetic Herbal Formula, Landmark Hotel, 2-4 December 2015.
  4. Wei Wang, Su H, Xing D, Pan Y, Du L. Effect of ethanolic extracts of Ananas comosus L. leaves on insulin sensitivity in rats and HepG2, Comparative Biochemistry and Physiology Part C: Toxicology & Pharmacology, 2006; 43(4): 429-435. doi:10.1016/j.cbpc.2006.04.002
  5. Chioma OO, Victor NO, and Emeka GA. Hypoglycemic Potentials of Ethanol Leaves Extract of Black Pepper (Piper Nigrum) on Alloxan-Induced Diabetic Rats, Annals of Biological Research, 2014; 5(6),p26.
  6. Supkamonseni N, Thinkratok A, Meksuriyen D, Srisawat R. Hypolipidemic and hypoglycemic effects of Centella asiatica (L.) extract in vitro and in vivo. Indian J Exp Biol. 2014 Oct;52(10):965-71.
  7. Kabir AU, Samad MB, D’Costa NM, Akhter F, Ahmed A, and Hannan JMA. Anti-hyperglycemic activity of Centella asiatica is partly mediated by carbohydrase inhibition and glucose-fiber binding, BMC Complement Altern Med. 2014; 14: 31. Published online 2014 Jan 18. doi: 10.1186/1472-6882-14-31 PMCID: PMC3900709
  8. Shahida AN, Wongb TW, and Choo CY. Hypoglycemic effect of quassinoids from Brucea javanica (L.) Merr (Simaroubaceae) seeds, Journal of Ethnopharmacology, 2009; 124(3):586-591. Available online 9 May 2009 doi:10.1016/j.jep.2009.04.058
  9. Russell KR, Omoruyi FO, Pascoe KO, Morrison EY. Hypoglycaemic activity of Bixa orellana extract in the dog, Methods Find Exp Clin Pharmacol. 2008 May;30(4):301-5. doi: 10.1358/mf.2008.30.4.1186073.
  10. Nabi SA, Kasetti RB, Sirasanagandla S, Tilak TK, Kumar MVJ, and Rao CA. Antidiabetic and antihyperlipidemic activity of Piper longum root aqueous extract in STZ induced diabetic rats, BMC Complement Altern Med. 2013; 13: 37. Published online 2013 Feb 18. doi: 10.1186/1472-6882-13-37 PMCID: PMC3583796
  11. Manoharan S, Silvan S, Vasudevan K, Balakrishnan S. Antihyperglycemic and Antilipidperoxidative effects of Piper longum (Linn.) Dried Fruits in Alloxan Induced Diabetic Rats. J Biol Sci. 2007;6(1):161–168.
-->

งานประชุมวิชาการที่กำลังเปิดรับสมัคร


บทความที่ถูกอ่านล่าสุด



อ่านบทความทั้งหมด



ข้อจำกัดด้านลิขสิทธิ์บทความ:
บทความในหน้าที่ปรากฎนี้สามารถนำไปทำซ้ำเพื่อเผยแพร่ในเว็บไซต์ หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ โดยไม่มีวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ได้ ทั้งนี้การนำไปทำซ้ำนั้นยังคงต้องปรากฎชื่อผู้แต่งบทความ และห้ามตัดต่อหรือเรียบเรียงเนื้อหาในบทความนี้ใหม่โดยเด็ดขาด และกรณีที่ท่านได้นำบทความนี้ไปใช้ในเว็บเพจของท่าน ให้สร้าง Hyperlink เพื่อสร้าง link อ้างอิงบทความนี้มายังหน้านี้ด้วย

-

 ปรับขนาดอักษร 

+

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

ดูเบอร์ติดต่อหน่วยงานต่างๆ | ดูข้อมูลการเดินทางและแผนที่

เว็บไซต์นี้ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนการสอน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Copyright © 2013-2024
 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้