Eng |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ปองทิพย์ สิทธิสาร ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
มีคำกล่าวว่าผิวพรรณเป็นกระจกส่องให้เห็นถึงจิตใจ ร่างการและผิวพรรณต้องการสารอาหารเพื่อมาบำรุง ฟื้นฟูและคงสภาพ สารอาหารโมเลกุลใหญ่ที่ร่างการต้องการได้แก่ โปรตีน ไขมัน และคาร์โบไฮเดรต รวมทั้งสารโมเลกุลเล็กเช่นวิตามิน และสารอาหารต่างๆ รวมทั้งการได้รับน้ำในปริมาณพอเหมาะ โดยไขมัน (lipids) เป็นสารอาหารที่สำคัญต่อเยื่อหุ้มเซลล์และผิวหนังชั้น stratum corneum ซึ่งจำเป็นสำหรับการปกป้องผิวหนัง กรดไขมันยังมีบทบาทในการควบคุมการเกิดการอักเสบ ระบบภูมิคุ้มกัน และการไหลเวียนของสารชนิดต่างๆในร่างกาย การมีระดับไขมันที่ไม่เหมาะสม ทำให้เกิดความผิดปกติต่อผิวหนังชนิดต่างๆได้ เช่น การเกิด สิว ผิวหนังแห้งเนื่องจากการขาดน้ำ หรือโรคสะเก็ดเงิน
การใช้เครื่องสำอางมีการบันทึกไว้ตั้งแต่สมันอียิปต์โบราณประมาณ 3500 ปีก่อนคริสตศักราช มีการใช้เครื่องบำรุงผิว เส้นผม และการตกแต่งเพื่อเสริมความงาม ความหมายของเครื่องสำอางตามที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติ เครื่องสำอาง พ.ศ. 2535 คือ วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้ทา ถูนวด โรย พ่น หยอด ใส่อบ หรือกระทำด้วย วิธีอื่นใด ต่อส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายเพื่อความสะอาด ความสวยงาม หรือส่งเสริมให้เกิดความ สวยงามและรวมตลอดทั้งเครื่องประทินผิวต่างๆ ด้วย แต่ไม่รวมถึงเครื่องประดับและเครื่องแต่งตัวซึ่งเป็นอุปกรณ์ภายนอกร่างกาย นอกจากนี้เครื่องสำอางยังรวมถึงวัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องสำอางโดยเฉพาะ หรือวัตถุอื่นที่กำหนดโดยกฎกระทรวงให้เป็นเครื่องสำอาง ซึ่งรูปแบบของเครื่องสำอางที่มีอยู่ในปัจจุบันมีหลากหลาย แต่สามารถแบ่งได้เป็นรูปแบบหลัก 3 ประเภท ได้แก่ ของแข็ง (solids) เช่น แป้งผัดหน้า แป้งรองพื้น mask แป้งแข็ง eye shadow lipstick เกลืออาบน้ำ, ของกึ่งแข็ง (semisolids) เช่น ครีม ointment เจลแต่งผม สีย้อมผม และของเหลว (liquids) เช่น โลชั่น moisturizer น้ำมันใส่ผม แชมพู ผลิตภัณฑ์บำรุงผม น้ำหอม สเปรย์ น้ำยาทาเล็บ
ไขมันที่นำมาใช้ประโยชน์ในทางเครื่องสำอาง มีทั้งเป็นน้ำมันระเหยยากจากธรรมชาติ (natural fixed oils) ที่ประกอบด้วยไตรกลีเซอร์ไรด์ที่มีองค์ประกอบหลักเป็นกรดไขมันชนิดอิ่มตัว เช่น น้ำมันมะพร้าว น้ำมันเมล็ดฝ้าย น้ำมันปาล์ม และชนิดที่มีองค์ประกอบหลักเป็นกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัว เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันข้าวโพด น้ำมันอัลมอนด์ น้ำมันทานตะวัน น้ำมันละหุ่ง น้ำมันเรปซีด (rapeseed oil) และน้ำมันอะโวคาโด น้ำมันที่มีกรดไขมันชนิดอิ่มตัวจะมีความคงตัวดีและทนต่อการเกิดเหม็นหืนได้ดีกว่าน้ำมันที่มีกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัว อย่างไรก็ตามน้ำมันที่ประกอบด้วยกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัว จะให้ผลิตภัณฑ์ที่มีความนุ่มเรียบ ให้ความรู้สึกที่ดี ไม่เหนียวเหนอะหนะและถูกดูดซึมเข้าสู่ผิวหนังได้ดีกว่าน้ำมันที่มีกรดไขมันชนิดอิ่มตัวเป็นหลัก ไขมันอีกประเภทที่ได้จากธรรมชาติได้แก่ เนยธรรมชาติ (natural butter) เช่น shea butter, avocado butter และ cocoa butter ส่วนใหญ่จะเป็นสารที่ช่วยทำให้ผิวหนังอ่อนนุ่ม (emollient) ที่ดีมาก และเพิ่มความข้นหนืดให้ผลิตภัณฑ์
หน้าที่หลักของน้ำมันระเหยยากในเครื่องสำอาง ได้แก่
การเลือกใช้เครื่องสำอางที่มีน้ำมันระเหยยากเป็นองค์ประกอบควรคำนึงถึงปัจจัยดังต่อไปนี้