Eng |
เภสัชกร วสุ ศุภรัตนสิทธิ ภาควิชาสรีรวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
สาเหตุส่วนใหญ่ของการเป็นหวัดเกิดจากร่างกายได้รับเชื้อไวรัสก่อโรค ร่วมกับสภาวะที่ภูมิคุ้มกันของร่างกายลดลง เช่น เครียด พักผ่อนไม่เพียงพอ ซึ่งการแก้ไขอาการที่เกิดขึ้นในเบื้องต้นอาจใช้ยาสามัญประจำบ้านเพื่อบรรเทาอาการก่อน เช่นพาราเซตามอล (paracetamol) สำหรับลดไข้ คลอเฟนนิรามีน (chlorpheniramine) สำหรับลดน้ำมูก รวมทั้งพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำอุ่นเพื่อละลายเสมหะ การดื่มน้ำมากๆ และการเช็ดตัวจะช่วยลดอุณหภูมิร่างกายได้
อย่างไรก็ตาม หากมีอาการร่วมมากขึ้นหรือมีอาการที่รุนแรง เช่น ไข้สูงลอย ไอมาก หอบเหนื่อย ไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรพบแพทย์หรือเภสัชกรเพื่อรับการรักษาต่อไป
โดยทั่วไปยาที่ใช้เมื่อเป็นหวัดจะเป็นยาที่ใช้เพื่อรักษาตามอาการ เนื่องจากไม่มีการใช้ยาที่ออกฤทธิ์ต่อเชื้อไวรัสก่อโรคโดยตรง ยกเว้นในบางกรณีที่จำเป็น ดังนั้นจึงควรพักผ่อนให้เพียงพอเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย และเมื่ออาการดีขึ้นแล้วก็สามารถหยุดใช้ยาได้ ยาที่นิยมใช้ทั่วไปเมื่อเป็นหวัดมีดังนี้
ยาลดไข้
โดยทั่วไปยาที่นิยมสำหรับลดไข้ คือ paracetamol สำหรับผู้ใหญ่ รับประทานยาขนาด 500 mg ต่อเม็ด จำนวน 1-2 เม็ด สามารถรับประทานซ้ำได้ทุก 4-6 ชั่วโมง ใช้ไม่เกิน 8 เม็ดต่อวัน และไม่ควรใช้ติดต่อกันเป็นเวลา 5 วัน เนื่องจากมีโอกาสเกิดพิษต่อตับ สำหรับเด็กจะต้องมีการปรับขนาดยาตามน้ำหนักตัว ดังนั้นควรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากแพทย์หรือเภสัชกร
ยาอีกกลุ่มที่ได้รับความนิยมในการใช้ลดไข้ คือ ยากลุ่มต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (Non-Steroidal Anti Inflammatory Drugs:-NSAIDs) ได้แก่แอสไพริน (aspirin), ibuprofen ซึ่งการใช้ยาในกลุ่มหลังนี้ให้ผลในการลดไข้ได้อย่างรวดเร็ว แต่มีข้อควรระวังในการใช้สำหรับลดไข้ในกรณีของโรคไข้เลือดออก หากผู้ป่วยเป็นไข้เลือดออกแล้วรับประทานยาในกลุ่มนี้เข้าไปมีโอกาสที่เลือดจะออกจนถึงแก่ชีวิตได้ โดยเฉพาะผู้ป่วยเด็ก ดังนั้นจึงต้องมีการวินิจฉัยแยกโรคไข้หวัดจากโรคไข้เลือดออกให้ได้ก่อน นอกจากนั้นยาดังกล่าวมีฤทธิ์ระคายเคืองกระเพาะ การใช้ยานี้ในผู้ที่เป็นโรคกระเพาะ มีโอกาสที่จะเกิดอาการของโรคกระเพาะเพิ่มมากขึ้น รวมไปถึงผู้ป่วยโรคไตที่ยากลุ่มนี้จะไปมีผลทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของไตลดลง สำหรับผู้ป่วยทั่วไป หากได้รับยาในกลุ่มนี้สำหรับลดไข้ ควรรับประทานหลังอาหารทันที และดื่มน้ำตามมากๆ อีกประเด็นที่สำคัญในการใช้ยาในกลุ่มนี้คือการใช้แอสไพรินในผู้ป่วยเด็ก เนื่องจากมีโอกาสที่จะทำให้เกิด Reye's Syndrome สูง ซึ่งอาการแสดงของกลุ่มอาการนี้คล้ายโรคติดเชื้อไวรัสทั่วไป ได้แก่ ไข้ มีผื่นขึ้นตามลำตัว อาเจียน แต่จะมีความผิดปกติของอวัยวะภายในร่วมด้วย จำเป็นที่จะต้องวินิจฉัยเพิ่มเติม ดังนั้นองค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) จึงมีคำแนะนำไม่ให้ใช้แอสไพรินในผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี
