มาทำความรู้จักกับ สาขาวิชาเภสัชวินิจฉัย
รองศาสตราจารย์ ดร. ภญ.นพมาศ สุนทรเจริญนนท์ ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
|
29,528 ครั้ง เมื่อ 4 ช.ม.ที่แล้ว | |
2014-08-20 |
บทความให้สัมภาษณ์ของ รองศาสตราจารย์ ดร. ภญ.นพมาศ สุนทรเจริญนนท์ กับเว็บไซต์ vcharkarn.com เพื่อไขข้อข้องใจเกี่ยวกับสาขาวิชาเภสัชวินิจฉัยว่าคืออะไรกันแน่ มีบทบาทอย่างไรในด้านเภสัชศาสตร์
บางคนอาจจะไม่คุ้นหูกับชื่อ สาขาวิชาเภสัชวินิจฉัย หรือเรียกกันว่า เภสัชเวท (Pharmacognosy) ซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของคณะเภสัชศาสตร์ ที่สอนและวิจัยเกี่ยวกับพืชและสมุนไพรตลอดจนผลิตภัณฑ์ธรรมชาติต่าง ๆ ที่นำมาใช้เป็นยารักษาโรค ศึกษาวิธีวิเคราะห์ และจำแนกชนิดของพืชและสมุนไพรต่าง ๆ การจัดกลุ่มสารเคมีของพืชแต่ละชนิดที่จะนำมาใช้ประโยชน์ทางยา การศึกษาทางเคมีของสาระสำคัญที่มีฤทธิ์ทางยา วิธีการสกัดเพื่อแยกสารดังกล่าวจากพืชสมุนไพร และผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ เพื่อนำมาใช้เป็นยารักษาโรค ตลอดจนการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชสมุนไพร
เภสัชเวทเป็นหนึ่งในศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดศาสตร์หนึ่งของทางการแพทย์ และนับเป็นต้นกำเนิดของวิชาเภสัชศาสตร์ ในสมัยโบราณมีการใช้ยาจากธรรมชาติในการบำบัดรักษาเสียทั้งสิ้น ก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรมซึ่งนำมาสู่การสังเคราะห์ยาจากสารเคมีทดแทนวิธีการทางธรรมชาติ อย่างไรก็ดี ในปัจจุบันมีความนิยมการใช้ยาสมุนไพรมากขึ้น ทำให้เภสัชเวทเป็นอีกศาสตร์หนึ่งที่ได้รับการส่งเสริมในปัจจุบัน เป็นอีกหนึ่งภาควิชาที่น่าสนใจ ซึ่งต้องมีการเรียนการสอนอะไรกันบ้าง วันนี้ รศ.ดร. นพมาศ สุนทรเจริญนนท์ อาจารย์ประจำภาควิชาเภสัชวินิจฉัย มหาวิทยาลัยมหิดล จะเป็นผู้ให้คำตอบกับเรา
เภสัชเวทมีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ในหลายแขนง โดยเป็นศาสตร์ที่ประกอบด้วยความรู้ที่บูรณาการในหลากหลายวิชา เช่น ยาที่มาจากพืชนั้นมีความสัมพันธ์กับวิชาพฤกษศาสตร์และยาที่มาจากสัตว์มีความสัมพันธ์กับวิชาสัตววิทยา เป็นต้น นอกจากนี้เภสัชเวทยังอาศัยองค์ความรู้ทางอนุกรมวิธาน, การสืบพันธุ์, พยาธิสภาพและพันธุศาสตร์ของพืช ศาสตร์ดังกล่าวข้างต้นมีความสำคัญและจำเป็นยิ่งต่อการพัฒนายา หากประเทศไทยไม่เห็นความสำคัญของทรัพยากรอันมีค่าอย่างสมุนไพรไทยแล้ว อนาคตข้างหน้าเราอาจจะต้องใช้ยาสมุนไพรจากประเทศอื่น ทั้งที่ประเทศของเรานั้นมีความสมบูรณ์ และพร้อมที่จะพัฒนาสมุนไพรไทย.
-->
![]() |
เภสัชกรแขวนป้าย ผลกระทบเป็นอย่างไร 4 วินาทีที่แล้ว |
![]() |
ผลิตภัณฑ์พลาสติกกับอาหาร 1 นาทีที่แล้ว |
![]() |
ยาเลื่อนประจำเดือน .. ที่นี่มีคำตอบ 1 นาทีที่แล้ว |
![]() |
กินมะเขือเทศอย่างไรได้ไลโคปีน (lycopene) สูง 1 นาทีที่แล้ว |
![]() |
ข้อควรรู้เกี่ยวกับยาหยอดตาที่ไม่ควรมองข้าม 1 นาทีที่แล้ว |
![]() |
รู้และเข้าใจสารเจือปนในผลิตภัณฑ์ยา กรณีเรียกเก็บคืน ยาวาลซาร์แทน (Valsartan) 1 นาทีที่แล้ว |
![]() |
กลูต้าไธโอน (glutathione) ทำให้ขาวจริงหรือ?? 1 นาทีที่แล้ว |
![]() |
แพ้ยา มีผื่นขึ้นรุนแรง คืออะไร 2 นาทีที่แล้ว |
![]() |
การผสมยาปฏิชีวนะชนิดผงแห้งสำหรับรับประทาน 2 นาทีที่แล้ว |
![]() |
ยาก่อนอาหาร ยาหลังอาหาร ลืมกินยาตามเวลา อันตรายหรือไม่ 2 นาทีที่แล้ว |
![]() ![]() |
|
ที่เกี่ยวข้อง
หน่วยงานภายในคณะฯ
HTML5 Bootstrap Font Awesome