ยาลดน้ำมูกแก้คัดจมูก
ในกลุ่มของยาลดน้ำมูกนั้น สามารถแบ่ง ได้เป็น 2 กลุ่ม คือ
ยาบรรเทาอาการไอ
ในกลุ่มของยาบรรเทาอาการไอ ก็สามารถแบ่ง ได้เป็น 2 กลุ่มเช่นกัน คือ
ดังนั้นจึงต้องหาสาเหตุของการไอ และแก้ไขให้ตรงจุด หากผู้ป่วยใช้ยาแก้ไอไม่ถูกกับสาเหตุของอาการไอที่เป็นอยู่ เช่น ใช้ยากดการไอในกรณีที่การไอเกิดจากเสมหะ นอกจากเสมหะจะขัดขวางทางเดินหายใจแล้ว ร่างกายก็ยังไม่สามารถขับเสมหะออกโดยการไอได้อีกด้วย
เช่นเดียวกับยาลดน้ำมูก ยาแก้ไอในท้องตลาดก็มีการทำในรูปแบบยาเม็ดสูตรผสมเช่นกัน โดยมีทั้งตัวยาที่ใช้สำหรับไอมีเสมหะ และไอแห้งในเม็ดเดียวกัน อาจรวมตัวยาขยายหลอดลมเพิ่มในเม็ดยาด้วย ยาสูตรผสมเหล่านี้นิยมใช้ในกรณีที่แยกประเภทของการไอไม่ได้ชัดเจน หรือเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบรรเทาอาการไอ
จากที่ได้กล่าวมาไม่ว่าจะเป็น ยาลดไข้ ยาลดน้ำมูก และยาบรรเทาอาการไอ ล้วนเป็นยาที่รักษาตามอาการ เมื่อผู้ป่วยมีอาการที่ดีขึ้นสามารถหยุดยาได้ นอกจากนี้เพื่อเป็นการลดการแพร่กระจายเชื้อ ตัวผู้ป่วยควรใส่ผ้าปิดปากปิดจมูกร่วมด้วย อย่างไรก็ตาม หากผู้ป่วยรักษาสุขภาพไม่ดีอาจมีการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำได้ ซึ่งจะมีอาการแสดงได้แก่ เจ็บคอ น้ำมูกข้นและมีสีเขียวเหลือง ในกรณีนี้ ผู้ป่วยอาจจำเป็นต้องได้รับยาปฏิชีวนะหรือที่มักถูกเรียกจนติดปากอย่างผิดๆว่า “ยาแก้อักเสบ” ในการรักษาร่วมด้วย ยาปฏิชีวนะจะทำลายเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของอาการอักเสบ ซึ่งต้องมีวิธีการใช้อย่างเคร่งครัด คือ ใช้อย่างสม่ำเสมอ และต่อเนื่องเป็นระยะเวลาหนึ่งตามที่แพทย์ หรือเภสัชกรแนะนำ โดยต้องใช้ติดต่อภายหลังแม้ว่าอาการจะดีขึ้นแล้วก็ตาม เนื่องจากเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุถูกทำลายมีจำนวนลดลงจนไม่เกิดอาการแสดง เช่น หายเจ็บคอ แต่ยังไม่หมดไปจากร่างกาย จึงจำเป็นที่จะต้องใช้ยาต่ออย่างเนื่องจนร่างกายกำจัดเชื้อได้หมด
ยาปฏิชีวนะที่นิยมใช้เบื้องต้นได้แก่
การใช้ยาปฏิชีวนะที่ไม่สม่ำเสมอ และไม่ครบตามจำนวนที่กำหนด นอกจากผู้ป่วยจะไม่หายจากอาการที่เป็นอยู่ ยังเป็นการส่งเสริมให้เกิดปัญหาเชื้อดื้อยา ผลที่ตามมาคือ ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการใช้ยาปฏิชีวนะเพิ่มขึ้น และอาจไม่มียาปฏิชีวนะสำหรับรักษาอาการของผู้ป่วยในอนาคต หากมีข้อสงสัยควรสอบถามผู้ให้การรักษาได้แก่ แพทย์ หรือเภสัชกร จนมีความเข้าใจที่ชัดเจน
อีกวิธีหนึ่งที่ดีในการรับมือไข้หวัด คือ การดูแลร่างกายตนเองให้แข็งแรง ออกกำลังกายสม่ำเสมอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ซึ่งเป็นหลักปฏิบัติในการรับมือกับโรคใดๆ ก็ตาม กรณีไข้หวัดใหญ่ อาจรับการฉีดวัคซีนป้องกันเป็นประจำทุกปี
สุดท้ายนี้ผู้เขียนอยากฝากไว้ว่า การใช้ยาทุกครั้งควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เช่น แพทย์ หรือเภสัชกร เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการใช้ยากับท่านเอง และอย่าลืมว่า “มีปัญหาเรื่องยา ปรึกษาเภสัชกรนะครับ”
ซูโดเอฟีดรีน (pseudoephedrine) พระเอกหรือผู้ร้าย?